DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 1 ปรับ Mindset ก่อนลงทุนใน DeFi

Note: Guide นี้จัดทำโดย Blockchain Review และ Bitcoin Addict
Note2: ตอนแรกเราอยากจะตั้งชื่อว่า DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่อิสระภาพทางการเงิน แต่ดู Scam เกินไปเลยเปลี่ยน
Note3:DeFi WTF!! ย่อมาจาก DeFi What The Finance นะครับไม่ใช่ What the F***

สำหรับใครที่ลงทุนใน Cryptocurrency อยู่แล้ว ผมบอกได้เลยว่าการลงทุนใน DeFi นั้นเป็นอะไรที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นรูปแบบการลงทุนประเภทใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเงินเลยทีเดียว อันที่จริงแล้วโดยส่วนตัวอยากจะเรียกมันว่า “สนามทดลองทางระบบการเงินอันบ้าคลั่งที่สวยงาม” เพราะมันคงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นได้โดยปราศจาก Cryptocurrency หากคุณสามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ Guide Book เล่มนี้จะบอกไม่ใช่แค่นอกจากคุณจะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นแล้ว สิ่งที่คุณจะได้สัมผัสคือนวัตกรรมล่าสุดของโลกการเงินเลยทีเดียว

ความรู้เบื้องต้นก่อนที่จะทำความเข้าใจการลงทุนใน DeFi

สำหรับใครที่เพิ่งเข้ามาในโลก Cryptocurrency อันที่จริงแล้ว การลงทุนใน DeFi นั้นเปรียบเสมือนบทเรียนสุดท้าย ซึ่งหากคุณคิดจะลงทุนใน DeFi คุณควรมีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องต่อไปนี้ก่อนครับผม

  • ความรู้พื้นฐานของ Cryptocurrency
  • พื้นฐานความเข้าใจและการใช้ Stablecoin
  • การใช้งาน Wallet และการเก็บรักษา Private Key (สำคัญมากๆ)
  • พิ้นฐานการใช้งานเว็บซื้อขายคริปโต (Exchange) ในไทย
  • การใช้งาน Blockchain อื่นๆ เช่น Binance Smart Chain (Optional)
  • การ Lending & Borrowing (Optional)
  • การคำนวน Impermanent Lose (Optional)
  • การใช้งานเว็บซื้อขายคริปโต (Exchange) ต่างประเทศ (Optional)

หากคุณมีความรู้เหล่านี้แล้วก็ไปเริ่มกันเลยครับ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เริ่มต้นลงทุนกับ DeFi ต้องเตรียมตัวอย่างไร

Stablecoin หรือ USDT คืออะไร ทำความรู้จักกับเหรียญสกุลเงิน Fiat ของโลกดิจิทัล

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร สำหรับผู้เริ่มต้น

Ethereum คืออะไร? ทำความรู้จัก Blockchain ที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก

[รีวิว] Crypto Wallet คืออะไร กระเป๋าเงินดิจิทัล ที่ไม่สามารถถูกแบนจากรัฐบาลได้
มารู้จักกับ Wallet กระเป๋าที่จะช่วยจัดเก็บเงินดิจิทัลของคุณให้เป็นที่เป็นทาง

Not Your keys, Not Your Coins ทำความเข้าใจ Private Key สิ่งที่จะทำให้ Cryptocurency เป็นของคุณอย่างแท้จริง

[รีวิว] วิธีใช้ MetaMask กระเป๋า Ethereum ที่ช่วยให้คุณเชื่อมต่อ DeFi และ dApp อย่างสะดวก

DeFi (Decentralized Finance) คืออะไร?

อันที่จริงแล้วคำว่า DeFi จริง ๆ แล้วเป็นแค่ Buzzword หรือคำที่ถูกสร้างเป็นกระแสเท่านั้นครับโดยมันสื่อถึงการสร้างระบบการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ต้องพึ่งพาธนาคารหรือตัวกลางต่าง ๆ ซึ่งเราอาจจะมองว่า Bitcoin ก็คือ DeFi ตัวนึงก็ได้ครับ เพราะมันคือระบบการโอนเงินที่ไม่พึ่งพิงตัวกลาง

แต่เวลาทีเราพูดถึง DeFi คือการที่เราเอ่ยถึงอะไรที่มันซับซ้อนมากกว่านั้นเช่น การสร้าง Asset การรกู้ยืมสินทรัพย์ การค้ำประกัน การแลกเปลียนสิ่งอื่นใดที่มีความซับซ้อนมากกว่าแค่การโอนเงิน 

ตัวอย่างเช่น

  • การสร้างเหรียญ Dai ของโปรเจค MakerDao ที่นำเหรียญ Eth มาค้ำประกันเพื่อสร้างเหรียญ Dai ได้ 
  • การกู้ยืม Digital Asset บนแพลตฟอร์ม Compound ที่ไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง
  • การแลกเปลี่ยนเหรียญบน Uniswap ซึ่งบนโลก DeFi นั้น กระแสแรงมาก เพราะผู้ใช้งานสามารถเข้าร่วมระบบเหล่านี้และได้ผลตอบแทนจากแพลทฟอร์ม DeFi ต่าง ๆ ที่อ้างอิงกับ Uniswap ได้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในธนาคารมากนัก

ความปลอดภัยในการลงทุน DeFi

การลงทุนใน DeFi นั้นมีความปลอดภัยจาก Smart Contract ครับ ซึ่งมันคือโค้ดและเงื่อนไขที่ทำงานอยู่บน Blockchain เพราะฉะนั้นความปลอดภัยของมันคือโค้ดและโปรแกรมที่อยู่บน Blockchain 

เช่น Smart Contract ที่ระบุเงื่อนไขไว้เเล้วว่าคนที่ถือ Private Key เท่านั้นจะโอนเงินออกจาก Smart Contract นี้ไปได้ มันก็จะเป็นอย่างนั้นเสมอไป ซึ่งบางที Smart Contract อาจจะกำหนดเงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่านั้นแต่ เงินของเราก็จะทำตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้เท่านั้น และไม่มีใครถอนเงินไปจากเราได้แม้แต่ผู้สร้างระบบก็ตาม

แต่ข้อเสียของมันคือหากเป็นปัญหาใด ๆ ที่เกิดจากผู้ใช้งานทำผิดพลาดเองมันก็ไม่มีทางย้อนกลับหรือเรียกร้องอะไรจากใครได้ เพราะโปรแกรมนั้นได้ทำตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ เช่น คุณจะโอนเงิน แต่คุณดันใส่ค่าธรรมเนียมกับเงินสลับกัน เงินของคุณก็ไปแล้วไปลับเพราะโปรแกรมเข้าใจว่าคุณตั้งใจแบบนั้น

หรือในบางกรณีก็เกิดจากความผิดพลาดเช่นกันเพราะแม้ผู้พัฒนาจะไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้โปรแกรมที่เขียนไปนั้นมีข้อผิดพลาด แต่ก็มีโอกาสนั้นที่สามารถเกิดได้เช่นกัน เช่น กรณี Balancer โดน Hack จาก Deflation Token ซึ่งนักพัฒนาไม่ได้คาดไว้ หรือ การที่ MakerDao ขาย Ethereum ผิดพลาดจากการที่ Price Feed นั้นดักจับไม่ทันทำให้เกิดหนี้เสียขึ้นในระบบ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปหากคุณเล่น DeFi แพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือและมีการใช้งานมานานปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นยากมาก

อย่างสุดท้ายคือการโดนหลอกแบบ Phising ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดเช่น การสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอม และหลอกให้คนกรอกข้อมูล Seed word หรือ Private Key การโดน Malware ที่เปลี่ยน Adress ปลายทาง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระวังเพราะเงินคุณอาจจะหายจำนวนทั้งหมดเลยก็เป็นได้

สรุปสั้นๆ: หากคุณลงทุนใน DeFi แบบที่ถูกต้องคุณจะมีความเสี่ยงที่เงินของคุณอาจจะเสียได้จากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจของผู้พัฒนา แต่จะไม่มีกรณีที่นักพัฒนาตั้งใจขโมยเงินของคุณหนีเพราะ Smart contract ไม่อนุญาติให้เขาทำแบบนั้นได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

DeFi คืออะไร? ทำความรู้จักกับโลกการเงิน ที่ไม่ต้องพึ่งธนาคาร

ตลาด DeFi 

สิ่งที่น่าสนใจคือ DeFi เป็นการพัฒนาแนวคิดทางการเงินที่เดิมที่แล้วเราจะฝากเงินเข้าไปที่ตัวกลางอย่าง ธนาคาร ซักแห่งเพื่อให้เขาเป็นคนบริหารจัดการเงินของเราตามเงื่อนไขที่เราตกลงกับธนาคาร ซึ่งเราเชื่อในธนาคารให้ดูแลเงินของเรา

แต่พอเป็น DeFi สิ่งที่ทำให้คนเชื่อและยอมโอนเงินเข้าไปนั้นคือความเชื่อในในโค้ดหรือ Smart Contract แทนที่จะเป็นตัวกลางอย่างธนาคาร โดยเชื่อว่ามันจะทำตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ในตอนแรกเท่านั้นโดยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในวันที่เขียนบทความนี้มีคนยอมโอนเงินเข้าไปในตลาด DeFi แพลทฟอร์มต่างๆมูลค่ารวมกันมากกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีการโอนเงินระดับร้อยล้านดอลลาร์เป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ เลยทีเดียว

โอกาสและลักษณะการลงทุนใน DeFi

การลงทุนใน DeFi นั้นไม่ใช่การที่คุณเอาเงินไปซื้อเหรียญอะไรเหรียญหนึ่งแล้วรอโอกาสทำกำไรตอนที่เหรียญมันขึ้น แต่มันจะคล้ายกับการที่คุณเอาเงินไปวางแล้วได้ดอกเบี้ย เช่น การที่คุณปล่อยกู้เงินใน Compound คุณก็จะได้ค่าธรรมเนียมจากการที่มีคนกู้เงินนั้นไป ถ้าคุณนำเงินไปวางเป็นคู่เทรดใน Uniswap คุณก็จะได้ผลตอบแทนตามสัดส่วน เมื่อมีคนแลกเปลี่ยนเหรียญในคู่เทรดที่คุณวางไว้ จากค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นในระบบให้แก่คุณ ซึ่งรายได้ของคุณนั้นก็จะไม่คงที่เพราะมันจะแปรผันไปตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงแต่ก็แน่นอนว่าเมื่อคิดเฉลี่ยต่อปีแล้วมันสูงกว่าการฝากเงินธนาคารมาก (แล้วเราจะฝากเงินธนาคารไปทำไม?)

แต่ในแง่ความรู้ที่ต้องใช้นั้นมันอาจจะใช้ความรู้ในแง่เชิง Technical Analysis น้อยกว่าการซื้อขายแต่ความเข้าใจในแง่เทคโนโลยีมันต้องใช้มากกว่าการซื้อขายมาก ซึ่งหากเราเข้าใจมันเราจะได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ความเสี่ยงน้อย แต่แน่นอนว่านั่นก็เทียบไม่ได้กับผลตอบแทนจากการที่คุณซื้อขายเหรียญที่เสี่ยงกว่ามาก

ค่าธรรมเนียมสิ่งสำคัญก่อนลงทุนใน DeFi

DeFi นั้นทำงานด้วยระบบ Smart Contract บน Blockchain ซึ่งการที่เราจะฝากเงินเข้าไปหรือแม้แต่ถอนออกในทุก ๆ ครั้งจะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมดังนี้ 

ค่าธรรมเนียม (Fee) = Gas use x Gas Price

Gas Use = ขนาดข้อมูลของ Smart Contract ซึ่งหากเป็นแค่การโอนเงินขนาดของข้อมูลอาจจะไม่ได้ใหญ่อะไรแต่ถ้าเงื่อนไขนั้นซับซ้อนขึ้นข้อมูลเหล่านั้นก็จะใหญ่ขึ้น

Gas Price = ราคาของค่า Gas ต่อหน่วย ที่คนยินดีจ่ายซึ่งจะมีความผันผวนไปตามความหนาแน่นของเวลานั้นว่ามีคนใช้เครือข่ายเยอะเท่าใด

ค่าธรรมเนียมเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรจะคิดคำนวนเพราะบางทีคุณอาจจะได้ผลตอบแทน 1000 บาทใน 1 ปีแต่แค่ค่าธรรมเนียมถอนเข้าออกคุณก็โดนไปแล้ว 600 บาทซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่า ซึ่งคุญสามารถตรวจสอบได้ว่า Gas price ในตอนนั้นมีคนใช้เยอะเท่าไหร่ได้ที่ https://etherscan.io/gastracker

Note: สำหรับคนทุนน้อยอาจจะพิจารณาใช้ Binance Smat chain หรือ Terrachain ที่ค่าธรรมเนียมต่ำกว่ามาก

ทำความเข้าใจการลงทุนด้วยการฝาก Liquidity บน Decentralized Exchange

อันที่จริงแล้วการลงทุนใน DeFi นั้นมีหลายรูปแบบแต่ทางเราจะขอแนะนำรูปแบบที่เป็นที่นิยมที่สุด (เพราะกำไรมันดีนั่นเอง) นั่นคือการปล่อย Liquidity บน Decentralized Exchange (DEX) แบบ AMM โดยรูปแบบของการลงทุนแบบนี้คือการเราฝากเงินในอัตราส่วนแบบ 50:50 ลงไปในคู่เทรด ซึ่งหากมีใครที่ใช้คู่เทรดของเราในการแลกเปลี่ยนเหรียญแล้วเราจะได้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้จ่ายมานั่นเอง

ถ้าอธิบายง่าย ๆ ให้เราคิดถึงภาพ Super Rich ที่ทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราครับ Super Rich จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมส่วนต่างในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ให้เราลองคิดว่าถ้าเงินที่ Superrich ใช้ในการแลกเปลี่ยนนั้นเป็นการหนิบยืมมาจากเรา และเราได้ค่าธรรมเนียมจากการแลกเปลี่ยนแบบ 100% โดยที่ไม่ได้โดนหักต่านายหน้าเลยแบบนั้นแหละครับ

โดยในตอนต่อไปเราจะไปเล่าถึงวิธีการทำกำไรด้วยการวางคู่ Stablecoin ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในโลก DeFi แล้วไปติดตามกันนะครับ

ปล. ใครใจร้อนก็ไปดูคลิปใน Bitcoin addict หรือ Blockchain Review ก่อนได้นะ

อ่านตอนต่อไปได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 2 : ลงทุนความเสี่ยงต่ำด้วย Stablecoin ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าธนาคาร

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 3 : การฟาร์มด้วย Cryptocurrency และการคำนวณ Impermanent loss

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 4 การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ Platform และการถอนเงินผ่าน Smart Contract

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 5 : ผลตอบแทนที่สูงจาก DeFi ได้มาอย่างไร

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 6 DeFi Vaccine ฟาร์มยังไงไม่ให้เงินหายและสิ่งที่นักฟาร์มควรรู้

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 7 ทำความรู้จักกับ Uniswap V3 ขั้นต่อไปของ Decentralized Exchange

– DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 8 การประเมินมูลค่าพื้นฐานของแพลทฟอร์ม

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป