ตามรายงานความมั่นคงทางการเงินทั่วโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร ระบุว่า สงครามในยูเครน – หลังการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส ได้นำไปสู่ภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านฟินเทคและการใช้เงินดิจิทัลในทางที่ผิด ทำให้เกิดความท้าทายที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญอยู่
ตามรายงาน การระบาดใหญ่และสงครามทำให้เกิด “cryptoization” อย่างรวดเร็วในตลาดเกิดใหม่ อันเนื่องมาจากความสนใจในการเก็งกำไรที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ และจากนั้นก็พยายามหลบเลี่ยงการคว่ำบาตร ซึ่งจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบในอุตสาหกรรม crypto การใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรนั้นไม่สามารถทำได้ โดยรายงานพบว่า การใช้ mixer ,decentralized exchanges , และเหรียญ privacy coins อาจทำให้มีการหลีกเลี่ยงได้ แต่จะถูกจำกัดด้วยสภาพคล่องที่จำกัด
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องคือการใช้พลังงานส่วนเกินของประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เพื่อขุด cryptocurrencies แม้ว่ากระแสการเงินจากกิจกรรมนั้นจะถูกควบคุมไว้ค่อนข้างมาก แต่ประเทศที่กังวลเกี่ยวกับการถูกคว่ำบาตรในอนาคตอาจพบว่า crypto น่าสนใจยิ่งขึ้นในฐานะสกุลเงินสำรอง
ประเด็นทั้งหมดเหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในแนวทางการกำกับดูแลที่ต้องมีการประสานงานกัน เพื่อรักษาการควบคุมการไหลของเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และการปรับปรุงเทคโนโลยีการชำระเงินที่ไม่ใช่บล็อคเชนจะช่วยรักษาการควบคุมนั้นไว้
รายงานยังระบุด้วยว่ากฎระเบียบไม่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ด้านของฟินเทค การเงินแบบกระจายอำนาจหรือ DeFi กำลังเชื่อมต่อกับการเงินแบบดั้งเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการนำไปใช้โดยสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม แต่การขาดธรรมาภิบาลของ DeFi ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางการเงินและสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนทางกฎหมาย และมีความเสี่ยงต่อตลาด สภาพคล่อง และความเสี่ยงในโลกไซเบอร์ แต่อาจให้ประโยชน์จากประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและการเข้าถึงทางการเงิน
กองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำให้หน่วยงานกำกับดูแล มุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบของระบบนิเวศของ crypto รอบ ๆ DeFi เช่นผู้ออกเหรียญ stablecoin และ centralized exchanges และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลตนเองภายในอุตสาหกรรม