ภาพรวมตลาดคริปโต: Centralized Exchange & สถาบันการเงิน รายงานประจำปี 2022 – 2023 โดย Bitget

แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ มองหาวิธีใหม่ๆ ในการสร้างความเชื่อมั่น

แม้จะดูเหมือนว่าเหตุการณ์ FTX ล่มสลายได้สั่นสะเทือนกลุ่มแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ (CEXs) แต่นั่นไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเสียทีเดียว

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าแม้ความกลัว ความไม่แน่นอน และความเคลือบแคลงใจ (Fear, Uncertainty and Doubt: FUD) ที่ผู้คนมีต่อ CEXs และความโปร่งใสของ CEXs แต่ปริมาณการเทรดบน 13 แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนหลักกลับไม่ได้สะท้อนถึงความตกต่ำอย่างชัดเจนในด้านความเชื่อมั่นเลย (ดู 3 แถวขวาสุดประกอบ “Dec 22”, “Jan 23” และ “Feb 23” [เดือน “ธ.ค. 22” “ม.ค. 23” และ “ก.พ. 23” ตามลำดับ]) โปรดทราบว่าข้อมูลสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2023 (“Feb 23”: “ก.พ. 23”) นั้นบันทึกไว้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 ปริมาณที่แสดงจึงไม่ได้สะท้อนข้อมูลของทั้งเดือน

หากว่าไม่มีเหตุการณ์ Black Swan หรือเหตุฉุกเฉินใดๆ ที่ทำให้ตลาดตระหนกอีกในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เราก็สันนิษฐานเอาได้ว่าปริมาณของเดือนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากตัวเลขที่คำนวณในชาร์ท ไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับของเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม 2022 ซึ่งเป็นช่วงหลังจาก Terra แตกและก่อน FTX ล่มสลาย

Futures มีปริมาณเท่ากับสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของปริมาณ Spot หมายความว่าการเก็งกำไรในตลาดนั้นเข้มข้นขึ้น (จากการที่การเทรด Spot มีปริมาณพุ่งสูงขึ้น) หลังจากที่ Terra พัง และมาอ่อนแรงลงในช่วงสิ้นปี

Binance เป็นยักษ์ใหญ่ในกลุ่ม CEXs มาโดยตลอดทั้งในตลาด Spot และ Futures ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ปริมาณ Spot ของ Binance ค่อยๆ เติบโตขึ้น แต่ตลาด Futures ของ Binance กลับไม่ขยายตัวขึ้นเลย สิ่งที่น่าสังเกตคือหลังเหตุการณ์ FTX มีแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเจ้าอื่นๆ ก้าวขึ้นมามีบทบาท ทั้ง Bybit และ Bitget ใน Spot รวมถึง Bitget และ KuCoin ใน Futures

เมื่อนำข้อมูลปริมาณเฉลี่ยรายวันมาวิเคราะห์แล้วจะพบว่ามีเพียง Binance และ Bitget เท่านั้นที่สามารถมีกิจกรรมการเทรด Spot แบบแอคทีฟได้ในช่วง 40 วันแรกของปี 2023 ขณะที่เจ้าอื่นๆ ต้องเผชิญกับขนาดตลาด Spot ของตนที่ลดลง สื่อถึงการมีรายได้ที่ลดลง สำหรับการเทรด Futures นั้น มี 3 แพลตฟอร์มที่ยังคงยืนเด่นอยู่ได้ นั่นคือ Bybit, Bitget และ Binance

ข้อมูลด้านล่างนี้คือสรุปข้อมูลแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและผลการดำเนินงานของโทเค็นของแต่ละแพลตฟอร์ม โดยมีข้อยกเว้นคือ Coinbase ซึ่งได้เข้าตลาดหุ้น NASDAQ ไปแล้ว แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนนอกประเทศต่างก็ออกโทเค็นเป็นของตนเอง โดยปกติแล้วคือออกหลังจากช่วงที่ได้รับการยอมรับอย่างประสบความสำเร็จแล้ว ในช่วงแรกเริ่ม ผู้ถือโทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนมักนำมาใช้งานเพื่อหักกับค่าธรรมเนียมและใช้กับ Initial Exchange Offerings (IEOs) เป็นหลัก แต่ต่อมาก็ได้มีการขยายขอบเขตการใช้งานโทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน ซึ่งทำให้โทเค็นต่างๆ เหล่านี้มีมูลค่าสูงขึ้น

หลังจากที่หุ้น Coinbase (NASDAQ: COIN) ขึ้นไปทำ All Time High ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ราคาของ COIN ก็ร่วงลงมาจนสูญมูลค่าไปถึง 85.90% ณ ช่วงสิ้นปี 2022 ผลการดำเนินงานของโทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Crypto.com (CRO) ซึ่งเป็นโทเค็นดั้งเดิมของบล็อกเชนของ Crypto.com เองนั้นนับว่าแย่ที่สุดในบรรดา 9 โทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน แต่ Bitget Token (BGB) กลับเป็นข้อยกเว้น โดยเพิ่มมูลค่าขึ้นเป็นสัดเป็นส่วนไปตามการเติบโตของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน และเป็นที่สามารถเข้าใจได้ว่าราคาของโทเค็นเหล่านี้ที่ร่วงลง อย่าง FTX กับ FTT ที่เป็นโทเค็นของ FTX นั้น ทำให้ผู้คนเลี่ยงการถือโทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน

ข้อมูลจนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของตลาดดูเหมือนจะช่วยชุบชีวิตให้กับโทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่ ยกเว้น Huobi Token (HT) โดยมีรายงานว่า Huobi ปลดพนักงานออกจำนวนมาก รวมถึงลดค่าตอบแทนจูงใจของพนักงานลงด้วย จึงทำให้ราคาร่วงลง หุ้น/โทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน 3 อันดับแรกเมื่อดูจากผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบันคือ COIN ของ Coinbase, BGB ของ Bitget และ OKB ของ OKX

ผลตอบแทนรายวันเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วันของโทเค็นประจำแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสามารถช่วยระบุแนวโน้มราคาหลักของโทเค็นเหล่านี้ได้โดยเกลี่ยความผันผวนรายวันที่มาจากความผันผวนตามปกติของตลาดคริปโต COIN ของ Coinbase, HT ของ Huobi และ BMEX ของ Bitmex มีทั้ง Higher High และ Lower Low ขณะที่โทเค็นซึ่งผันผวนน้อยกว่าและมีแนวโน้มวิ่งตามเทรนด์ขาขึ้นคือ BGB ของ Bitget โดยเป็นเพียงโทเค็นเดียวที่ปรับตัวบวกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 

FTX แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่ประสบปัญหาต้องเผชิญกับภาวะสภาพคล่องตึงตัว หลัง Binance เทขายโทเค็นของแพลตฟอร์มดังกล่าว (FTT) ที่ตนถืออยู่ ส่งผลให้นักลงทุนเกิดปัญหาความเชื่อมั่นในทุนสำรองของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนหลายแห่งจึงเร่งออก Proof-of-Reserves (PoR) ของตนเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสที่มากขึ้นและกอบกู้ความเชื่อมั่นของผู้ใช้ให้กลับคืนมา ข้อมูลล่าสุดจาก Nansen แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ มีทุนสำรองส่วนใหญ่เป็น Stablecoin (Tether เป็นที่นิยมกว่า USD Coin), Bitcoin และ Ethereum แพลตฟอร์ม Bitget มีทุนสำรอง 1 ใน 3 เป็น Bitget Token ในขณะที่ทุนสำรองราว 30% ของ Binance, Crypto.com, Gate.io, Huobi และ KuCoin นั้นถือเป็นโทเค็นขนาดเล็ก (Small Cap) หรือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงยิ่งกว่า เช่น Shiba Inu (SHIB)

กลุ่มสถาบันยังคงอยู่

การจัดหาเงินทุนในอุตสาหกรรมคริปโตเผชิญสภาวะถดถอยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 เนื่องจากกรณีของ Terra ได้ส่งผลให้ Three Arrows Capital (3AC) ล้มละลาย ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนหลักของอุตสาหกรรมคริปโต อย่างไรก็ตาม กลุ่มสถาบันยังคงไม่หมดหวัง โดยเฉพาะเมื่อ Ethereum Merge ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี จำนวนของดีลต่างๆ ก็เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2022 ขอย้ำอีกครั้งว่าข้อมูลบันทึกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 ดังนั้นตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์จึงอาจไม่สะท้อนความเชื่อมั่นของกลุ่มสถาบัน (Institutional Sentiment) อย่างแท้จริง ผู้เล่นรายใหญ่ๆ มีแนวโน้มสูงที่จะเข้าร่วมในรอบ Seed และ Pre-Series A

หมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมที่สุดในดีลการจัดหาเงินทุนคือหมวดบริการบล็อกเชนที่ 35.6% ซึ่งสูงกว่าของหมวด DeFi และ GameFi รวมกัน เหตุการณ์ Ronin Bridge ของ Axie Infinity ถูกแฮ็ก เสียหายไป 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความสนใจในโปรเจกต์ GameFi ต่างๆ ลดลงไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 และที่น่าประหลาดใจคือบริษัท CeFi ต่างๆ โดยเฉลี่ยได้รับเงินทุนมากกว่าโปรเจกต์ NFT และ Metaverse แม้ว่าจะไม่ได้แตกต่างกันมากนักก็ตาม

การเทรด ETF คริปโตนับเป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้ระบบการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Finance: TradFi) มาบรรจบกับคริปโต ข้อมูลจาก Bloomberg เผยว่า ETF คริปโตมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมในช่วงต้นปี 2023 ก้าวขึ้นมารั้ง 14 อันดับแรกได้เมื่อดูจากผลตอบแทน Year-To-Date ณ วันที่ 13 มกราคม 2023

หากดูดัชนี NASDAQ Composite Index (เส้นสีชมพูเข้ม) เป็นเกณฑ์ จะเห็นได้ว่า ETF คริปโตราคาพุ่งหลังจากปีใหม่มา แต่ก็มี ETF 1 กองที่ขาดทุน นั่นคือกอง ProShares Short Bitcoin Strategy ETF ซึ่งก็มีสาเหตุที่สมเหตุสมผล เพราะราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้นนั่นเอง เมื่อพิจารณาดูจากข้อเท็จจริงที่ว่าดัชนี NASDAQ มักมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีอื่นๆ เช่น S&P 500 หรือ Dow Jones การลงทุนใน ETF คริปโตก็น่าจะดึงดูดให้นักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่าจาก TradFi เข้ามาสำรวจอุตสาหกรรมเกิดใหม่นี้ได้

เพียงแค่สร้างบัญชี แล้วเริ่มสำรวจ Bitget-Verse ที่น่าทึ่งวันนี้เลย!

ข้อสงวนสิทธิ์

เราได้พยายามอย่างดีที่สุดในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูล ณ ที่นี้มาจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ แต่เราจะนำเสนอข้อมูล “ตามสภาพที่ได้รับ (As-Is Basis)” โดยไม่รับรองถึงความถูกต้อง ความแม่นยำ ความมีประโยชน์ ความเป็นปัจจุบัน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เราจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือการตกหล่นของข้อมูล, การขาดทุน และ/หรือความเสียหายที่เกิดจากการแสดงและการใช้งานข้อมูล

ข้อมูล มุมมอง และความคิดเห็นในที่นี้เป็นของ Bitget ณ เวลาที่เผยแพร่และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือการเงิน และอาจไม่ได้รับการอัปเดตหรือปรับปรุงเพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ทำการเผยแพร่

ข้อมูล มุมมอง และความคิดเห็นในรายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือเสนอให้ใช้เป็นคำแนะนำทางด้านกฎหมาย ภาษี การลงทุน การเงินหรืออื่นๆ ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม Bitget พนักงาน ตัวแทน พาร์ทเนอร์ และ/หรือการดำเนินงานร่วมกันอื่นๆ จะไม่รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ การกระทำ หรือผลลัพธ์ที่เกิดจากหรืออ้างอิงจากการใช้ข้อมูลในที่นี้ คุณไม่ควรใช้แนวคิด กลยุทธ์ หรือการดำเนินการลงทุนหรือการเทรดใดๆ โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ส่วนบุคคลและสถานการณ์ทางการเงินของแต่ละบุคคล และ/หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน

ขอขอบคุณข้อมูล: https://www.bitget.com/en/academy/article-details/Bitget-Annual-Briefing-2022-23-Part-3ผู้แปล: Bitget Thailand Team

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

wissarut

ข่าวต่อไป

FOLLOW ME

Blockchain Life 2024

Crypto Coffee

Cryptomind Research Talk

CryptOmakase

ข่าวต่อไป