Sam Bankman-Fried พ่อหนุ่มหัวเอฟโฟวมาดเซอร์ๆ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มเทรดคริปโทชื่อดังอย่าง FTX, Alameda Research (quantitative trading firm) ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ ทำให้เขามีทรัพย์สินในครอบครองมูลค่าสูงกว่า $10000 และทั้งหมดนี้เขาได้มันมาด้วยวัยเพียง 28 ปีเท่านั้น !!!
กว่าจะมาเป็นแซมในทุกวันนี้
แซมจบการศึกษาจาก MIT ทางด้านฟิสิกในช่วงปี 2014 และได้เริ่มงานที่แรกคือไปฝึกงานกับบริษัททางด้าน Quantitative trading firm (ทำด้านการสร้าง คิดโมเดลต่างๆทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับผู้ลงทุน) อย่าง Jane Street ใน New York ซึ่งทำให้แซมคนพบว่าตนเองมีความหลงไหลในด้านโมเดลทางคณิตศาสตร์ สถิติ และ การสร้างระบบการเทรดเป็นอย่างมาก
หลังจากเก็บประสบการณ์ที่ Jane Street ได้ประมาน 2 – 3 ปี แซมได้เล็งเห็นโอกาสที่เปิดกว้างในโลกของคริปโท ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ที่เขาได้สะสมมาจาก Jane Street มาต่อยอดได้ เขาจึงก่อตั้ง Alameda Research สำหรับการเทรด และ การให้สภาพคล่องแก่แพลตฟอร์มต่างๆ ขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2017
ที่ Alameda Research มีทรัพย์สินดิจิตัลใต้การบริหารถึง $500 ล้าน และมีการเทรดราวๆ $1000 – $1500 ล้านต่อวัน ซึ่ง Alameda ได้เข้าเทรดในสินทรัพย์กว่าพันชนิด อย่างเช่น Major cryptocurrency, Altcoin หรือ สินทรัพย์อนุพันธ์ต่างๆของคริปโทเองเช่นกัน ซึ่ง Alameda Research มีกลยุทธ์ในการเทรดหลักๆ 4 ข้อด้วยกัน
4 กลยุทธ์การเทรดของ Alameda Research
1 Arbitrage
Arbitrage คือการทำกำไรโดยปราศจากความเสี่ยง ซึ่งมันจะเกิดได้เมื่อเกิดความไม่เสถียรภาพในตลาดต่างๆรอบโลก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อราคาของสินทรัพย์ชนิดเดียวกันใน 2 ตลาดมีราคาไม่เท่ากัน ผู้ลงทุนก็สามารถซื้อจากตลาดที่ถูกกว่าเพื่อนำไปขายในตลาดที่ราคาสูงกว่าได้
2 Medium Time Scale Quant Strategies
Medium Time Scale Quant Strategies เป็นการนำเทคนิคทางการเทรดต่างๆตั้งแต่อะไรที่พื้นฐานอย่างเช่น Mean Reversion (ทฤษฏีที่เชื่อว่าราคาของสินทรัพย์จะวิ่งกลับไปหาราคาเฉลี่ยของมัน) หรือ ซับซ้อนมากๆจนต้องนำ AI / Machine learning เข้ามาช่วย ซึ่งสิ่งที่สำคัญในกลยุทธ์นี้คือจะใช้ในระยะเวลาที่ไม่สั้น หรือ ยาวเกินไป จึงได้ชื่อว่า Medium Time Scale
3 Market Making
Market Making คือการที่ Alameda Research เข้าไปในตลาดต่างๆและนำทรัพย์สินของตนเองไปเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาด ให้เทรดเดอร์สามารถซื้อขายได้อย่างอิสระมากขึ้น
4 Market-neutral
เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ออกแบบมาให้มีผลตอบแทนสม่ำเสมอ ทั้งในสภาวะที่ตลาดขึ้น หรือ แม้แต่ตลาดลง
FTX แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทระดับโลก
ทั้งนี้ทั้งนั้น Alameda Research ได้เป็นจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มเทรดคริปโทที่เน้นไปด้านอนุพันธ์อย่าง FTX ที่แซมได้สร้างขึ้นมาในปี 2019 ที่ฮ่องกง FTX มีจุดเด่นด้าน อนุพันธ์ , Financial Products ที่หลากหลาย อย่างเช่น Tokenized Stocks, Leveraged Tokens ต่างๆนานา อีกทั้งยังมีสภาพคล่องสูงซึ่งส่งผลให้ช่องว่างระหว่างราคาซื้อ – ขายต่ำ ซึ่งส่วนนึงเป็นผลมาจาก Alamede Research นั้นเอง โดย 24 ชั่วโมงล่าสุด FTX มีปริมาณการซื้อขายสูงถึง $24,301,217,365 เลยทีเดียว
และเป็นอันทราบกันดีว่า FTX เป็นแพลตฟอร์มที่มีการนำเสนอทางเลือกทางการลงทุนให้แก่นักลงทุนเสมอๆ อย่างเช่นในเคสของ “Tokenized Stock” ที่เป็นหุ้นที่อ้างอิงค์มาจากหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จริงๆ ที่เกิดจากหลักการของ Synthetic Asset หรือ สินทรัพย์สังเคราะห์นั่นเอง โดยปัจจุบัน มีให้เลือกลงทุนได้มากมายเช่น TSLA, APPLE , AMAZON และอื่นๆ
Sam กับ Serum
นอกจากแพลตฟอร์มซื้อขายแบบ Centralized Exchange (CEX) อย่าง FTX แซมยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Decentralized Exchange (DEX)อย่าง Serum ขึ้นมาด้วย โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้แซมหันมาสนใจระบบการแลกเปลี่ยนแบบไร้ตัวกลาง เพราะจากประสบการณ์ที่เขาเคยอยู่ใน Wall Street มา ในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งมีตัวกลางที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่จำเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมอย่างมหาศาล
ปลายทางของ Serum คืออะไร ?
แซมได้สร้าง Serum ขึ้นมา เพราะอยากให้มี DEX ที่ทำงานได้รวดเร็ว ปลอดภัย และ สามารถใช้ได้บนหลายๆเครือข่ายบล็อคเชน ซึ่งตัวแซมเองนั้นมองเห็นปัญหาหลักๆของเครือข่ายบล็อกเชน คือ เรื่องของคอขวดซึ่งหมายความว่า ในขบวนการโอนถ่ายย้ายข้อมูลต่างๆ จะมีจุดที่เป็นเหมือนคอขวด ทุกๆอย่างจะไปติดซึ่งทำให้ขบวนการทุกอย่างช้าลง ยกตัวอย่างเช่น บล็อคเชนของ Bitcoin ที่สามารถรองรับได้เพียง 5 tps หรือแม้แต่บล็อคเชนของ ETH ที่เป็นที่นิยม และ ใช้กันอย่างแพร่หลายยังรองรับได้เพียง 15 tps
Solana คือคำตอบของ Serum
แซมได้ลงทุนในบล็อคเชนที่ชื่อว่า “Solana” ซึ่งเป็นบล็อคเชนที่ทำงานได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดย Solana สามารถรองรับได้มากถึง 50,000 tps ในตรงนี้แซมมองว่า Solana นั้นตอบโจทย์กับ Serum มากที่สุด ทั้งมี tps มากพอที่จะรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก อีกทั้งยังตอบโจทย์ในเรื่องของการเชื่อมต่อกันระหว่างบล็อคเชนต่างๆอีกด้วย ซึ่งทั้ง FTX และ Serum ล้วนทำงานบนระบบของ Solana ทั้งหมด
แซมผู้กอบกู้ Sushiswap
นอกจากผลงานทางด้านการเทรด หรือ การประสบความสำเร็จจากทั้ง Alameda / FTX ครั้งนึงแซมเคยเป็นผู้กอบกู้ Sushiswap ให้คงอยู่ถึงทุกวันด้วย
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 2020 โดยมีแพลตฟอร์มน้องใหม่เพิ่งเกิดโดยใช้ชื่อว่า “Sushiswap” ซึ่งได้ก้อปปี้โค้ดของ Uniswap มาทั้งดุ้น พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Community oriented เข้ามา โดยทีมงานของ Sushiswap เรียกตัวเองว่า “Evolution of Uniswap” หรือแปลเป็นไทยว่า ขั้นกว่าของ Uniswap นั้นเอง
Vampire Attack
ซึ่งแผนการของ Sushiswap นั้น ต้องการที่จะดึงผู้ให้สภาพคล่องจาก Uniswap มาที่แพลตฟอร์มของตนเอง โดยเปิดให้ผู้ลงทุนสามารถนำ Uniswap token มาไว้กับ Sushiswap และ Sushiswap จะนำ Uniswap token มาเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอ้างอิงค์ ( Underlying Asset ) เพื่อที่จะเพิ่มสภาพคล่องให้กับ Sushiswap แพลตฟอร์ม
ซึ่งแผนการณ์ของ Sushiswap ก็ได้ผลตามคาด ก่อนที่ Sushiswap จะเริ่มทำตามแผนการณ์มากกว่าครึ่งนึงของ Uniswap token ที่หมุนเวียนในตลาดได้ถูกวางไว้ในแพลตฟอร์มของ Sushiswap เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในขณะที่ทุกอย่างกำลังดำเนินตามแผนไปด้วยดี แต่แล้วเชฟ Nomi*, Mastermind ของ Sushiswap ก็ได้เทขาย Sushi token ของเขาเป็นมูลค่ากว่า $14 ล้าน ซึ่งส่งผลให้ราคา sushiswap token ร่วงอย่างหนักและผู้คนตราหน้าเขาว่าเป็น “Exit Scam” เลยทีเดียว
* Sushiswap เรียกทีมผู้บริหารว่า “เชฟ”
แต่แทนที่เชฟ Nomi จะเทขายแล้วหนีไป** เขากลับทำในสิ่งที่หลายๆคนคาดไม่ถึง คือ ไปติดต่อแซมเพื่อขอความช่วยเหลือ โดยแซมเล่าว่า “ตอนนั้นเขากำลังนอนเล่นอยู่บนบีนแบ็ค แล้วก็มีคนติดต่อมาขอให้ไปช่วย Sushiswap ให้พ้นวิกฤต ซึ่ง ณ ตอนนั้นเอง Suhiswap token ก็ได้ลิสบน FTX แล้ว” แซมรู้ทันทีว่าถ้าเกิดเขาไม่เข้ามาช่วยเหลือโปรเจคนี้ได้ตายลงแน่ๆ เขาจึงยื่นมือเข้ามาช่วยก้อบกู้ Sushiswap
** ท้ายที่สุดแล้วเชฟ Nomi ได้คืน ETH มูลค่ากว่า $14 ล้านกลับเข้าไปในคลังของ Sushiswap และให้ชุมชน Sushiswap ตัดสินใจว่าเขาควรจะได้รับเงินเท่าไหร่จากตรงนั้น ในฐานะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมาตั้งแต่เริ่มแรก
ซึ่งในคืนวันพุทวันนั้น แซมใช้เวลา 6 ชั่วโมงเต็มๆเพื่อช่วยให้ Sushiswap รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้ โดยแซมได้โพสรายละเอียดเรื่องนี้ไว้บนทวิตเตอร์ของเขาเอง (อ่าน : https://twitter.com/SBF_Alameda/status/1303683541687873536 )
หลังจากแก้ปัญหาให้ Sushiswap ได้สำเร็จ แซมก้ได้คืนอำนาจในการควบคุมระบบกับเชฟคนอื่นๆไป และ Sushiswap ได้เพิ่มระบบ “Multisig” เข้ามา โดยได้เลือกผู้กุม Multisig ขึ้นมาทั้งหมด 9 คน ซึ่งแซมก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยถ้าเกิดใครคนใดต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง Sushiswap ก็ต้องผ่านการอนุมัติของทั้ง 9 คนนี้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำสองนั้นเอง
การตีตลาดในแบบของแซม
โดย FTX ได้ทำการซื้อชื่อสนามของทีมบาสชื่อดังใน NBA อย่าง “Miami Heat” ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า American Airline Arena และเปลี่ยนไปเป็น FTX Arena โดยสัญญาเปลี่ยนชื่อสนามครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึง $135 ล้าน และ ยาวเป็นเวลา 19 ปีเลยทีเดียว ซึ่งหลายๆฝ่ายมองว่าเป็นการตีตลาดที่มีผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจอย่าง NBA นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการที่ผู้คนรู้จัก เข้าใจ และ ยอมรับในตัวของคริปโทในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเราก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแก่ FTX ของแซมหรือไม่
แซม กับ 80000hours
แซมไม่ได้เป็นแค่เศรษฐีระดับหมื่นล้านทั่วๆไปคนนึง เขาฝักใฝ่ในเรื่องของ “Earn to Give” เป็นเรื่องของทฤษฏีที่หลายๆคนได้ทำงานตามที่ชอบ ได้เงินเดือนสูง แต่กลับรู้สึกว่าตนเองไม่ได้มีประโยชน์ใดๆต่อสังคม โดยเรื่องนี้เกิดตั้งแต่เมื่อปี 2013 ในขณะที่แซมกำลังเรียนอยู่ที่ MIT และ 80000hours โดย 80000 hours เป็นองคกรณ์การกุศลที่ต้องการแก้ปัญหาต่างๆในโลก โดยหยิบยกเรื่องเวลาที่คนเรามีในชีวิตการทำงานทั้งหมด 80000 ชั่วโมงขึ้นมา และ ดูว่าเราสามารถทำประโยชน์ได้มากแค่ไหนในเวลาตรงนั้น ซึ่ง 80000 hours ก้ได้เข้าไปประชาสัมพันธ์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆเกี่ยวกับแนวทางขององคกรณ์ ซึ่งได้ไปจุดประกายความสนใจให้แซมในเรื่องนี้
จากตารางนี้ จะเห็นได้ว่าหลักการ Earn to Give นั้นมีประโยชน์มากแค่ไหน ต่อทั้งตัวผู้ให้ และ ผู้รับซึ่ง แซมได้บริจาคให้กับองคกรณ์การกุศลแนว “High – Impact Charities” ซึ่งจะนำเงินที่ได้รับบริจาคไปทำให้เกิดอิมแพคต่อสังคมมากที่สุด โดยด้านที่แซมสนใจที่สุดคือการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ในระยะยาว ซึ่งในปัจจุบัน แซมได้ตั้ง 1% จากกำไรสุทธิของค่าธรรมเนียมใน FTX เพื่อบริจาค และได้บริจาคไปแล้วกว่า $3 ล้านเลยทีเดียว โดยสำหรับใครที่สนใจในเรื่องนี้สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://80000hours.org
แซม 2021
ในปีนี้ แซมถูกคัดเลือกจาก Forbes นิตยสารชื่อดังจากอเมริกาให้เป็น 1 ใน 30 under 30 ของปีนี้ โดยรางวัลนี้ได้คัดเลือกคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่า 30 ที่มีอิทธิพลแวดวงต่างๆของโลกเป็นอย่างมาก โดยแซมได้รับรางวัลนี้ในสาขาการเงินจากผลงานทั้ง Alameda Research, Serum ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆให้ได้ชมอย่างไม่หยุดหย่อน รวมถึง FTX ที่ได้ออกอนุพันธ์ของ IPO coinbase ให้นักลงทุนได้เข้าไปลงทุนอีกด้วย
“ Better is Bigger ”
Sam Bankman-Fried