บริษัทวิจัยและจัดอันดับในฟลอริดา Weiss Ratings ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงการใช้ Crypto เป็นหลักประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ระยะยาว ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา
บริษัทให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับ Milo ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านธนาคารดิจิทัลจากไมอามี่ ที่ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย 30 ปีซึ่งสนับสนุนโดย Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH) หรือเหรียญ stablecoin เป็นหลักประกัน โดยบริษัทไม่ต้องการเงินดาวน์ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ระหว่าง 3.95% ถึง 5.95%
ในรายงานวันที่ 3 พฤษภาคม Jon D. Markman นักวิเคราะห์ของ Weiss ได้เตือนถึงการจำนองดังกล่าว โดยอ้างถึงผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ของหุ้นและคริปโตในปีนี้ รวมถึงฟองสบู่ด้านที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ , อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น , และการเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น
“ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในขณะนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในนโยบายของเฟดและอัตราการจำนองที่สูงขึ้น” เขากล่าวเสริม
Markman สรุปว่าไม่ใช่ทุกความเสี่ยงใน Crypto ที่ไม่ดี แต่อาจจะอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่จะเสริมว่า “ไม่ว่าตลาดจะทำอะไร ศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จในสกุลเงินดิจิทัลก็มีอยู่จริง”
นักลงทุนคริปโตและหุ้นหลายคนคาดการณ์เชิงลบถึงผลกระทบของตลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในปีนี้ เนื่องจากเฟดตั้งเป้าที่จะลดอัตราเงินเฟ้อลง
เนื่องจากตลาดทั้งสองประสบปัญหาจากผลการดำเนินงานจากปัจจัยหลายประการ นักวิเคราะห์ระดับมหภาค เช่น Alex Krueger ได้แนะนำว่าการประกาศล่าสุดของเฟดที่กำหนดไว้สำหรับสัปดาห์นี้ “จะกำหนดชะตากรรมของตลาด” ในอนาคต
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการจำนอง ราคาของสินทรัพย์ Crypto ที่ค้ำประกัน “มูลค่าสามารถลดลงได้โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ตราบใดที่มันไม่ได้ลดลงถึง 35% ของจำนวนเงินกู้ทั้งหมด” และเพื่อหลีกเลี่ยงการโดน liquidation ผู้ใช้ต้องเติมเงินหลักประกันภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากถึงเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำ ในขณะที่สามารถใช้ stablecoin ในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวนได้
Milo ระดมทุน Series A ได้มูลค่า 17 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม และมีแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น พร้อมกับการเพิ่มจำนวนพนักงาน
อย่างไรก็ตาม Markman ยังแสดงความกังวลว่า “แผนการที่ใหญ่กว่าของ Milo คือการรวมสินเชื่อบ้านที่ได้รับการสนับสนุนจาก crypto และเสนอให้เป็นพันธบัตรให้กับผู้จัดการสินทรัพย์และบริษัทประกันภัย” ซึ่งเปรียบเสมือนพฤติกรรมที่ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยพังในปี 2009