ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ผู้ที่จะประกอบธุรกิจนั้นต้องดำเนินการขอในอนุญาตกับทางสำนักงาน ก.ล.ต. ไม่ว่าจะเป็นกระดานซื้อขาย โบรกเกอร์ หรือผู้จัดการเงินทุน โดยล่าสุด มีรายงานว่ามีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ทำการขอใบอนุญาตเพิ่มอีกจำ 4 ราย ทั้งกระดานซื้อขาย โบรกเกอร์ ผู้จัดการเงินทุนและที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่
1.บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด (KTX) ได้รับใบอนุญาตนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (โบรกเกอร์)
2.บริษัท ที-บ็อกซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด (T-BOX) ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (เอ็กซ์เช้นจ์)
3.บริษัท คอยน์ดี จำกัด (Coindee)ได้รับ 2 ใบอนุญาต คือ ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล
4.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนลีฟ แคปปิตอล จำกัด (LEIF CAPITAL ASSET MANAGEMENT) ได้รับใบอนุญาต ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล
โดยทั้งหมดนี้จะยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ เนื่องจากตามขั้นตอนแล้ว หลังจากได้รับใบอนุญาต สำนักงาน ก.ล.ต.จะเข้าตรวจสอบความพร้อมก่อนระบบงานก่อน และเมื่อระบบงานผ่านมาตรฐานแล้วถึงจะสามารถเริ่มประกอบธุรกิจได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีเพราะการที่มีผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพบ์มากขึ้นจะเกิดการแข่งขันในตลาด อนาคตธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลก็จะก้าวหน้าขึ้น
ซึ่งหากผู้ประกอบการทั้งหมดเริ่มประกอบธุรกิจ ก็จะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการใช้บริการมากขึ้น โดยหากต้องการนำเงินให้มืออาชีพบริหารจัดการผ่าน “ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” จะมีตัวเลือกเพิ่มมาอีก 2 แห่ง ก็คือบริษัท คอยน์ดี จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนลีฟ แคปปิตอล จำกัด จากเดิมที่มีรายเดียวคือ บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด (Merkle Capital)
สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือที่เรียกว่ากระดานซื้อขายนั้น ตอนนี้มีผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) มีทั้งหมด 9 บริษัท (บางเจ้ายังไม่เปิดให้ซื้อขายคริปโต มีเพียงโทเคนเท่านั้น) ได้แก่ 1.บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด 2.บริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 3.บริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด 4.บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด 5.บริษัท อัพบิต เอ็กซ์เชนจ์ (ประเทศไทย) จำกัด 6.บริษัท จีเอ็มโอ-แซด.คอม คริปโทนอมิคซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 7.บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด 8.บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด และ 9.บริษัท ที-บ็อกซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด
และสำหรับตัวเลือกด้านโบรกเกอร์ นักลงทุนจะมีตัวเลือกจากผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ที่มีทั้งหมด 9 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท คอยส์ ทีเอช จำกัด 2.บริษัท บิทาซซ่า จำกัด 3.บริษัท ซาโตชิ จำกัด 4.บริษัท อัพบิต เอ็กซ์เชนจ์ (ประเทศไทย) จำกัด 5.บริษัท จีเอ็มโอ-แซด.คอม คริปโทนอมิคซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 6.บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด 7.บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด 8.บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด และ 9.บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด
ซึ่งนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมียักษ์ใหญ่ด้านคริปโตอย่าง กัลฟ์ และไบแนนซ์ ที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตทั้งกระดานซื้อขายและโบรกเกอร์ โดยจะทำธุรกิจผ่านบริษัทร่วมทุนที่ชื่อ “บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด” โดยมี Gulf Innova และ Binance Capital Management ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 51% และ 49% ตามลำดับ