ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้ บล็อกเชนแต่ละแบบนั้นต้องการที่จะสร้าง Product ใหม่ๆ รวมถึงต่อยอดเทคโนโลยีต่างๆเพื่อให้ตัวเองนั้นได้ชิงส่วนแบ่งการตลาดรวมถึงเม็ดเงินเข้ามาสู่เชนตัวเอง ซึ่งทุกวันนี้แต่ละบล็อกเชนก็ต่างมีจุดเด่นต่างๆที่ไม่เหมือนกัน เช่น Ethereum ก็จะเด่นในเรื่องความปลอดภัย Solana ก็จะเด่นเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม Terra ก็เด่นเรื่อง Product DApps ใหม่ๆที่มีจุดเด่นเฉพาะตัว Avalanche ก็เด่นในเรื่องการสร้าง Sub Layer เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งจากการที่แต่ละเชนต่างพากันหาจุดเด่นของตัวเองเพื่อนำมาแข่งกับคู่แข่งในตลาดนั้น ก็เพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถแก้ไขปัญหาที่เรียกว่า Blockchain Trilemma ได้ ซึ่งจำกัดว่าบล็อกเชนไม่สามารถมีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบในเรื่อง Security, Scalability, และ Decentralization พร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น Ethereum ที่เด่นในเรื่องความ Decentralized และ Security แต่ก็จะไม่เด่นในเรื่อง Scalability หรือจะเป็น Avalanche ที่เด่นในเรื่อง Scalability และ Security แต่ไม่เด่นในเรื่อง Decentralized เป็นต้น
ในตอนนี้แทบไม่มี Infrastructure ตัวไหนที่สามารถทำลายข้อจำกัด Blockchain Trilemma ทั้งสามข้อนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ยกเว้นแต่โปรเจคๆนึงที่กำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ นั่นก็คือ Coinweb นั่นเองครับ
Coinweb คืออะไร?
Coinweb เป็นโครงสร้างพื้นฐาน Blockchain ประเภท Layer 2 ที่ต้องการทำลายข้อจำกัดของ Blockchain Trilemma ให้ทุกเชนสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ ลดกำแพงในการเข้าถึง รวมไปถึงการนำ Platform ของ Coinweb ผนวกเข้ากับอุตสาหกรรมในภาค Real Sector อีกด้วย ซึ่งในตอนนี้ตาม Roadmap ของ Coinweb ก็ได้วางแผนที่จะไปร่วมมือกับภาคธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น E-Commerce, Supply Chain, Data Protection, Transportation, Data Integrity, Healthcare, Payment และ Sector อื่นๆอีกมากมาย
Coinweb มีแนวคิดว่า Infrastructure ของบล็อกเชนในปัจจุบันนั้น จะอยู่ในรูปแบบที่ต่างฝ่ายต่างพัฒนาเทคโนโลยีภายใน Ecosystem ของตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ไม่เกิดการ Adoption ทางเทคโนโลยีใหม่ๆในโลก Blockchain ได้ โดยปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น DApps ต่างๆที่ต้องการความปลอดภัยของ Smart Contract ในเชนตัวเองเป็นหลัก, Blockchain แต่ละแห่งใช้ภาษา Coding ที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถสื่อสารถึงกันหรือทำงานร่วมกันได้ เช่น Ethereum ใช้ภาษา Solidity, Solana ใช้ภาษา Rust, การเข้าถึงและการเก็บข้อมูลของแต่ละ Blockchain นั้นเป็นอิสระต่อกัน เป็นต้น
ในปัจจุบัน Blockchain ต่างๆนั้นใช้นวัตกรรมที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) เป็นเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลไร้จุดศูนย์กลาง และทำธุรกรรมลงบน Node ซึ่งอย่างที่บอกไปด้านบนว่าข้อมูลต่างๆเหล่านี้ พอมันลงเก็บข้อมูลไว้ในต่างเชนกัน มันก็ไม่สามารถที่จะเชื่อมต่อถึงกันได้
ทาง Coinweb เลยต้องการออกแบบนวัตกรรมการจัดเก็บข้อมูล DLT แบบใหม่ที่ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยที่เป็นจุดเด่นของแต่ละเชนที่ได้กล่าวมา ได้แก่ Interoperability & Multi-chains (การทำงานร่วมกันของแต่ละบล็อกเชน), High performance & Scalable (การรองรับธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มจำนวนได้อย่างไม่จำกัด), Cross ecosystem queries & Blockchain data index (การเรียกใช้ข้อมูลข้าม Ecosystem และการจัดทำดัชนีข้อมูลต่างๆในแต่ละ Blockchain), Crypto ecosystem & Smart contract (สร้างระบบนิเวศ Coinweb ขึ้นมาใหม่และมีการใช้ Smart Contract ร่วมกัน) และ High performance Interoperability Programmable Multi-chains (ระบบต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของ Coinweb
เพิ่มประสิทธิภาพเรื่องการ Cross-Chain : การ Cross-Chain ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับโปรเจคที่กำลังจะทำสิ่งนี้ ซึ่งทาง Coinweb ได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้การ Cross-chain มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และปลอดภัย Secure ลดความซับซ้อนของระบบหลังบ้านได้มากยิ่งขึ้น
ลดอุปสรรคในการสร้าง DApps ใหม่ๆของ Developer : ทาง Coinweb ใช้สิ่งที่เรียกว่า “WebAssembly” ซึ่งมันเป็นเหมือน Google Translate ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนภาษาที่ตัวเองถนัด เพื่อสร้าง DApps ใหม่ๆลงบน Ecosystem ของ Coinweb ได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาการเขียนใหม่ๆ เช่น นักพัฒนาที่รู้จักภาษาสุดฮิตอย่าง Javascript, C++, Python ก็สามารถเขียนภาษาเหล่านี้ลงบน WebAssembly และสร้าง DApps ใหม่ๆลงบน Coinweb ได้เลย ถือว่าสะดวกสุดๆ
สถาปัตยกรรม Autonomous Smart Contract รูปแบบใหม่ : ทาง Coinweb มีการสร้างระบบหลังบ้านเพื่อที่จะซัพพอร์ต Smart Contract ของเชนต่างๆให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายยิ่งขึ้นและโดยอัตโนมัติ
การเก็บข้อมูลระหว่างเชนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น : Coinweb มีฟังก์ชั่นที่เหมือนกับโปรเจค The Graph คือการทำ Indexing ข้อมูลต่างๆระหว่างเชนให้มารวมอยู่ในที่เดียวกัน แถมยังมีการเสริมความปลอดภัยและความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆให้มากกว่าเดิมอีกด้วย
รองรับธุรกรรมได้พร้อมกันในหลายๆเชน : Coinweb มีเทคโนโลยีหลังบ้าน ที่จะสามารถจัดการลำดับของธุรกรรมต่างๆของเชนใน Ecosystem ให้เป็นระเบียบมากขึ้น และทำให้สามารถประหยัดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมได้มากที่สุด
ฟีเจอร์ต่างๆของ Coinweb
Cross-chain Token Issuance : รองรับการสร้างและโอนโทเค็นข้ามไปมาระหว่างเชนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Multi-chain Dividend Token, Cross-Chain NFT รวมถึง Coin/Token อื่นๆที่รองรับได้ในหลายๆเชน
Cross-chain DeFi Protocols : ทุกวันนี้แพลตฟอร์ม DeFi Blue Chips หลายๆตัวที่มีกลไกการทำงานที่โดดเด่นกว่า DeFi ทั่วไป ดันเปิดแต่ที่เชนบางเชนเท่านั้น เช่น Serum, Raydium ที่เปิดได้แค่ Solana เท่านั้นเพราะใช้ภาษา Rust ที่มีแค่เชนนี้เชนเดียวที่ใช้ภาษานี้ในการเขียน ซึ่งจุดเด่นของ Coinweb คือมันสามารถให้ DApps จากฝั่ง Solana ที่ใช้ภาษา Rust ในการเขียน เข้ามา Deploy ได้บน Ecosystem ของ Coinweb ได้ง่ายๆเลย
High Performance Adaptive DApps : เนื่องจากที่ Coinweb สามารถรองรับการทำงานของ DApps ได้หลายเชน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เราใช้ DApps ในเชนๆนั้นแล้วมันเกิดธุรกรรมขัดข้องหรือมีค่าธรรมเนียมที่แพง ทาง Coinweb ก็จะมีระบบที่เรียกว่า Pareto-optimal ซึ่งมันจะทำการสับเปลี่ยนให้ธุรกรรมต่างๆถูกเปลี่ยนไปยืนยันและปิดบล็อกที่เชนอื่นที่มีเสถียรภาพและค่าธรรมเนียมถูกกว่าในขณะนั้นได้เลย
High Performance Low Fee DApps : ในขณะที่เราใช้ DApp อันใดอันหนึ่ง ระบบหลังบ้านของ Coinweb จะคอยคำนวนให้เลยว่า เราควรไปใช้ DApp นี้ที่เชนไหนถึงจะมีเสถียรภาพที่สุดและค่าธรรมเนียมถูกที่สุด
Secure Interoperability : เนื่องจากทุกเชนที่อยู่ใน Ecosystem ของ Coinweb นั้นมีการดำเนินงานยืนยันธุรกรรมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเวลาเกิดเหตุขัดข้องขึ้นนั้น ทาง Coinweb ก็มีระบบหลังบ้านที่คอยปกป้องธุรกรรมต่างๆให้ยังทำงานได้ตามปกติอีกด้วย
High Capacity Smart Contracts : ฟีเจอร์นี้ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของทาง Coinweb เลยก็ว่าได้ ซึ่งโดยปกติแล้วเวลา DApps ของเชนๆนึงมีการใช้งานที่มากเกินไป ณ ช่วงเวลาหนึ่ง มันจะทำให้เกิดธุรกรรมที่ล่าช้าขึ้นทั้งเชน แต่สำหรับ Ecosystem ของทาง Coinweb เมื่อมี DApps ในเชนๆหนึ่งที่ถูกใช้งานที่มากจนเกินไป มันจะสร้าง Parallel Execution ขึ้นมา เพื่อรองรับธุรกรรมของ DApps นั้นๆแยกออกไปเลย ข้อดีเหล่านี้จึงทำให้ไม่เกิดการกระจุกตัวของการทำธุรกรรมของเชนๆนึงไปเลยนั่นเอง
The Coinweb Digital Wallet : เป็นกระเป๋าเงินที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ใน Ecosystem ของ Coinweb โดยเฉพาะ แต่เป็นกระเป๋าเงินที่รองรับการใช้งานทุกรูปแบบอย่างหลากหลาย ซึ่งฟีเจอร์หลักๆของกระเป๋าใบนี้ไม่ว่าจะเป็น การซื้อคริปโตด้วยบัตร Visa หรือ Mastercard, ซื้อ/เทรด/ขายคริปโตสกุลหลักๆ, โอนคริปโตข้ามเชนต่างๆที่ทาง Coinweb รองรับ เป็นต้น
ตอนนี้เราสามารถเทรด Coinweb Token (CWEB) ในคู่เทรด CWEB/USDT ได้ที่แพลตฟอร์ม KuCoin, Gate.io, Bittrex, MEXC, BitMart, Hoo,, BKEX และ Uniswap ซึ่ง CWEB มีราคาปัจจุบันอยู่ที่ $0.03891 ราคาสูงสุดภายใน 24 ชั่วโมงอยู่ที่ $0.0408 และราคาต่ำสุดภายใน 24 ชั่วโมงอยู่ที่ $0.03735 ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดที่ $20,844,845 หรือประมาณ 708 ล้านบาท มีปริมาณ Supply หมุนเวียน 517,505,268 CWEB จาก Supply ทั้งหมด 7,680,000,000 CWEB
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ Coinweb ได้ที่
Twitter : https://twitter.com/coinwebofficial?s=21
Facebook : https://www.facebook.com/Coinweb.io
Instagram : https://instagram.com/coinweb.io?utm_medium=copy_link
Youtube channel : https://youtube.com/c/Coinweb
Website : Coinweb.io
Telegram : https://t.me/Coinweb_Thai
Facebook Group : https://www.facebook.com/groups/350240063311388
Whitepaper : https://coinweb.io/files/Coinweb-Whitepaper.pdf