ตลาดกระทิงที่หายไป และความเป็นจริงของฤดูหนาว Crypto ที่ยาวนานนั้น ทำให้เทรดเดอร์รู้สึกแย่อย่างแน่นอน โดยราคาของ Bitcoin ( BTC ) ได้ตกลงสู่ระดับต่ำสุดอย่างที่คาดไม่ถึง และนักลงทุนบางคนสงสัยว่า BTC จะกลับมาจากการลดลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ได้อย่างไร
และด้วยราคาที่กำลังลดลงทุกวัน และคำถามที่อยู่ในใจของทุก ๆ คนก็คือ: “เมื่อใดที่ตลาดจะถึงจุดต่ำสุด และตลาดหมีจะอยู่ไปนานแค่ไหน”
แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ว่าตลาดหมีจะสิ้นสุดเมื่อใด แต่จากการศึกษาแนวโน้มขาลงก่อนหน้านี้นั้นก็ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกว่าเมื่อไหร่จะใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของภาวะนี้
เรามาลองมาดูตัวชี้วัด 5 ตัวที่นักเทรดใช้ เพื่อช่วยให้รู้ว่าฤดูหนาวของ crypto ใกล้จะสิ้นสุดลงเมื่อใดกัน
อุตสาหกรรม Crypto เริ่มฟื้นตัว
หนึ่งในสัญญาณสุดคลาสสิกที่บอกว่าฤดูหนาวของ crypto ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วก็คือการเลิกจ้างงานอย่างกว้างขวางในระบบนิเวศของ crypto เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ จะต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายเพื่อเอาตัวรอดจากยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำในอนาคต
พาดหัวข่าวตลอดปี 2018 และ 2019 เต็มไปด้วยการประกาศเลิกจ้างจากผู้เล่นในอุตสาหกรรมรายใหญ่ รวมถึงบริษัทเทคโนโลยีอย่าง ConsenSys และ Bitmain รวมถึงเว็บเทรดคริปโตอย่าง Huobi และ Coinfloor
และในปัจจุบัน การประกาศเลิกจ้างที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น การลดพนักงาน 18% ของ Coinbase และการลดพนักงาน 10% ของ Gemini เป็นเรื่องที่น่ากังวล และเนื่องจากตลาดหมีในปัจจุบันเพิ่งเริ่มต้น การเลิกจ้างจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งหมายความว่าอาจเร็วเกินไปที่จะอ้างถึงตัวชี้วัดนี้ในการเป็นข้อพิสูจน์ว่าตลาดหมีกำลังจะผ่านไป
สัญญาณที่ดีที่จะบอกเราว่าการสิ้นสุดของตลาดหมีกำลังใกล้เข้ามาก็คือ เมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มกลับมาจ้างงานอีกครั้ง และโครงการใหม่ ๆ ที่เปิดตัวพร้อมการประกาศเงินทุนที่โดดเด่น ซึ่งนี่แหละที่จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินทุนใหม่ ๆ เริ่มไหลกลับเข้าสู่ระบบนิเวศ
ดูว่า Bitcoin’s 200 week SMA กลายเป็นแนวต้านหรือแนวรับหรือไม่
ในทางเทคนิคที่เป็นการส่งสัญญาณถึงจุดสิ้นสุดของช่วงขาลงหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin คือเมื่อราคาตกลงต่ำกว่าเส้น 200-week simple moving average (SMA) แล้วจึงไต่ขึ้นเหนือระดับดังกล่าว
ดังที่แสดงในภาพด้านบน ที่เน้นด้วยลูกศรสีม่วง ซึ่งเป็นกรณีก่อนหน้านี้ที่ราคาของ BTC ลดลงต่ำกว่า 200-week SMA, ซึ่งเป็นเส้นสีน้ำเงินอ่อน
การฟื้นตัวของราคา BTC ที่แข็งแกร่งเหนือ realized price ซึ่งเป็นราคาซื้อรวมของ Bitcoin ทั้งหมด และแสดงด้วยเส้นสีเขียวในภาพด้านบน ยังสามารถใช้เป็นการยืนยันเพิ่มเติมว่าแนวโน้มของตลาดอาจเป็นบวกเช่นกัน
RSI เป็นราชาแห่งการบ่งบอกจุดต่ำสุด
ตัวชี้วัดทางเทคนิคอื่นที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเวลาที่ตลาดหมีอาจใกล้ถึงช่วงต่ำสุด คือ relative strength index (RSI)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดหมีก่อนหน้านี้ได้เห็น Bitcoin RSI ร่วงลงสู่ oversold และตกลงไปต่ำกว่า 16
จากกรณีตัวอย่างสองกรณีข้างต้นที่เน้นด้วยวงกลมสีส้ม เป็นการยืนยันว่าระดับต่ำสุดนั้นยังไม่เกิดขึ้นจนกว่า RSI จะไต่กลับมาที่ระดับ 70 อีกครั้งในอาณาเขต overbought ซึ่งเป็นสัญญาณว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นได้กลับมาสู่ตลาดอีกครั้ง
Market value to realized value
market value to realized value (MVRV) Z-score เป็นตัวชี้วัดที่ออกแบบมาเพื่อ “ระบุช่วงเวลาที่ Bitcoin มีมูลค่าสูงหรือต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับ ‘มูลค่ายุติธรรม'”
เส้นสีน้ำเงินบนภาพด้านบน แสดงถึงมูลค่าตลาดปัจจุบันของ Bitcoin ส่วนเส้นสีส้มแสดงถึงราคาที่รับรู้ และเส้นสีแดงแสดงถึง Z-score ซึ่งเป็น “การทดสอบ standard deviation ที่ดึงเอาข้อมูลระหว่างมูลค่าตลาดและมูลค่าที่รับรู้”
ตามที่เห็นในภาพ ตลาดหมีครั้งก่อนใกล้เคียงกับ Z-score ที่ต่ำกว่า 0.1 ซึ่งคือกล่องสีเขียวที่ด้านล่าง และการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่จะยังไม่ได้รับการยืนยันจนกว่าตัวชี้วัดจะปีนขึ้นไปเหนือคะแนนที่ 0.1
จากประสิทธิภาพในอดีต ตัวชี้วัดนี้สามารถชี้ให้เห็นว่าอาจมีการลดลงเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้สำหรับ Bitcoin ตามด้วยระยะเวลาที่ขยายออกไปของการเคลื่อนไหวของราคาแบบ sideways
2-year moving average multiplier
ตัวชี้วัดตัวสุดท้ายสำหรับนักลงทุน Bitcoin ที่จะรู้ว่าเมื่อไหร่ตลาดหมีจะสิ้นสุดลงก็คือ 2-year moving average multiplier โดยตัวชี้วัดนี้จะติดตาม 2-year moving average และการคูณ 5 เท่าของ 2-year moving average (MA) ด้วยราคาของ Bitcoin
เมื่อใดก็ตามที่ราคาของ BTC ลดลงต่ำกว่า 2-year MA ตลาดก็จะเข้าสู่เขตของตลาดหมี และเมื่อราคาไต่กลับเหนือเส้น 2-year MA แนวโน้มขาขึ้นจะตามมา
ในทางกลับกัน ราคาที่พุ่งขึ้นเหนือเส้น 2-year MA x5 ก็เป็นสัญญาณว่าตลาดกระทิงมาถึงจุดบนสุดและอาจเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำกำไร
เราสามารถใช้ตัวชี้วัดนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเมื่อใดจะเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการสะสม ตามที่เน้นด้วยพื้นที่สีเทา
แต่ไม่ว่าเราจะเลือกใช้ตัวชี้วัดที่บอกไว้ด้านบนอย่างไร แต่สิ่งสำคัญก็คือต้องจำไว้ว่าไม่มีตัวชี้วัดใดที่สมบูรณ์แบบ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดด้านลบมากกว่าเสมอ