Ethereum เกิดขึ้นได้ยังไง?
Ethereum (ETH) สร้างขึ้นในช่วงปลายปี 2013 โดยโปรแกรมเมอร์ชาวรัสเซียที่ชื่อ “Vitalik Buterin” หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิตยาสารเกี่ยวกับ Bitcoin (ชื่อว่า Bitcoin Magazine) หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2014 Ethereum ก็ทำการเปิดระดมทุนผ่าน ICO (Initial Coin Offering) ได้ไปประมาณ 12 ล้านเหรียญ ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีจากคนที่อยู่ในวงการ
Cryptocurrency โดยมีการออกเอกสาร Whitepaper ที่อธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานทั้งหมดของ Ethereum และเริ่มเปิดตัวบล็อกเชนอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กรกฎาคม ปี 2015 แต่กระแสนิยมของ Ethereum จริง ๆ นั้นเกิดขึ้นหลักจากการระดมทุนอีกครั้ง ในปี 2017 ที่มีการเขียน “Smart Contract” สัญญาในการระดมทุนขึ้นมา หลักการทำงาน คือ เมื่อโอนเงินเข้าตามจำนวนที่กำหนดไว้ผู้ลงทุนจะได้รับเหรียญกลับมา และนั่นทำคนมองเห็นถึงการทำงานของ Ethereum ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ ซึ่งรอบนี้ทำให้ระดมทุนได้เงินไปมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์
จุดเด่นของ Ethereum ที่พลิกโฉมวงการ Blockchain
Ethereum นั้นถูกสร้างมาให้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open-source) ที่ทำนักพัฒนาสามารถนำโค้กที่มีอยู่แล้วไปเขียนโปรแกรมต่อลงในบล็อกเชนได้โดยการใช้ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ที่สามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์การใช้งานในด้านอื่น ๆ ได้ หลังจากนั้นนักพัฒนาจากทั่วโลกได้จึงเริ่มสร้างแอปพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์ (DApps) ขึ้นบนระบบ Ethereum Blockchain ออกมาใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพลตฟอร์มในด้านการเงิน หรือที่เราเรียกกันว่า DeFi (Decentralized Finance) ระบบการเงินที่ไร้ตัวกลาง ยกตัวอย่างเช่น Uniswap, Sushiswap, Makerdao, และ Compound เป็นต้น จนทำให้ Ethereum ถูกขนานนามให้เป็น “Internet of value”
ทุกอย่างบน Ethereum นั้นใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกที่ทำงานอยู่บนบล็อกเชน หรือ“Node” คอยทำหน้าที่ในการยืนยัน และตรวจสอบธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบ Proof of Work แทนการใช้ Server กลางหรือพึ่งพาบริษัทใดบริษัทนึงให้เป็นผู้ตรวจสอบดูแล และทุกครั้งที่ประมวลผลระบบจะมีการบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นไว้บนบล็อคเชนทั้งหมด เครือข่ายโหนดที่ทำหน้าที่ยืนยันธุรกรรมก็จะได้รับค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า “Gas Fee” เป็นผลตอบแทน
การประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจ
ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายๆอุตสาหกรรม รวมถึงกลุ่มบริษัท Start-up หลาย ๆ บริษัท ได้ใช้งานบนระบบ Ethereum โดยประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับบริษัท และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ ซึ่งมีกลุ่มองค์กรที่รวมตัวกันขึ้นมาพัฒนาการใช้งานบน Ethereum ที่เด่น ๆ ก็คือ Enterprise Ethereum Alliance (EEA) สมาคมที่ก่อตั้งโดยบริษัทใหญ่ๆ หลายๆ บริษัท ที่ต้องการปรับใช้เทคโนโลยี Blockchain ในตลาดระดับโลก ไปจนถึงบริษัทด้านการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง Mastercard ก็ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของ EEA เช่นกัน
มูลค่าตลาด ณ ปัจจุบันของ ETH อยู่ที่ $204,568,490,551 หรือประมาณ 7.2 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 2 ของเวป Coingecko รองจาก Bitcoin และมี Supply หมุนเวียนอยู่ที่ 120,027,173 ETH
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับ ฮันมะ ยูจิโร่ Lady Crypto สำหรับเนื้อหาครับ