Airdrops เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้จำนวน “ผู้ใช้” ของ DeFi เพิ่มสูงขึ้น และปัจจุบันได้กลายเป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมมากที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มในการขอบคุณผู้ใช้ที่เข้าร่วม โดยก่อนหน้านี้ Uniswap ซึ่งเป็น decentralized exchange ชั้นนำใน DeFi อาจเป็นแพลตฟอร์ม DeFi ที่ใหญ่ที่สุดในการทำเช่นนี้
ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2020 Uniswap ได้ประกาศเปิดตัวโทเค็น UNI และได้แจกจ่ายโทเค็นย้อนหลัง ให้กับผู้ใช้แพลตฟอร์ม ซึ่งใครก็ตามที่เคยโต้ตอบกับโปรโตคอลก่อนวันที่ 1 กันยายน 2020 ก็มีสิทธิ์ได้รับเงินฟรีนี้
ซึ่งหมายความว่าคนส่วนใหญ่สามารถเข้าไปที่ Uniswap และเชื่อมต่อกระเป๋าเงิน Ethereum และรับโทเค็น UNI จำนวน 400 โทเค็น ซึ่งในเวลานั้นมันเป็นเงินฟรีมูลค่าประมาณ 1,200 ดอลลาร์ แต่วันนี้ 400 UNI มีมูลค่ากว่า $10,400
ลักษณะสำคัญของ airdrop คือการให้รางวัลกับกระเป๋าเงินใด ๆ ที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับโปรโตคอลก่อนที่จะมีการ snapshot นั่นหมายความว่าหากมีใครเคยทำการซื้อขายหรือให้สภาพคล่องแก่ Uniswap จากกระเป๋าเงินมากกว่าหนึ่งใบ พวกเขาก็จะได้รับโบนัสที่ใหญ่กว่านี้
และจากการตอบสนองต่อกลไก airdrop ในลักษณะนี้ ทำให้มีผู้ใช้จำนวนมากสร้างกระเป๋าเงินดิจิตอลขึ้นมาหลายใบอย่างรวดเร็ว และเริ่มโต้ตอบกับโปรโตคอล DeFi ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้มีการปล่อยโทเค็นออกมา (แทนที่จะเก็งกำไรในราคาของโทเค็น ก็เปลี่ยนมาเป็นเก็งกำไรในการปล่อยโทเค็นที่ อาจเกิดขึ้น แทน)
โดยปกติ สิ่งนี้สร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้ทุกคนเร่งสร้างกระเป๋าเงินจำนวนมาก และบ่งบอกว่าผู้ใช้รายหนึ่งไม่ควรมีกระเป๋าเงินเพียง 1 ใบ
ก่อนหน้าที่จะเกิดพฤติกรรมแบบนี้จนกลายเป็นกระแสหลักในยุคของ airdrops นั้น แรงจูงใจที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวในการต้องสร้างหลายกระเป๋าเงินคือการปรับปรุงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย เนื่องจากกระเป๋าเงินวาฬหนึ่งใบนั้นง่ายต่อการติดตาม ตรงข้ามกับการมีกระเป๋าเงินขนาดเล็กหลายสิบใบ
ดังนั้น เมื่อคุณดูกราฟการเติบโตแบบกระทิงของ DeFi โดยเฉพาะในส่วนของการเติบโตของผู้ใช้งาน ซึ่งในเวลานี้มี “ผู้ใช้ DeFi ทั้งหมด” มากกว่า 3.6 ล้านคน ตามข้อมูลที่ดึงมาจาก Dune Analytics นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการเก็งกำไรในการได้รับ Airdrop นั่นเอง