Changpeng Zhao (CZ) อดีตซีอีโอของ Binance ไม่ควรได้รับอนุญาตให้ออกจากสหรัฐอเมริกา ก่อนถึงการพิจารณาคดีในเดือนกุมภาพันธ์ของเขาในข้อหาละเมิดพระราชบัญญัติความลับของธนาคาร ตามที่อัยการของรัฐบาลกลางกล่าวในคำฟ้องของศาลเมื่อวันพุธ
Zhao สารภาพและลาออกจากเว็บเทรด Binance ที่เขาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันอังคาร ควบคู่ไปกับ Binance ที่สารภาพผิดในข้อหาทางอาญาและทางแพ่งหลายประการที่เชื่อมโยงกับ “ในอดีต” ที่มีการอนุญาตให้ผู้ใช้ในสหรัฐฯเข้าใช้งานได้และผู้ใช้จากภูมิภาคที่ถูกคว่ำบาตรสามารถใช้แพลตฟอร์มโดยไม่มี KYC และการต่อต้านการฟองเงินอย่างเพียงพอ
โดย Binance ตกลงที่จะจ่ายค่าปรับ 4.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นค่าปรับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ
ในการยื่นเมื่อวันพุธ อัยการกล่าวว่า CZ ซึ่งเป็นพลเมืองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) มี “ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เพียงเล็กน้อย” และอาจไม่กลับมาหากเขาได้รับอนุญาตให้ออกไป และตั้งข้อสังเกตว่าเราไม่ได้ขอให้เขาถูกจำคุกก่อนการพิจารณาคดี เพียงแต่ว่าเขาจะต้องอยู่ในสหรัฐอเมริกาก่อนถึงการพิจารณาคดีของเขามีกำหนดในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2024 และอาจเผชิญโทษจำคุกนานกว่าหนึ่งปี
ภายใต้เงื่อนไขการปล่อยตัวในปัจจุบัน Zhao สามารถออกจากสหรัฐอเมริกาได้ โดยฝากเงิน 15 ล้านดอลลาร์ในบัญชีทรัสต์ และลงนามในพันธบัตรรับรองส่วนบุคคลมูลค่า 175 ล้านดอลลาร์ และมีผู้ค้ำประกันเพิ่มเติม
แต่อัยการกล่าวว่ามันยังไม่เพียงพอ หาก Zhao ไม่กลับมาสหรัฐอเมริกา พวกเขาจะไม่สามารถริบเงินประกันพันธบัตรมูลค่า 175 ล้านดอลลาร์ได้ เนื่องจากทรัพย์สินส่วนใหญ่ของเขาอยู่นอกประเทศ และ Zhao มีฐานะร่ำรวยมากพอที่เขาจะสามารถจ่ายเงินทุนส่วนที่เหลือได้โดยไม่มีปัญหา นอกจากนี้ สหรัฐฯยังไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อวันอังคาร ทนายความของ Zhao แย้งว่าการบังคับให้เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาก่อนถึงการพิจารณาคดีจะเป็นความยากลำบากสำหรับเขาและครอบครัว รวมถึงภรรยาและลูก ๆ ของเขาที่ไม่สามารถย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาได้ในช่วงหลายเดือนระหว่างการพิจารณาคดีในวันอังคารจนถึงการพิจารณาพิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์
ผู้พิพากษ Brian Tsuchida ถามอัยการเมื่อวันอังคารว่า “Zhao สมัครใจเดินทางมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อมอบตัวและสารภาพผิดใช่หรือไม่ ซึ่งนั่นหมายความว่าเค้าไม่มีความเสี่ยงร้ายแรงในการหลบหนี”
อ้างอิง : coindesk.com
ภาพ latribune.fr