Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้เจาะลึกถึงการกำกับดูแลแบบกระจายอำนาจโดยใช้โทเค็น โดยบอกว่ากลไกการลงคะแนนที่มีอยู่นั้นมีข้อบกพร่อง และอาจทำให้ภาค DeFi ไม่อาจแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่
ในบล็อกโพสต์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม Buterin ระบุว่า ชุมชน crypto จำเป็นต้อง “ก้าวไปไกลกว่าการลงคะแนนด้วยโทเค็นในรูปแบบปัจจุบัน”
ในปัจจุบัน โครงการ decentralized finance (DeFi) ส่วนใหญ่จัดการกับการอัปเกรดโปรโตคอล , การออกรางวัล , และแง่มุมอื่น ๆ ด้วยการโหวต โดยจะใช้คะแนนโหวตระหว่างผู้ถือโทเค็นตามขนาดของการถือครอง
อย่างไรก็ตาม โครงการจำนวนมากนั้นคะแนนเสียงของพวกเขามักจะถูกครอบงำโดยปลาวาฬที่ถือโทเค็นกองใหญ่ และปล่อยให้พวกเขาลงคะแนนเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง
Buterin จึงระบุถึงสองประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโดยใช้โทเค็น โดยเน้นที่ความเสี่ยงของแรงจูงใจที่ไม่สอดคล้องกันในหมู่สมาชิกชุมชน และช่องโหว่ในการ “ซื้อเสียง” และ “outright attacks” ที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของการลงคะแนนเสียง
“สิ่งที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำได้ในวันนี้คือการก้าวออกจากความคิดที่ว่า การลงคะแนนด้วยโทเค็นเป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจที่ถูกต้องเท่านั้น”
Buterin ตั้งข้อสังเกตถึงระบบการกำกับดูแลด้วยโทเค็น ที่สามารถโดนควบคุมได้โดยการกู้ยืม และใช้สินทรัพย์ที่เป็นโทเค็นในการลงคะแนนเสียง
และเมื่อมองไปไกลกว่าการกำกับดูแลที่ใช้โทเค็น Buterin สนับสนุนระบบการกำกับดูแลที่อิงตาม “Proof-of-Humanity” โดยจะจัดสรรหนึ่งเสียงต่อผู้ใช้โปรโตคอลแต่ละราย
Buterin ยังเสนอ “Proof-of-Participation” เป็นวิธีแก้ปัญหา ซึ่งการลงคะแนนจะจำกัดเฉพาะผู้ใช้โปรโตคอลที่มีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อประโยชน์ของโครงการหรือชุมชน โดยให้สิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนนไปยังที่อยู่ที่ทำ task ได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น
ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ยังเสนอแนะการลงคะแนนแบบ quadratic voting — โดยที่พลังของผู้มีสิทธิโหวตเพียงคนเดียวนั้นแปรผันตาม square root ของทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่พวกเขา commit เพื่อการตัดสินใจ
นอกจากนี้ เขายังแนะนำแนวทาง “skin in the game” ที่ทำให้ผู้ลงคะแนนแต่ละคนต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของพวกเขา โดยระบุว่า:
“การลงคะแนนด้วยโทเค็นนั้นล้มเหลว เพราะผู้ลงคะแนนต้องรับผิดชอบร่วมกันสำหรับการตัดสินใจของพวกเขา (หากผลการตัดสินใจออกมาแย่ เหรียญของทุกคนจะลดลงเหลือศูนย์) ผู้ลงคะแนนแต่ละคนไม่ต้องรับผิดชอบเป็นรายบุคคล”