สำหรับคนที่เคยลงทุนใน หุ้น กองทุน พันธบัตร หรือแม้แต่เงินฝาก เมื่อคุณเข้ามาในโลกของ Cryptocurrency คุณคงได้ยินเกี่ยวกับ Bitcoin มาบ้างว่ามันเป็นเงินดิจิทัลที่เกิดจากความไม่พอใจต่อธนาคาร แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็มีเงินดิจิทัลที่เกิดจากธนาคารเช่นกัน นั่นก็คือเหรียญ Ripple หรือ XRP ชื่อย่อที่ทุกคนคุ้นเคยนั่นเอง
Ripple (XRP) คืออะไร?
XRP นั้นเป็นเหรียญ Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างโดย Ripple Labs ที่มี Jed McCaleb เป็นผู้ก่อตั้ง (และเขายังเป็น ผู้ก่อตั้ง ของเหรียญ Stellar เช่นกัน) จุดประสงค์ของ XRP คือเป็นสื่อกลางในการทำ Settlement ระหว่างธนาคาร เช่นหากธนาคารใดที่จะทำการ Settlement ในสกุลเงินที่ต่างกัน ด้วยระบบเดิม
ความเข้าใจผิดระหว่าง XRP กับ Ripple
หนึ่งในสิ่งที่นักลงทุนมักเกิดความเข้าใจผิดคือเมื่อเวลามีข่าวว่าธนาคารเช่น SCB ใช้ Ripple แล้วคือการใช้งานเหรียญ XRP ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันกับตัวเหรียญเลย บริษัท Ripple ที่ออกข่าวนั้นหมายถึงธนาคารได้ใช้ xCurrent ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของ Ripple ที่เป็น InterLedger ในขณะที่เหรียญ XRP นั้นคือ Xrapid
XRP ถูกใช้ที่ไหนบ้าง?
ในปี 2019 ทาง Ripple ได้ประกาศว่าจะมีธนาคาร 5 แห่งที่เข้าร่วมโครงการอันได้แก่ JNFX, SendFriend, Transpaygo, FTCS และ Euro Exim Bank แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข่าวการใช้งานอย่างเป็นทางการที่บอกถึงการใช้งานออกมา การใช้งานที่ชัดเจนนั้นคือผู้ให้บริการด้านการเงินจาก MoneyGram ซึ่ง Ripple ได้ทำการซื้อหุ้นไว้ ที่มีรายงานถึงการใช้งานจริงๆออกมา นอกจากนี้ยังมีข่าวการเข้าร่วมของผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆอย่าง Mercury FX
Private Blockchain
ระบบของเหรียญ XRP ถือเป็นระบบที่ค่อนข้างมีความเป็น Centralized และเป็น Private Blockchain เพราะไม่มีการเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาขุดหรือร่วมกันเป็นผู้ยืนยันการทำธุรกรรมได้ ผู้ที่สามารถยืนยันธุรกรรมของระบบได้มีเพียงธนาคารหรือหน่วยงานจำนวนหนึ่งที่จำกัดไว้เท่านั้น และนั้นหมายความว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจในการปิดบัญชีหรือผลิตเงินเพิ่มตามใจชอบได้ ในเดือนพฤษภาคมปี 2015 มีข่าวที่รายงานว่า Jed McCaleb ผู้ร่วมก่อตั้งของ Ripple ถูกอายัดบัญชีที่มีมูลค่า 96 ล้าน XRP ซึ่งทำให้เห็นว่าเครือข่ายของ XRP นั้นมีอำนาจที่จะสั่งอายัดบัญชีได้ และทำให้เกิดการฟ้องร้องตามมา แนวคิดการโอนเงินของ Ripple นั้นจะแตกต่างจากระบบของเงินดิจิทัลสกุลเงินอื่นๆ โดยเมื่อเกิดการโอน Ripple จะมีเหรียญ XRP จำนวนหนึ่งถูกเบิร์นไปในกระบวนการโอนเป็นค่าธรรมเนียม
บริษัท Fintech ที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับ 2 ในสหรัฐ
อย่างไรก็ตามถ้าคุณเป็นคนที่เชื่อถือในอนาคตของธนาคาร XRP น่าสนใจมาก เพราะไม่นานมานี้ Ripple ได้กลายเป็นบริษัท Fintech ที่ใหญ่เป็นลำดับสองในอเมริกา เราจะเห็นการที่ Ripple ได้เป็นพาร์ทเนอร์ให้กับบริษัทต่างๆมากมาย (แม้จะยังไม่ใช้เหรียญ XRP) รวมถึงลงทุนใน Startup ต่างๆ ถ้าคุณเป็นผู้ที่เห็นถึงอนาคตของธนาคาร XRP ก็ดูน่าสนใจเพราะในวงการธนาคารมันเป็นตัวเต็งอันดับ 1 เลยทีเดียว
ผู้ถือเหรียญรายใหญ่ของ XRP
โดย XRP นั้นมีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 1 หมื่นล้าน XRP โดยที่เหรียญจะถูกสร้างออกมากในทันทีต่างจาก Bitcoin ปัจจุบันมีเหรียญที่หมุนเวียนในตลาดประมาณ 44 พันล้าน XRP โดยที่เหลือนั้นเป็นเหรียญที่ถูกใช้วำหรับการทำ Escrow ตามแนวคิดของ Ripple เหรียญ XRP ที่ถูกสร้างขึ้นมาคือการที่เหรียญนั้นจะถูกสถาบันทางการเงินนำไปใช้ทำให้เกิด Demand ในตลาดและทุกๆครั้งที่เกิดการทำธุรกรรมจะมี XRP ที่ถูกเบิร์นไป แต่การที่เหรียญส่วนใหญ่กระจุกตัวในลักษณะนี้ เมื่อมีสถาบันทางการเงินต้องการ XRP พวกเขาจะไปซื้อจากผู้ถือรายใหญ่อย่าง RippleLabs มากกว่าที่จะซื้อจากตลาด
สรุป
แม้จะมีข้อกังขาในด้านความเป็น Centralized แต่ประสิทธิภาพของ XRP นั้นนับว่าดีกว่า Cryptocurrency ตัวอื่นๆ เป็นไหนๆ ไม่ว่าจะความรวดเร็วหรือค่าธรรมเนียม เดือนธันวาคมปี 2017 ได้เกิดธุรกรรมเป็นปริมาณ 900 ล้าน XRP ซึ่งมีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 0.000012 XRP หรือไม่ถึง 1 สตางค์ ทำให้นวัตกรรมการโอนเงินข้ามประเทศแบบเดิมๆ ได้ถูกยกระดับขึ้นไปอีกขั้น หากเทียบกับระบบการโอนเงินข้ามประเทศแบบ Swift