SOS Token ของ OpenDAO กับเป้าหมายที่ยังไม่ชัดเจน และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจาก “Rug Pool”

ในวันคริสต์มาส ชุมชน NFT ตื่นขึ้นมาพร้อมกับของขวัญ Airdrops ที่น่าประทับใจอย่าง “โทเค็น SOS” ซึ่งเป็นโทเค็นการกำกับดูแลของโครงการ OpenDAO ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายไปที่ฐานผู้ใช้ของ OpenSea 

ตามแดชบอร์ดของ Dune Analytics พบว่า จนถึงตอนนี้ มีเกือบ 275,000 ที่อยู่ที่ได้เคลม airdrop ไปแล้ว โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 125 ดอลลาร์ในราคาปัจจุบัน  แต่ก็มีนักสะสม NFT หลายคนที่เคลมได้มากกว่านั้น และยังไม่มีการเปิดเผยวิธีการคำนวณที่แน่นอนซึ่ในจำนวนเงินที่สามารถเคลมได้

แต่แม้ว่าโครงการนี้จะเริ่มต้นอย่างร้อนแรง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เตือนว่าเรื่องช่องโหว่และแผน road map ที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจน

โดยที่ไม่นานหลังจากโครงการเปิดตัว นักพัฒนา Ethereum หลายคนได้ยกธงสีแดงขึ้น เพื่อเตือนเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นใน code ของโครงการ รวมถึงความเสี่ยงของการ “rug” จากผู้ร่วมก่อตั้ง

เนื่องจาก 50% ของโทเค็นอยู่ในมือของที่อยู่เพียงสามแห่งที่ควบคุมโดยทีมงานหลัก  โดยโทเค็นเหล่านี้สงวนไว้ใช้สำหรับรางวัลการ staking , เป็นสิ่งจูงใจในการทำ liquidity mining และคลัง DAO แต่ก็ยังไม่มีการรับประกันความปลอดภัยบนเครือข่าย เช่น การล็อกเวลา , กำหนดการปล่อยโทเค็น , หรือการทำ multisignature wallet หรือ multisig

ตามสมมุติฐานแล้ว ทีมงานมีความสามารถที่จะนำโทเค็นเหล่านี้ไปเททิ้งในเว็บเทรดแบบ centralized และ decentralized ได้ตลอดเวลา และทำเงินได้หลายล้าน และทำให้มูลค่าของโทเค็นกลายเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของการหลอกลวงที่มักเรียกกันว่า “rug pulls”

แต่ในการให้สัมภาษณ์กับ CoinDesk ผู้สนับสนุนหลักของ OpenDAO กล่าวว่า กำลังมีกระบวนการเสนอในช่อง Discord ของโปรเจ็กต์ เพื่อเลือกผู้ลงนาม multisig 7 ราย ซึ่งหมายความว่าการทำธุรกรรมต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ 4 ใน 7 เพื่อกระทำการกับกระเป๋า

นอกจากนี้ ในการให้สัมภาษณ์กับ CoinDesk ผู้ร่วมก่อตั้ง Quadrata Network Fabrice Cheng กล่าวว่า สถาปัตยกรรมการกระจายแบบ airdrop สามารถช่วยให้ทีมหลักสามารถ เคลมโทเค็นได้อย่างเงียบ ๆ และช้า ๆ ซึ่งปกติแล้วจะสงวนไว้สำหรับชุมชน [OpenDAO]

เนื่องจากการคำนวณรางวัลไม่ได้ถูกเปิดเผย การตรวจสอบว่าฟังก์ชันการเคลมถูกใช้ไปในทางที่ผิดหรือไม่นั้นจึงเป็นเรื่องยาก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น  ขณะที่ทีมงานหลักส่วนใหญ่ไม่มีการระบุตัวตน

DAO จะปิดระยะเวลาการแลกรับ airdrop ในเดือนมิถุนายน และโทเค็นที่ไม่มีการเคลมจะถูกโอนไปยังคลังของ DAO และในขณะนี้ชุมชนกำลังทำงานเพื่อตัดสินใจว่าจะใช้โทเค็น SOS อย่างไรบ้าง

บางคนในโซเชียลมีเดียคาดการณ์ว่า OpenDAO อาจใช้เงินทุนเพื่อพยายามสร้างตลาดทางเลือกที่กระจายอำนาจมากกว่า OpenSea

“มีความคิดที่ยอดเยี่ยมมากมาย แต่เรากำลังทำให้ทุกอย่างสงบเรียบร้อยก่อนการเลือกผู้ลงนามใน multisignature wallet ของเรา” ผู้ร่วมให้ข้อมูลคนหนึ่งกล่าวในการให้สัมภาษณ์

DAO ได้จัดให้มีการโหวตสองครั้งสำหรับผู้ถือโทเค็น ซึ่งรวมถึงหนึ่งครั้งเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมการ staking ที่จะสร้างรางวัลในระยะเวลาหนึ่งปี และอีกครั้งสำหรับโปรแกรม liquidity mining ที่จะให้รางวัลแก่ผู้ให้บริการสภาพคล่องในช่วงระยะเวลาสองปี

สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือทางการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) ยอดนิยม ที่ใช้เพื่อสร้างความต้องการของโทเค็น แต่มักจะมีเป็นส่วนประกอบในกรอบงานของ token-economic  ที่ใหญ่กว่า

แต่แม้จะยังมียูทิลิตี้ที่จำกัด แต่ผู้สนับสนุนหลักก็ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาธุรกิจ  โดยในช่อง Discord ของโปรเจ็กต์ ผู้มีส่วนร่วมได้ประกาศกระแสความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับกระเป๋าเงินและตลาดต่าง ๆ

การสร้างชุมชน

ผู้สังเกตการณ์หลายคนรู้สึกประหลาดใจที่โครงการสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ทั้งที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและยังขาดทั้งผลิตภัณฑ์รวมถึงวิสัยทัศน์ของโครงการ

ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าวิธีการแจกจ่ายโทเค็นแบบ airdrops นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสูตรแห่งความสำเร็จ “SOS เป็นตัวอย่างที่ดีของการที่โทเค็นกลายเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการประสานงานของชุมชน แม้ว่าจะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ก็ตาม” นักสะสม NFT และผู้ร่วมก่อตั้ง Ex Populus Soban “Soby” Saqib กล่าว “โทเค็นและ NFT ช่วยให้เราเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ใน Web 3”

แนวโน้มในอนาคต

นักเทรด บุคคลสำคัญ และผู้ก่อตั้งที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่ง ได้รวมอยู่ในรายชื่อผู้ถือรายใหญ่ของ SOS รวมถึง Stani Kulechov ผู้ร่วมก่อตั้ง Aave และ Pranksy นักลงทุนรายใหญ่ของ NFT

“เมื่อสินทรัพย์เข้าสู่จิตสำนึกของผู้เล่นหลายคน มันก็ง่ายที่จะทำให้พวกเค้าทุกคนคิดถึงสินทรัพย์นี้อีกครั้ง แต่การได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผลิตภัณฑ์และไม่มีผู้ใช้นั้นยากกว่ามาก” Jordan “Cobie” Fish นักเทรด crypto ยอดนิยม กล่าว

จากการกำกับดูแลแบบ on-chain ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้าและอาจไม่มีประสิทธิภาพในบางครั้งยังคงดำเนินต่อไป และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยยังคงเป็นภัยคุกคาม ก็คงยังไม่ชัดเจนว่า SOS จะสามารถดึงความสนใจของชุมชน crypto ที่ผันผวนอย่างเห็นได้ชัดได้นานแค่ไหน และราคาอาจสะท้อนให้เห็นในไม่ช้า

อ้างอิง : LINK

ภาพ LINK

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป

FOLLOW ME

Blockchain Life 2024

Crypto Coffee

Cryptomind Research Talk

CryptOmakase

ข่าวต่อไป