คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป แนะนำให้ทบทวนแนวทางการกำกับดูแล DeFi

นักวิเคราะห์จากคณะกรรมาธิการยุโรป ได้แสดงถึงความเข้าใจว่าการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) ทำงานอย่างไร โดยกำหนดให้ระบบนี้แตกต่างจากระบบการเงินแบบดั้งเดิม และยอมรับว่าจะต้องมีการคิดทบทวนแนวทางการควบคุมใหม่

 ในวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม ที่ปรึกษาการลงทุนด้านคริปโตที่ Presight Capital และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎระเบียบของยุโรป Patrick Hansen ได้แบ่งปันรายละเอียดที่สำคัญบางส่วนจาก “European Financial Stability and Integration Review 2022” ของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป โดยมี 12 หน้าที่เกี่ยวข้องกับ DeFi

รายงานระบุว่า DeFi เป็น “รูปแบบใหม่ของตัวกลางทางการเงินอิสระในสภาพแวดล้อมดิจิทัลแบบกระจายอำนาจ ซึ่งขับเคลื่อนโดย […] “smart contracts” บนบล็อกเชนสาธารณะ และระบุว่า smart contracts นั้นเป็น “สิ่งที่เข้ามาทดแทนคนกลางที่ได้รับการควบคุม” และยังได้แนะนำความพยายามด้านกฎระเบียบเพื่อมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารกับทีม DeFi เฉพาะที่สร้าง contracts เหล่านี้

รายงานเน้นย้ำถึงความแตกต่างระหว่าง tDeFi และระบบการเงินแบบดั้งเดิม โดยตระหนักถึงข้อดีหลักของระบบเดิม:

“เมื่อเทียบกับระบบการเงินแบบดั้งเดิมนั้น DeFi อ้างว่ามีการเพิ่มความปลอดภัย , ประสิทธิภาพ , ความโปร่งใส , การเข้าถึง , การเปิดกว้าง , และความสามารถในการทำงานร่วมกันของบริการทางการเงิน”

เหนือสิ่งอื่นใด รายงานดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงศักยภาพของต้นทุนการตรวจสอบทางการเงินที่ลดลงของ DeFi และโอกาสที่สำคัญสำหรับการบูรณาการทางการเงินข้ามพรมแดน  นอกจากนี้ยังสนับสนุนแนวทางที่สมเหตุสมผลในการควบคุม

“อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าการนำแนวทางการกำกับดูแลแบบดั้งเดิมมาใช้ในสภาพแวดล้อมแบบกระจายอำนาจอาจไม่ใช่ทางเลือก เนื่องจากพวกเขามุ่งเน้นไปที่ตัวกลางที่มีบทบาทสำคัญในระบบการเงิน  ดังนั้นการปรับกรอบการกำกับดูแลให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบกระจายอำนาจอาจเป็นสิ่งที่ท้าทายและจะต้องคิดใหม่ว่าเราจัดการกับกฎระเบียบอย่างไร”

อ้างอิง : LINK
ภาพ LINK

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป

FOLLOW ME

Blockchain Life 2024

Crypto Coffee

Cryptomind Research Talk

CryptOmakase

ข่าวต่อไป