DeFi คืออะไร? ทำความรู้จักกับโลกการเงิน ที่ไม่ต้องพึ่งธนาคาร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านหลังจากแอดมินเคยได้โพสข่าวของ Defi ไม่ว่าจะ Compound หรือ Balancer กันไปแล้ววันนี้แอดมินจะมาตีแผ่ให้ฟังกันว่า Defi หรือ Decentralized Finance นั้นคืออะไร

DeFi หรือ Decentralized Finance คืออะไร?

Defi หรือ Decentralized Finance นั้นเกิดจากการรวมตัวกันของคอมมูนิตี้ Ethereum Developer ในโปรเจคต์ต่างๆเช่น MakerDao Kybernetwork Compound และอื่นๆ โดยเป็นการพูดถึงแนวคิดของการสร้างระบบการเงินไร้ตัวกลาง ที่สามารถทำในสิ่งที่ระบบการเงินปัจจุบันหรือธนาคารทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการ สร้างสินทรัพย์ กู้ยืม ค้ำประกัน โอนสินทรัพย์ รวมไปถึงสิ่งอื่นๆที่ระบบการเงินปัจจุบันทำได้ซึ่งอาจจะรวมไปถึงตลาดเงิน สินทรัพย์ หรือแม้แต่หุ้นเลยทีเดียว

Bitcoin และ Ethereum รากฐานของ DeFi

จริงๆแล้วถ้าเรามองในแง่การโอนเงิน Bitcoin ก็เป็น DeFi ประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างระบบที่สามารถสร้างมูลค่าแก่เหรียญมอบความปลอดภัยและความสามารถในการโอนสินทรัพย์แบบไร้ตัวกลางได้ แต่ Bitcoin นั้นเป็นเพียง Proof of concept ของ Defi สำหรับการทำธุรกรรมที่ไม่อาศัยตัวกลาง เท่านั้นเพราะว่าในแง่การใช้งานนั้นมันจำกัดมาก เราไม่สามารถเขียนคำสั่งที่ซับซ้อนลงไปใน Bitcoin ได้เลยด้วยซ้ำ

แนวคิดของ Ethereum จึงเกิดขึ้นด้วยแนวคิด Programable Money ด้วย Ethereum นั้นทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างคำสั่งที่ซับซ้อนที่เคยมีในระบบการเงินลงไปได้ (หรือมากกว่านั้น) Ethereum กลายเป็นแพลทฟอร์มพื้นฐานที่ก่อให้เกิดแนวคิดของ Smart Contract ที่เป็นสัญญาอัจฉริยะที่จะทำงานอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิด Application ที่ทำงานไร้ตัวกลางอย่าง Daap และต่อยอดไปยัง Defi

โลกแห่งสินทรัพย์ดิจิทัลจุดมุ่งหมายของ DeFi

ถ้าเราจะพูดถึง Defi หนึ่งในสิ่งที่เราจะลืมพูดไม่ได้คือ Digital Asset หรือโลกที่สินทรัพย์ทุกอย่างบนโลกนั้นกลายเป็นดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น ทองคำ น้ำมัน หุ้น ที่ดิน หรืออาจจะเป็นอะไรก็ตามที่คุณไม่สามารถจินตนาการได้ว่ามันจะกลายเป็นสินทรัพย์ได้ และสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นสิ่งที่แลกเปลี่ยนได้แต่มันจะทำได้มากกว่านั้น 

ในอนาคตเราอาจจะนำที่ดินไปซื้อของได้ เอาสัญญาเช่าไปแลกกับทองคำ เอาทองคำหรือแม้แต่หุ้นมาเป็นหลักประกันในการกู้ และเราอาจจะไม่ได้กู้เป็นตัวเงินเพื่อไปซื้อบ้าน เราอาจจะกู้เป็นตัวบ้าน เป็นสัญญาเช่าหรืออาจจะเป็นสิ่งอื่นๆ 

นี่อาจจะเป็นภาพที่ใครหลายคนมองว่ายังไกลตัวแต่นี่เป็นแนวคิดในภาพปลายทางของ Digital Asset และมันยังทำงานแบบไร้ตัวกลางเสียด้วย Defi เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้แนวคิดนี้เป็นไปได้เพียงแต่มันอาจจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่นั้นไม่มีใครรู้

Defi Ecosystem 

ใน Ecosystem ของ Defi นั้นจะประกอบด้วยหลายส่วน (เราจะเห็นว่า Bitcoin เองก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง) ซึ่งถ้าเราจะเล่าให้หมดนั้นอาจจะยาวเกินไปเราจะมา Break down Component ที่น่าสนใจกัน

Stablecoin และการสร้างสินทรัพย์แบบไร้ศูนย์กลาง

หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของ Defi ที่เป็นตัวจุดประกายกระแสนี้คือ MakerDAO แอปที่คนสามารถเอา ETH มาค้ำ 150% ของมูลค่าเพื่อสร้าง DAI (Stablecoin ที่มูลค่าเทียบเท่ากับ USD) ไปใช้ได้ โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเอา DAI มาคืนแลกกับ ETH ที่ค้ำไว้ การมาของ Dai ทำให้เกิดแนวคิดของการสร้าง Virtual Asset ที่รองรับด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลอีกที 

นั้นหมายความว่าเราอาจจะสร้างสินทรัพย์เสมือนในรูปแบบดิจิทัลได้ Defi อย่าง Synthetix จึงนำแนวคิดนี้ไปใช้โดยใช้เหรียญ SNX ของมันเองไปค้ำ (750%) เพื่อสร้างสินทรัพย์จำลองที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับโลกจริงได้ เช่น ดอลลาร์ ยูโร เยน ทอง เงิน หุ้น และอื่นๆ

Security Token Framework สะพานแห่งโลกความจริงและโลกเสมือน 

แม้ว่าเราจะสร้างสินทรัพย์เสมือนได้ แต่แน่นอนว่าถ้าเราดูมูลค่าของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล มันคงไม่เพียงพอต่อสินทรัพย์ทั้งโลกใบนี้ นั้นทำให้มีคนสร้าง Framework ขึ้นมาเฉพาะสำหรับ Tokenize สินทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ เช่น หุ้น พันธบัตร สินทรัพย์พวกนี้ต้องมีหลักเกณฑ์จากหน่วยงานกำกับควบคุม ตัวอย่างเช่น Polymath ที่เป็น Platform สำหรับ การสร้าง Security Token

Oracle ฐานข้อมูลในโลก Decentralized

เมื่อเราสร้างสินทรัพย์ขึ้นมาได้แล้วขั้นตอนต่อไปคือการสั่งให้มันทำงานอย่างอัตโนมัติด้วย Smart Contract ซึ่งจุดนี้เอง Oracle หรือ Platform ที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลบนโลกจริงกับโลกดิจิทัล Oracle นั้นเป็นเหมือนฐานข้องมูลในโลก Decentralized ที่จะรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น Price Feed ของ Cryptocurrency, หุ้น, ที่ดิน เพราะหาก Defi หรือ Dapp ใดที่แม้จะเขียน Smart Contract อย่างถูกต้องแต่ข้อมูลที่เลือกใช้นั้นเป็นข้อมูลที่ผิดก็อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายๆ ตัวอย่าง Oracle เช่น Band Protocol , Chainlink

Decentralized Exchange ตลาดแลกเปลี่ยนไร้ตัวกลาง

ตลาดแบบไร้ตัวกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ เพราะมันคือ Protocol หรือตลาดที่จะสามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทุกสิงทุกอย่างแบบไร้ตัวกลาง มันมีชื่อว่า Decentralized Exchange หรือ DEX ปกติแล้วเราใช้ Exchange ทั่วไป ระบบเหล่านั้นจะทำงานอยู่บน Server Client ที่มีผู้ดูแลเป็นตัวกลางตัวหนึ่ง

แต่กลับกันแนวคิดของ Decentralized Exchange นั้นมันจะทำงานอยู่บน Blockchain การแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นบน Blockchain จริงๆทำให้ในแง่ความปลอดภัย Decentralized Exchange นั้นความปลอดภัยต่อการใช้งานอย่างมาก เพราะผู้ใช้งานต้องเป็นคนคุม Private key ด้วยตัวเอง ตัวอย่าง Dex เช่น Uniswap, Kyber, Kulap

DeFi Lending borrowing การปล่อยกู้และกู้ยืมด้วย DeFi 

เมื่อมีสินทรัพย์มีตลาดต่อไปคือการทำในสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นนั้นคือการปล่อยกู้และกู้ยืมนั่นเอง ในปัจจุบันมี Platform ที่เราสามารถกู้สินทรัพย์ได้ เพียงแต่ว่าเราต้องสินทรัพย์มาค้ำประกันเช่นกันและมักจะเป็นการค้ำประกันที่มากกว่าสินทรัพย์ที่กู้ยิมเช่น หากเราจะกู้ Eth มูลค่า $75 เราจะต้องมีเงินค้ำประกันราวๆ $100 ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยและผู้ปล่อยกู้ก็สามารถได้ดอกเบี้ยที่ผู้กู้จ่าย ระบบนี้คล้ายกับโรงรับจำนำที่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์หนึ่งเป็นอีกแบบหนึ่งได้ ตัวอย่าง Platform ประเภทนี้เช่น Compound 

Liquidity pool การเพิ่มสภาพคล่องแก่ตลาด

ปัญหาที่มีมาตลอดในโลก Defi คือการขาดสภาพคล่อง เมื่อเทียบกันแล้วปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ยังอยู่กับตัวกลาง จึงเกิดแนวคิดของ Liquidity Pool ที่สามารถทำ Liquidity Mining ได้โดยหลักการคือการที่ ผู้ใช้งานสามารถฝากสินทรัพย์เข้าไปใน Pool และรับค่าธรรมเนียมเมื่อ Pool นั้นถูกใช้งานโดยตรง เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้คนทั่วไปเพิ่มสภาพคล่องแก่ตลาด ในโลก Defi ได้ ตัวอย่าง Liquidity Pool เช่น Balancer, Uniswap

บทความที่เกี่ยวข้อง วิธีทำกำไรด้วยการปล่อยกู้ผ่าน Liquidity Pool ผ่าน Uniswap

ความเสี่ยงของ Defi

ในโลกของ Defi เราจะสามารถขจัดความเสี่ยงของคนกลางในกรณีที่มีผุ้สร้างนั้นต้องการจะยักยอกเงินได้ แต่แม้โปรแกรมจะทำงานอย่างถูกต้องผ่าน Smart Contract แต่ไม่ได้แปลว่าถ้าโปรแกรมตอนแรกเขียนมามีช่องโหว่มันก็ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่เกิดขึ้น มีกรณีมากมายที่ Smart Contract นั้นมีช่องโหว่ต่างๆที่ถูกโจมตีบนโลกของ Defi 

ช่วง Black Friday ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้เกิดการ Crash ของตลาด Crypto ครั้งใหญ่ส่งผลทำให้ราคา Crypto มากมายปรับตัวลดลง ทำให้เกิดหนี้เสียใน MakerDao สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Ethereum ที่ค้ำประกันนั้นเกิดการ Liquidate โดยปกติอัตราส่วนของ Ethereum จะมากกว่าเหรียญ Dai ที่กู้เพื่อป้องกันการ Liquidate แต่เมื่อราคา Ethereum ลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการ Liquidate และนำ Ethereum นั้นไปประมูลขาย ปรากฎว่ามีช่องว่างให้คนสามารถประมูล Ethereum จำนวนหนึ่งไปที่ราคา 0 ได้ผลก็คือเกิดหนี้เสียราว 28 ล้านดอลลาร์ขึ้นมาในระบบ โดยเครือข่ายของ MakerDao แก้ไขปัฐหานี้ด้วยการเสกเหรียญ MKR ขึ้นมาแล้วขายในจำนวนเทียบเท่ากับหนี้เสีย ซึ่งวิธีนี้คล้ายกับการที่เมื่อรัฐบาลก่อหนี้ก็สร้างพันธบัตรมารองรับหนี้หรือปล่อยให้มันกลายเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งไม่ได้มีแค่ MakerDao เท่านั้น Balancer หรือ Dydx ก็เคยเกิดความเสียหาย

 การเติบโตของและอนาคตของ DeFi

ปัจจุบัน Defi มีมูลค่าของ Defi ประมาณ $2.5 พันล้าน ในเชิงคอนเซ็ปต์ของ DeFi มันยังสามารถทำอะไรอื่นๆได้อีกมาก เพราะมันเป็นเหมือน Base Protocol ที่จะสร้างสิ่งต่างๆ เพียงแต่ในวันนี้ Success Case ของมันจะเรียกได้ว่ามีเพียง Stablecoin กับ Compound เท่านั้น 

ถ้าเราสังเกตุดีๆทั้งการสร้าง Asset,การปล่อยกู้,การค้ำประกัน ทั้งหมดนี้เป็นฟังชั่นที่ถูกผูกขาดโดยธนาคารและสถาบันการเงินที่ต้องมีการขอใบอนุญาติรวมไปถึงค่าธรรมเนียม แต่มันสามารถเกิดขึ้นได้แล้วใน Defi ถ้าเราดูในแง่ของคอนเซปทางเทคโนโลยีก็เป็นไปได้ว่ามันอาจจะกลายเป็นธนาคารหรือระบบการเงินในอนาคตที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป