หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องการซื้อขาย Bitcoin Futures บน Binance มาบ้าง แต่ก็งงอยู่ว่ามันคืออะไรกันแน่ วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำให้รู้จักการทำกำไรในตลาด Bitcoin รวมถึงเหรียญ Altcoins อื่นๆ ไม่ว่าราคาเหรียญจะขึ้นหรือลงก็ตาม เราก็สามารถทำกำไรได้จากตลาดนี้ได้ ผู้เขียนได้เลือกเว็บเทรด Binance ซึ่งเป็นเว็บเทรดคริปโตอันดับ 1 ของโลก เป็นตัวอย่างให้เราได้เรียนรู้ไปด้วยกัน
การซื้อขายสัญญา Futures ในตลาดคริปโตคืออะไร
ตลาดคริปโต Futures เป็นตลาดสำหรับซื้อขายสัญญาล่วงหน้าซึ่งอ้างอิงกับราคาเหรียญคริปโตในตลาด
โดยปกติสัญญา Futures จะมีอยู่ 2 ประเภท ให้ทำการซื้อขาย ได้แก่
1. สัญญาประเภท Long สัญญาที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อราคาอ้างอิงของเหรียญสูงขึ้น
แต่สัญญานี้จะมีมูลค่าลดลง หากราคาอ้างอิงของเหรียญลดลง
2. สัญญาประเภท Short สัญญาที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อราคาอ้างอิงของเหรียญลดลง
แต่สัญญานี้จะมีมูลค่าลดลง หากราคาอ้างอิงของเหรียญเพิ่มขึ้น
นั่นหมายความว่า เราสามารถทำกำไรได้แม้ราคาเหรียญคริปโตในตลาดตกลงก็ตาม ด้วยการซื้อสัญญาประเภท Short แต่หากเราคาดการณ์ผิดทาง ราคาเหรียญวิ่งสวนทางกับประเภทสัญญา Futures ที่เราซื้อ เราก็มีโอกาสขาดทุนได้มหาศาลเช่นกัน ดังนั้นตลาดคริปโต Futures จึงเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูงมาก นอกจากนี้เรายังสามารถปรับค่า leverage ของสัญญาได้ เพื่อเร่งอัตราคูณของจำนวนสัญญาสำหรับการทำกำไร(หรือขาดทุน)ในสัญญาที่ทำการซื้อขาย นักเทรดมือใหม่ควรพิจารณาจำนวน leverage ที่ใช้อย่างระมัดระวัง
ใน Binance Futures เราสามารถปรับค่า Leverage ของสัญญาได้สูงสุดถึง 125X นั่นหมายความว่าเราสามารถใช้เงิน $10 ซื้อขายสัญญา Futures จำนวนสูงสุดได้ถึง $10 x 125 = $1,250 เลยทีเดียว แต่โดยปกติจะไม่ค่อยมีใครซื้อขายสัญญาที่ค่า Leverage สูงขนาดนี้ เพราะถ้าราคาเหรียญวิ่งสวนทางกับสัญญาที่เราซื้อขายมา มีโอกาสสูงมากที่สัญญาของเราจะถูกระบบทำการ liquidation (บังคับปิดสัญญาแบบขาดทุน) ได้ง่ายกว่าค่า Leverage ที่ต่ำกว่า โดยปกตินักเทรดส่วนมากจะเซ็ตค่า Leverage นี้อยู่ประมาณ 4x – 20x (โปรดจำไว้ ยิ่งสูงยิ่งหนาว ^^”)
วิธีการเปิดบัญชี Binance Futures
1. ก่อนที่เราจะเปิดบัญชีบน Binance Futures ได้ เราต้องมีบัญชีบน Binance ปกติเสียก่อน หากเรายังไม่มี เราสามารถคลิกไปที่ Binance.com เพื่อสมัครได้เลย จากนั้นทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
- ป้อนที่อยู่อีเมลของคุณและสร้างรหัสผ่าน หากคุณมี ID referral ให้วางในช่อง ID referral หรือใช้ ID referral ของผู้เขียนได้คือ “10085053”
- จากนั้นคลิกที่ Create account
- จากนั้นจะมีอีเมลยืนยันเข้ามา ให้เราทำตามคำแนะนำในอีเมลเพื่อทำการลงทะเบียนให้เสร็จสมบูรณ์
2. จากนั้นเข้าสู่บัญชี Binance ที่สมัคร และเลื่อนเมาส์ไปที่แถบด้านบนของเว็บที่คำว่า Futures และคลิกเข้าไป คุณจะมาอยู่ในหน้า Binance Futures คุณจะเห็นตัวอักษรสองตัวแรกที่เป็นชื่ออีเมลที่เชื่อมโยงกับบัญชีของคุณที่มุมขวาบน
3. จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Open now ที่มุมขวาล่างเพื่อเปิดใช้งานบัญชี Binance Futures ของคุณ
พิเศษ : กรอกโค้ด 37645135 ตอนเริ่มเทรดตลาด Future ครั้งแรกบน Binance รับส่วนลดค่าธรรมเนียมเงินคืน 10% บนตลาด Future ฟรี
4. หากคุณไม่คุ้นเคยกับการซื้อขาย Futures ลองอ่านบทความ What Are Forward and Futures Contracts? และ What Are Perpetual Futures Contracts? ดูก่อน รวมถึง หากคุณต้องการที่จะทดสอบการใช้งานแพลตฟอร์มโดยไม่อยากเสียเงินจริงๆ คุณสามารถลองใช้ Binance Futures เพื่อทดลองได้
วิธีฝากเงินเข้าบัญชี Binance Futures ของคุณ
คุณสามารถโอนเงินไปมาได้ระหว่างกระเป๋าเงินของคุณใน Binance และกระเป๋าเงิน Futures (กระเป๋าเงินที่คุณใช้ใน Binance Futures) โดยหากต้องการโอนเงินไปยังกระเป๋าเงิน Futures ให้คุณคลิกที่ Transfer ที่อยู่ตรงมุมล่างขวาของหน้า Binance Futures จากนั้นกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องการโอนและคลิกที่ Confirm transfer คุณจะเห็นยอดเงินที่เพิ่มขึ้นในกระเป๋าเงิน Futures ของคุณ
หน้าอินเทอร์เฟซของ Binance Futures
หมายเลข 1 คุณสามารถเลือก contract ที่คุณต้องการซื้อขาย , ปรับค่า leverage (ค่าเริ่มต้นคือ 20x) , สลับไปมาระหว่าง cross margin และ isolated margin , เช็คราคา Mark Price (เป็นค่าที่คุณต้องให้ความสำคัญ เนื่องจาก liquidations จะเกิดขึ้นตามราคา Mark Price) , ตรวจสอบอัตรา funding rate ที่คาดหวัง , ตรวจสอบ position ของคุณใน auto-deleverage queue (เป็นค่าที่สำคัญในช่วงที่มีความผันผวนสูง) และตรวจสอบข้อมูลอื่น ๆ เช่นราคาที่เปลี่ยนแปลงใน 24 ชั่วโมง และปริมาณการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง
หมายเลข 2 นี่คือ chart ของคุณ ที่มุมด้านขวาบนของพื้นที่นี้คุณสามารถสลับไปมาระหว่างแบบ Original กับ chart ของ TradingView หรือดู depth ของ order book แบบเรียลไทม์
หมายเลข 3 ตรงส่วนนี้คุณสามารถติดตามกิจกรรมการซื้อขายของคุณได้ สามารถสลับไปมาระหว่างแท็บต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบสถานะ positions ปัจจุบันของคุณ , ยอดเงิน margin ของคุณ , ดูคำสั่งซื้อที่เปิดอยู่ และดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ของคุณ , ดูประวัติการซื้อขายและธุรกรรมเต็มรูปแบบในช่วงเวลาที่กำหนด
หมายเลข 4 ที่นี่คุณสามารถป้อนคำสั่งซื้อของคุณ และสลับไปมาระหว่างประเภทคำสั่งซื้อที่แตกต่างกัน รวมถึงตรงนี้เป็นที่ที่คุณสามารถตรวจสอบระดับค่าธรรมเนียมและโอนเงินจากบัญชี Binance ของคุณ
หมายเลข 5 นี่คือที่ที่คุณสามารถดูข้อมูล order book รวมถึง order depth ต่าง ๆ ได้
หมายเลข 6 ที่นี่คุณสามารถดู live feed ของ trade history บน Binance Futures ได้
หมายเลข 7 คุณสามารถดู FAQ หรือคำถามที่พบบ่อยของการซื้อขายฟิวเจอร์ส ตรวจสอบ funding rates ในอดีตและยอดเงินปัจจุบันของกองทุน Insurance Fund และหากคุณต้องการออกจาก Binance Futures คุณสามารถทำได้จากที่นี่
การปรับค่า leverage ของสัญญา Futures
Binance Futures อนุญาตให้คุณซื้อขาย contracts ได้หลาย contracts และปรับระดับ leverage สำหรับแต่ละสัญญาได้ด้วยตนเอง โดยในการเลือก contract ให้ไปที่ด้านบนและวางเมาส์เหนือ contracts ในปัจจุบัน (ค่าเริ่มต้นคือ BTC/USDT)
โดยหากต้องการปรับระดับ leverage ให้คลิกลากโดยการเลื่อนไปมาซ้ายขวา เพื่อให้ได้ค่า leverage ที่คุณต้องการ จากนั้นคลิกที่ Confirm
ยิ่ง position ของคุณมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ จำนวน leverage ก็จะน้อย กลับกัน ยิ่ง position คุณเล็กมากเท่าไหร่ คุณจะปรับจำนวน leverage ได้มากขึ้นเท่านั้น
แต่โปรดทราบว่า การใช้ leverage ที่สูงนั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการถูก liquidation (บังคับปิดสัญญาแบบขาดทุน) นักเทรดมือใหม่ควรพิจารณาจำนวน leverage ที่ใช้อย่างระมัดระวัง
ยกตัวอย่าง : หากคุณมีเงิน 100 USDT แล้วคุณต้องการซื้อขายสัญญา Futures ที่ leverage 10x คุณจะสามารถซื้อขายสัญญาขนาด 1,000 USDT ได้ (มาจาก 100 USDT x 10) สิ่งที่เกิดขึ้นคือหากราคาเหรียญในสัญญาขยับขึ้นหรือลงเพียง $1 จะเสมือนว่าราคาเหรียญในสัญญานั้นขยับขึ้นหรือลง $10 เลยทีเดียว (มาจาก $1 x 10) แน่นอนว่าหากเราเลือก leverage 20x , 50x หรือ 100x ก็เทียบใช้สูตรเดียวกันนี้ในการคำนวณ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมค่า leverage ยิ่งมากความเสี่ยงจึงสูงตาม
การตั้งราคา Trigger ประเภท Mark Price และ Last Price สำหรับ Stop order ต่างๆ
เพื่อหลีกเลี่ยง liquidation (การบังคับปิดสัญญาซื้อขาย) ที่ไม่จำเป็นในช่วงที่ราคามีความผันผวนสูง Binance Futures จะมีตัวเลือกให้เราตั้งค่า Last Price และ Mark Price
Last Price ก็คือราคาสุดท้ายที่มีการซื้อขาย contract กล่าวอีกนัยหนึ่ง last trade ใน trading history จะเป็นตัวกำหนดราคาสุดท้าย โดยใช้การคำนวณ PnL (Profit and Loss)
Mark Price ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการควบคุมราคาของเจ้าในตลาดใดตลาดหนึ่ง คำนวณโดยใช้การรวมกันของ funding data และ basket of price data จากหลายๆกระดานซื้อขายคริปโต ซึ่งราคาที่คุณจะถูก liquidation (บังคับปิดสัญญา) และ unrealized PnL จะคำนวณตามราคา Mark Price นี้
โปรดทราบว่าราคา Mark Price และ Last Price อาจแตกต่างกัน เมื่อคุณตั้งค่า stop order เป็นทริกเกอร์ ณ ราคาใด คุณจะสามารถเลือกราคาที่คุณต้องการใช้เป็นทริกเกอร์ได้ระหว่าง Last Price หรือ Mark Price ซึ่งในที่นี้หากเราอยากป้องกันการทุบหรือปั่นราคาของเจ้าในตลาด ให้เลือก Mark Price เพื่อใช้ในการตั้งค่า Stop order ได้
มี order types ประเภทใดบ้างและจะใช้เมื่อใด
Limit : limit order คือคำสั่งซื้อที่คุณวางไว้ใน order book ที่มี limit price ที่คุณกำหนด เมื่อคุณวาง limit order การซื้อขายจะดำเนินการก็ต่อเมื่อ market price มีราคาถึง limit price ของคุณ (หรือดีกว่า) ดังนั้นคุณอาจใช้ limit orders เพื่อซื้อในราคาที่ต่ำกว่าหรือขายในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
Market : market order เป็นคำสั่งซื้อหรือขายในราคาปัจจุบันที่ดีที่สุด จะดำเนินการตาม limit orders ที่วางไว้ก่อนหน้านี้ใน order book เมื่อคุณใช้ market order คุณจะเสียค่าธรรมเนียมในฐานะ market taker
Stop-Limit : วิธีที่ง่ายที่สุดในการเข้าใจ คือ Stop order ประเภท Limit โดยแบ่งออกเป็น stop price และ limit price ซึ่ง stop price เป็นราคาที่ทำให้เกิด limit order และ limit price คือราคาของ limit order ที่ถูกเรียก ซึ่งหมายความว่าเมื่อถึงราคา stop price ของคุณแล้ว limit order ของคุณจะถูกวางลงใน order book ทันที
* คุณสามารถใช้ Trigger ราคาของ Stop order เป็น Mark Price และ Last Price ได้
แม้ว่า stop และ limit prices จะมีความเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงมันจะปลอดภัยกว่าหากคุณตั้ง stop price (trigger price) สูงกว่า limit price เล็กน้อยสำหรับ sell orders หรือต่ำกว่า limit price เล็กน้อยสำหรับ buy orders โดยสิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสที่ limit order ของคุณจะถูก fill หลังจากถึง stop price
Stop-Market: เช่นเดียวกับคำสั่ง stop-limit คำสั่ง stop-market ใช้ stop price เป็นทริกเกอร์ อย่างไรก็ตามเมื่อถึง stop price มันจะส่งผลให้เกิดคำสั่งซื้อของ market order ทันที
* คุณสามารถใช้ Trigger ราคาของ Stop order เป็น Mark Price และ Last Price ได้
วิธีการใช้ Binance Futures calculator
คุณสามารถค้นหา calculator ได้โดยจะอยู่ข้างๆ ปุ่ม Transfer ในส่วนมุมขวาล่าง โดยมันจะช่วยให้คุณสามารถคำนวณค่าก่อนที่จะ long หรือ short position คุณสามารถปรับเลื่อน leverage ในแต่ละแท็บเพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการคำนวณสัญญาของคุณ
Calculator จะมีทั้งหมด 3 แท็บได้แก่
PNL – ใช้เพื่อคำนวณ Initial Margin , Profit and Loss (PnL) , และ Return on Equity (ROE) ของคุณขึ้นอยู่กับการเข้าและออกราคาและ position size
Target Price – ใช้เพื่อคำนวณราคาที่คุณจะออกจาก position ของคุณเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการ
Liquidation Price – ใช้แท็บนี้เพื่อคำนวณราคา liquidation โดยประมาณของคุณตามยอดเงินในกระเป๋าของคุณ , ราคา entry price และ position size
Post-Only, Time in Force(TIF) และ Reduce-Only คืออะไร?
เมื่อคุณใช้คำสั่งซื้อขายประเภท limit orders คุณสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมพร้อมกับคำสั่งซื้อขายของคุณ โดยใน Binance Futures การเลือก Post-Only หรือ Time in Force (TIF) และจะกำหนดลักษณะเพิ่มเติมของ limit orders ของคุณ
Post-Only หมายความว่าคำสั่งซื้อของคุณจะถูกเพิ่มลงใน order book ก่อนเสมอ และจะไม่ดำเนินการกับ existing order ที่มีอยู่ใน order book สิ่งนี้มีประโยชน์หากคุณต้องการชำระค่าธรรมเนียม maker fees เท่านั้น คุณสามารถตรวจสอบระดับค่าธรรมเนียมปัจจุบันของคุณได้โดยเลื่อนเมาส์ไปที่เครื่องหมาย $ ถัดจากปุ่ม Transfer
TIF instructions ช่วยให้คุณระบุระยะเวลาที่คำสั่งซื้อของคุณจะยังคงใช้งานได้ ก่อนที่จะ executed หรือหมดอายุ โดยคุณสามารถเลือกหนึ่งในตัวเลือกเหล่านี้
GTC (Good Till Cancel) : คำสั่งซื้อจะยังคงใช้งานได้จนกว่าจะ fill order จนเต็มหรือกดยกเลิก
IOC (Immediate Or Cancel) : คำสั่งซื้อจะดำเนินการทันที (ทั้งแบบเต็มหรือบางส่วน) โดยหาก executed ไปเพียงบางส่วน ส่วนที่ไม่สำเร็จของคำสั่งซื้อจะถูกยกเลิก
FOK (Fill or Kill) : คำสั่งซื้อจะต้อง fill ทั้งหมด ถ้าไม่ มันจะไม่ executed ใด ๆ เลย
นอกจากนี้เมื่อคุณใช้ limit หรือ market order, โปรดติ๊กที่ช่อง Reduce-Only เพื่อมั่นใจได้ว่าคำสั่งซื้อใหม่ที่คุณตั้งไว้จะลดลงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และไม่ open positions เพิ่มเติม
เมื่อไหร่ที่ positions ของคุณเสี่ยงที่จะถูก liquidated (บังคับปิดสัญญา) ?
Liquidation จะเกิดขึ้นเมื่อยอดเงิน Margin Balance ของคุณต่ำกว่าค่า Maintenance Margin ที่กำหนด โดย Margin Balance ก็คือยอดคงเหลือในบัญชี Binance Futures ของคุณ รวมถึง PnL (Profit and Loss) ที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นกำไรและขาดทุนของคุณจะทำให้มูลค่าคงเหลือในบัญชีมีความเปลี่ยนแปลง
Maintenance Margin คือค่าต่ำสุดที่คุณต้องเปิด positions ไว้ แตกต่างกันไปตามขนาดของ positions ของคุณ โดย positions ที่ใหญ่ขึ้นนั้นก็ต้องการ Maintenance Margin ที่สูงขึ้นตาม
คุณสามารถค้นหาเครื่องมือที่มีประโยชน์ภายใต้แท็บ Positions ที่มุมซ้ายล่างของหน้า ซึ่งจะช่วยให้คุณติดตามความเสี่ยงในปัจจุบันของ positions ที่เปิดอยู่ของคุณได้อย่างรวดเร็ว หาก Margin Ratio ของคุณสูงถึง 100% สถานะของคุณจะถูก liquidated
เมื่อการ liquidated เกิดขึ้น open orders ทั้งหมดของคุณจะถูกยกเลิก ดังนั้นคุณควรติดตาม Positions ของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูก liquidated อัตโนมัติซึ่งคุณต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมด้วย หาก position ของคุณใกล้จะถูก liquidated เราขอแนะนำให้คุณปิด position ด้วยตนเองแทนที่จะรอให้ถูก liquidated อัตโนมัติ
สรุปข้อดี-ข้อเสีย
- สามารถทำกำไรได้ไม่ว่าเหรียญจะราคาขึ้นหรือลง (ราคาเหรียญลงให้ซื้อสัญญา Short เพื่อทำกำไร , ราคาเหรียญขึ้นให้ซื้อสัญญา Long เพื่อทำกำไร)
- ใช้ทุนน้อยทำกำไรมากได้จากค่า leverage (ยิ่งจำนวน X เยอะความเสี่ยงยิ่งมาก)
- ใช้ hedge ความเสี่ยงของราคาเหรียญที่ถือได้ เช่นถ้าเรามั่นใจว่าราคาเหรียญจะลงแน่นอน สามารถซื้อสัญญา Futures ประเภท Short ไว้ได้ เพื่อถ่วงดุลมูลค่าเหรียญที่ถืออยู่
- มีโอกาสถูก liquidated (บังคับปิดสัญญาแบบขาดทุน) เมื่อราคาเหรียญวิ่งสวนทางกับสัญญาที่เราซื้อ เช่น เมื่อเราซื้อสัญญาประเภท Short แล้วราคาเหรียญพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง
พิเศษส่วนลด 10% สำหรับผู้เริ่มเทรด Futures
กรอกโค้ด 37645135 ตอนเริ่มเทรดตลาด Future ครั้งแรกบน Binance รับส่วนลดค่าธรรมเนียมเงินคืน 10% บนตลาด Futures ฟรี