รายงานเผย: การกำกับดูแลในโครงการ DeFi หลายโครงการ ยังคงเป็นแบบ Centralized

รายงานฉบับใหม่ที่พัฒนาร่วมกันโดย DappRadar และ Monday Capital ได้วิเคราะห์การแจกจ่ายโทเค็นและการกำกับดูแลที่พบในโปรโตคอล DeFi ที่สำคัญ ซึ่งแม้ว่าจะมีความพยายามในการกระจายอำนาจการควบคุมในขั้นตอนการทำ  yield farming แต่นักวิจัยยังยืนยันว่ามีโครงการจำนวนมากที่เป็น centralized โดยเฉพาะโครงการที่มีรากฐานของ venture capital ที่แข็งแกร่ง

นักวิจัยได้วิเคราะห์โครงการต่าง ๆ เช่น MakerDAO, Curve, Compound และ Uniswap

ซึ่งทั้งหมดนำเสนอการแจกจ่ายโทเค็นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งเหมาะกับผู้ถือรายใหญ่ นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่าการกำกับดูแลของ Maker ดูเหมือนจะเป็นเติบโตที่สุด เนื่องจากเปิดตัวมานาน ฟอรัม MakerDAO เป็นที่ที่สมาชิกของชุมชนจะอภิปรายและวิเคราะห์เบื้องต้นและเปิดให้ทุกคนเข้าร่วมโดยไม่คำนึงถึงการถือครอง MKR

อย่างไรก็ตามกระบวนการลงคะแนนแบบออนไลน์ดูเหมือนจะถูกควบคุมโดยผู้ถือโทเค็นรายใหญ่เป็นหลัก เนื่องจากที่อยู่ 20 อันดับแรกมีประมาณ 24% ของ supply ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่วิเคราะห์แล้วการกระจายนี้ยังคงเป็นธรรม

สำหรับ Compound นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า leaderboard ของผู้ถือ COMP ประกอบด้วย venture capitalists , สมาชิกในทีม และโครงการบล็อกเชนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Dharma และ Gauntlet

มีเพียง 2.3% ของที่อยู่เท่านั้นที่มี delegation , ข้อกำหนดในการยื่นข้อเสนอ และลงคะแนน ดังนั้นจึงมีเพียงส่วนน้อยของชุมชนเท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการกำกับดูแล และเปอร์เซ็นต์ที่แท้จริงมีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจาก total supply ยังเอียงไปทางที่อยู่ 20 อันดับแรกอย่างมาก

Curve และ Uniswap มีปัญหาที่คล้าย โดย Curve มีที่อยู่เดียวที่เห็นได้ชัดว่ามีการถือครอง 75% ของพลังในการลงคะแนน ในขณะที่ Uniswap ยังคงเจอเรื่องอื้อฉาวและข้อกล่าวหาของการ takeover โดยการกำกับดูแลภายใน

นักวิจัยระบุสาเหตุหลักสามประการที่นำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจนี้ ประการแรกคือผู้ใช้เห็นว่าโทเค็นการกำกับดูแลเป็นผลตอบแทนและไม่ใช่เครื่องมือลงคะแนน:

“governance token ถูกใช้เป็น ‘รางวัล’ สำหรับผู้ใช้ที่เข้าร่วมในเครือข่าย แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะฟังดูดี แต่การกำกับดูแลจะไปถึงผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ แต่ในความเป็นจริง แรงจูงใจทางการเงินนั้นแข็งแกร่งกว่าสิ่งจูงใจด้านการกำกับดูแล”

ประเด็นที่สองคือระบบต่าง ๆ ได้รับการออกแบบมาให้เป็นแบบ plutocracies – โดยที่ความมั่งคั่งหมายถึงพลังอำนาจ เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดการมีส่วนร่วมขั้นต่ำที่สามารถสร้าง “การกระจายอำนาจที่เพียงพอ” และผู้ถือรายใหญ่สามารถใช้อำนาจของตนได้โดยไม่มีใครโต้แย้งได้ 

และสุดท้ายนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าการลงทุนครั้งแรกมีบทบาทอย่างมากในการกำกับดูแลแบบ Centralized  ผู้ร่วมทุนและนักลงทุนรายอื่นมักจะมีเงิน stake เริ่มต้นจำนวนมาก ซึ่งอาจกีดกันผู้ใช้รายอื่นจากการพยายามแสวงหาการกำกับดูแล

โดยสรุปแล้วนักวิเคราะห์ยืนยันว่า distribution mechanisms  เป็นการกระตุ้นให้เกิดการรวมศูนย์โดยชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ในปัจจุบันที่ไม่น่าแปลกใจ

อ้างอิง : LINK

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป