เจาะลึก HMX : Perpetual DEX หน้าใหม่ที่มอบประสบการณ์แบบ Centralized Exchange

ศักยภาพของและโอกาสการเติบโต Perpetual DEX 

Derivative (อนุพันธ์) เป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญสำหรับ trader และนักลงทุน ในด้านการเก็งกำไร (Price Speculating) และการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) สำหรับโลกคริปโตแล้ว เครื่องมือเหล่านี้ก็ถูกนำมาใช้งานเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้งานผ่าน Centralized Exchange (CEX) เนื่องจากใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากกว่าสำหรับคนเทรดคริปโตฯ

อย่างไรก็ตามตั้งแต่เหตุการณ์ที่ FTX ล่มสลายลง มีผู้เสียหายจำนวนมากที่สูญเงินส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของ CEX ลดลงอย่างมากและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนหันมาสนใจ DEX กันมากขึ้นจากความโปร่งใสและความไร้ศูนย์กลางที่ DEX มอบให้ได้ และจากความต้องการของ User ในการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Derivative ก็ได้นำมาสู่การพัฒนา Perpetual DEX ที่สามารถทำให้เราเทรด Derivative แบบ On-chain ได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง

โอกาสเติบโตของ Perpetual DEX

การล้มลงของ FTX เป็นสาเหตุหลักที่ผู้คนนั้นหันมาสนใจ On-chain Trading กันมากและส่งผลให้มี Platform DEX เพิ่มขึ้นมากมายในตลาด จากกราฟ DEX-to-CEX Spot Trade Volume จะเห็นเลยว่าหลังจากเหตุการณ์ FTX นั้น Volume การ Trade spot บน DEX เมื่อเทียบกันกับ CEX แล้วเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับเป็น 15% ของ spot volume บน CEX

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า แตกต่างจาก spot volume ของ DEX อย่างสิ้นเชิงที่ได้ขึ้นมามากหลังจากปัญหา FTX ในส่วนของ Derivative Trading Volume บน DEX นั้นยังคงวนเวียนอยู่แค่เพียง 1.5% – 2% เท่านั้นเมื่อเทียบกับ Derivative Trading Volume บน CEX 

โดยจากการวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่อาจเป็นคำตอบได้ว่า ทำไม Volume Derivative บน DEX นั้นยังน้อยมากเมื่อเทียบกับ CEX ทั้ง ๆ ที่มีข่าวใหญ่อย่างการล้มของ FTX

แต่ก็ได้ข้อสรุปว่าสาเหตุหลักนั้นอยู่ที่ข้อจำกัดด้าน Features ต่าง ๆ บน DEX ที่ไม่ครอบคลุมและนำไปสู่ประสบการณ์การใช้งานที่แย่และไม่น่าจดจำของผู้ใช้ ยิ่งสำหรับ Derivative ที่เป็นเครื่องมือที่ซับซ้อนแล้วยิ่งแล้วใหญ่

โดยปัญหาต่างๆ ของ Perpetual DEX ทั่วไป อาทิ

  • Isolated Margin Position: รูปแบบของ perpetual DEX ในปัจจุบันนั้น การวางหลักประกันจะเป็นแบบแยกกัน หลักประกันที่เราวางไว้ 1 ก้อนจะรองรับการใช้งานต่อ 1 position เท่านั้น แตกต่างกับบน CEX ที่สามารถใช้หลักประกัน share กันได้แบบ cross-margin คือหลักประกัน 1 กองจะสามารถเปิดได้หลาย position มากกว่า ทำให้บน CEX นั้นมีความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สูงกว่า
  • Limited Collateral Type: นอกจากจะเป็นแบบ isolated margin ที่การวางหลักประกันนั้นใช้ได้แค่ position ที่จำกัด จำนวนเหรียญที่เป็นตัวเลือกในการวางเป็นหลักประกันยังมีให้เลือกแค่ไม่กี่ชนิดอีกด้วย คนที่ต้องการจะเทรดนั้นจะถูกบังคับให้ขายเหรียญที่ตัวเองถือเพื่อเปลี่ยนไปถือเหรียญที่รองรับไม่กี่เหรียญ เช่น จะ long/short BTC ก็ต้องวางหลักประกันเป็นเหรียญ BTC หรือ Stablecoin เพื่อค้ำเท่านั้น ทำให้ไม่มีความยืดหยุ่นในการเทรด
  • High fees: จากการที่ perpetual DEX เหล่านี้อยู่ในรูปแบบ liquidity pool แปลว่าจะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงเพื่อนำไปจ่ายให้การคนที่มาวางสภาพคล่อง ถึงแม้ว่าการเก็บค่าธรรมเนียมแพงจะสามารถดึงดูดให้คนมาวางสภาพคล่องได้มาก แต่ข้อเสียเลยก็คือ trader นั้นไม่มีแรงจูงใจจะมาใช้งาน platform เหล่านี้ทำให้ volume ส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่บน CEX อยู่ดี

จะเห็นได้ว่านอกจาก DEX จะมี Features ต่างๆที่น้อยกว่า CEX แล้ว ค่าธรรมเนียมในการเทรดยังสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยปัญหาต่างๆเหล่านี้ทำให้ perpetual DEX ส่วนใหญ่นั้นยังไม่สามารถเติบโตและกอบโกยโอกาสเหล่านี้ได้ดีเท่าที่ควร ไม่ว่าจะปัญหาเรื่องของความยืดหยุ่นในการเทรดที่ต่ำทั้งยังมีการเสียค่าธรรมเนียมที่แพงกว่า CEX ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็เป็นที่มาของ HMX – platform perpetual DEX ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง แก้ไข painpoint เหล่านั้นพร้อมทั้งมอบประสบการณ์การใช้งานรูปแบบเดียวกันกับ CEX นั่นเอง

HMX: Perpetual DEX ครบวงจรที่มอบประสบการณ์เหมือน Centralized Exchange

Core Strength and Key Features

HMX นั้นเป็น perpetual protocol หน้าใหม่ที่มีเป้าหมายสร้าง perpetual DEX ที่ให้ประสบการณ์การใช้งานเหมือนกับว่าอยู่บน CEX ผ่านการออกแบบ UI/UX ที่คิดมาอย่างดีพร้อมกับ key features ต่างๆที่จะแก้ pain points ของผู้ใช้งาน 

  • Multi-asset Collateral Support: HMX รองรับเหรียญที่หลากหลายสำหรับใช้เป็นหลักประกัน position โดยไม่จำกัดอยู่แค่บางเหรียญ อาทิ เราสามารถวาง BTC เป็นหลักประกันเพื่อเปิด position ของอีกหลายๆ asset ได้เช่น ETH, SOL, LINK เป็นต้น ณ ปัจจุบัน HMX รองรับให้เทรดเดอร์วางหลักประกันได้ถึง 10 สินทรัพย์
  • Cross-margin Collateral Management: HMX นั้นเปิดให้วางหลักประกันแบบ cross-margin แปลว่าหลักประกัน 1 ก้อนจะสามารถแชร์มาร์จิ้นกันได้หลาย position สร้างความยืดหยุ่นให้กับ trader และยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เงินก้อนได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นอีกด้วย 
  • Low Fees: HMX นั้นเก็บค่า Fees จากการเทรดต่ำกว่าที่อื่นด้วยความที่ HMX นั้นได้ yield บางส่วนมาจาก GMX และมากไปกว่านั้นสำหรับ taker fee ของ BTC และ ETH นั้นเก็บด้วย rate เดียวกันกับ Binance เลยด้วยที่ 0.04%
  • Progressive Web Application: ด้วยความที่ trader ส่วนใหญ่นั้นใช้มือถือเป็นอุปกรณ์หลักในการเทรด HMX ก็ได้มีการพัฒนาและออกแบบ Web application ที่ให้ความรู้สึกเทียบเคียงกับการใช้ application บนมือถือเลยอีกด้วย โดยผู้ใช้งานสามารถแชร์หน้าเว็บออกมาที่หน้า Home เพื่อการใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบายได้เลย
  • อีกหลายๆ features ที่เหมือน CEX: นอกจาก feature มากมายด้านบนที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมี feature อย่างการเทรดบน chart โดยตรง, การสร้าง advanced order ต่างๆ, รวมไปถึง one-click trading หรือการเทรดแบบคลิกเดียวผ่านการใช้งาน account abstraction โดยทั้งหมดที่ใส่เข้ามานั้นก็เพื่อให้ผู้ใช้นั้นรู้สึกว่าการใช้งาน HMX นั้นไม่ต่างกับการใช้งาน centralized exchange เลยแม้แต่นิดเดียว

จากภาพจะเห็นได้ว่า HMX – แม้จะเป็น DEX – นั้นเต็มไปด้วย Features ต่างๆ ที่ทำให้ประสบการณ์การเทรดนั้นเหมือนกับ CEX ทั้งยังคงไว้ด้วยความเป็นส่วนตัว (ไม่ต้อง KYC) ความปลอดภัย และความไร้ศูนย์กลาง แถมทั้งค่าธรรมเนียมที่เทียบเท่ากับ CEX อีกด้วย

Leveraged Market Maker Product Design ที่ออกแบบมาเพื่อ Real-Yield

แล้วถ้าเกิดว่าไม่ใช่ Trader แล้วอยากได้รับ yield HMX มีโปรดักท์อะไรที่จะตอบโจทย์บ้างไหม?

1 ใน Feature รูปแบบใหม่ที่ HMX คิดขึ้นมาเรียกว่า Leveraged market making (HLP Vault) คือการที่ HMX นั้นนำเอาสภาพคล่องมาจาก GM pools ของ GMX เพื่อมา market make ให้กับ Trader ที่ HMX

โดยคนที่สนใจจะรับ Yield ก็สามารถฝากสภาพคล่องเข้าไปที่ HLP Vault ของ HMX โดยสภาพคล่องก้อนนั้นก็จะได้รับ yield จากทั้งฝั่ง GMX และ HMX เป็นการ leverage สภาพคล่อง 1 ก้อนแต่ได้รับ yield ถึง 2 ทาง

จากเดิมแล้ว pool ของ $HLP นั้นประกอบไปด้วย 90% GLP จาก GMX v1 และ 10% USDC แต่หลังจากที่ทาง GMX ได้มีการเปิดตัว v2 ขึ้นรวมทั้งแผนที่จะแจก $ARB ที่ได้รับจาก Arbitrum Short-Term Incentive Program (STIP) เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้ v2 ของตัวเองนั้น HMX ก็มีแผนที่จะเปลี่ยนองค์ประกอบของ $HLP

โดยเปลี่ยนการใช้งาน GLP จาก GMX v1 ไปใช้ GM pool จาก GMX v2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการได้รับ Yield ของคนที่ฝาก HLP ผ่านแรงดึงดูดของตลาดที่ให้ความสนใจ GMX v2 มากขึ้นนั่นเอง 

สำหรับคนที่สนใจเรื่อง Real Yield และกำลังมองหาวิธีการในการฟาร์ม real yield ดีๆในตลาดแล้ว Leveraged Market Maker ของ HMX นั้นอาจจะเป็น Product ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของคุณเลยล่ะครับ

Tokenomic อันเป็นเอกลักษณ์ ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโต

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดอนาคตของโปรเจคคริปโตได้เลยนั่นก็คือ Tokenomics ที่ถ้าหาก design มาได้ไม่ดีก็จะทำให้โปรเจคหมดอนาคตได้เลย การออกแบบของ Tokenomics ของ HMX นั้นจึงมุ่งเน้นไปที่ 2 สิ่งเป็นสำคัญ ได้แก่

  1. การสร้าง Real Yield 
  2. การลดแรงขาย (Sell Pressure)

สำหรับการสร้าง Yield นั้น ผู้ถือเหรียญ HMX นั้นสามารถนำเหรียญไป Stake เพื่อที่จะได้รับ 25% ของค่าธรรมเนียมที่ HMX สร้างได้ และเพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้าง real yield HMX ไม่เพียงแต่ให้ reward กับคนที่มาวาง LP เท่านั้นแต่ยังให้ reward กับ trader ผ่านระบบ loyalty ชื่อ Trader’s Loyalty Credits ($TLC) โดยการให้ reward กับ trader นั้นเป็นเหมือนการช่วยสนับสนุน (subsidize) ในการลดค่าธรรมเนียมการเทรดบน HMX ให้กับนักเทรดเหล่านั้น และเป็นการลด barrier-to-entry ให้กับเทรดเดอร์ใหม่ ๆ เพื่อจะช่วยกระตุ้นให้คนมาใช้งานมากขึ้น

เมื่อมีคนมาเทรดและเปิด position มากขึ้น ค่าธรรมเนียมก็จะเก็บได้มากขึ้นเล่นกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมเหล่านั้นก็จะถูกแจกจ่ายกับไปเป็น reward ให้กับคนที่ stake HMX กับผู้ที่วางสภาพคล่องกับ HLP นั่นเอง

ในส่วนของการลด sell pressure ของเหรียญ HMX นั้นจะทำโดยผ่านการออกแบบการแจกจ่าย reward รูปแบบของ escrowed HMX ($esHMX) แทนที่จะเป็นเหรียญ HMX โดยตรง ซึ่ง esHMX จะไม่สามารถขายได้และจะต้องผ่านการปลดล็อก (vesting) เป็นเวลาทั้หมด 1 ปีก่อนที่จะถูกแปรสภาพให้หลายเป็นเหรียญ HMX 

$esHMX นั้นมีคุณสมบัติแบบเดียวกันกับ $HMX โดยผู้ที่ได้รับ $esHMX ก็มีทางเลือกสองทาง

  1. เลือกที่จะเคลม reward เป็นเหรียญ $HMX ซึ่งการเลือกทางนี้จะเป็นการละทิ้ง staking reward ที่อาจจะได้รับจากการ staking ทั้งหมด โดยผู้ใช้จะสามารถเคลมเหรียญได้ทั้งหมดหลังจากผ่านไป 1 ปี
  2. เลือก stake $esHMX ต่อซึ่งก็จะได้รับ reward เป็น 25% ของรายได้ platform รวมทั้งเหรียญ $esHMX เพิ่มเติมอีกด้วย โดยทาง platform HMX นั้นก็กระตุ้นให้เกิดการ Stake ผ่านการแจกเหรียญ Dragon Points ที่ APR 100% ให้กับคนที่ stake $esHMX ต่อ โดยเหรียญ $DP นั้นก็สามารถนำไป stake ต่อยอดได้อีกเพื่อได้ reward ซึ่งจะเป็น pool เดียวกันกับเหรียญ $HMX และ $esHMX ที่ได้ 25% ของรายได้ platform

โดยรวมแล้วยิ่ง stake เหรียญ $HMX นานขึ้นและมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะได้ส่วนแบ่งรายได้ของ platform มากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง

รวมความสำเร็จหลังจากเปิดตัวมาได้ไม่ถึงครึ่งปี

ถึงแม้ว่า HMX จะเปิดตัวได้ไม่นาน แต่ก็ได้ผ่าน milestone หรือเป้าหมายที่สำคัญมามาก

  • Platform Metrics: ในด้าน platform แล้ว HMX นั้นมี TVL รวมกว่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (~1 พันล้านบาท), มากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์ (~2 แสนล้านบาท) ใน volume การเทรด และสามารถสร้างรายได้มากกว่า 3 ล้านดอลลาร์ (~100 ล้านบาท) ที่นำมาแจกจ่ายให้กับผู้ใช้ถึงแม้ว่าจะเปิดมาไม่ถึงครึ่งปี
  • Community Growth: HMX นั้นมีผู้ติดตามและสมาชิกรวมกว่า 10,000+ คนจากทั้ง Discord และ Telegram ตั้งแต่เปิด platform มีการใช้งานมากกว่า 100,000+ trades บน 25+ สินทรัพย์และด้วยความที่เป็น project ที่เน้นไปที่ community ทางฝั่งสมาชิกก็ได้มี comment และแนะนำมาร่วม 80 อย่างถึงการปรับปรุง UI/UX ให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น
  • Ongoing Development: ในปัจจุบัน HMX ก็ยังมุ่งมั่นพัฒนา platform อย่างต่อเนื่องโดยให้ความสำคัญไปที่นวัตกรรมทางการเงินต่างๆ เพื่อที่จะมุ่งหน้าขึ้นเป็น platform on-chain derivative trading อันดับต้นๆของโลกคริปโต และล่าสุดก็กำลังจะมีการเปิดตัวการเทรดดัชนี(Index Trading Future) ตัวแรก on-chain อีกด้วย

บทสรุปของ HMX

ช่องว่างระหว่าง trading volume ของ DEX และ CEX นั้นยังห่างไกลกันมากโดยเฉพาะในส่วนของ Derivative Trading ที่ volume ของ DEX นั้นนับเป็น 1.5%-2% เท่านั้นเมื่อเทียบกับ CEX โดยสาเหตุสำคัญนั่นก็เพราะข้อจำกัดของ Perpetual DEX ที่ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีรวมถึงความสะดวกสบายในการเทรด derivative ที่เหมือนกับ CEX ได้

นี่จึงเป็นที่มาของ HMX (Perpetual DEX) platform ที่เพียบพร้อมไปด้วย features ที่ตั้งเป้าจะแก้ปัญหาในส่วนของประสบการณ์การใช้งาน DEX ที่ไม่มีความยืดหยุ่นและซับซ้อนด้วย Multi-Asset Collateral, Cross Margin Collateral และ Account Abstraction เพื่อให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ในการ Trade ที่ใกล้เคียงกับ CEX มากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ HMX ยังคำนึงถึงคนที่ต้องการ real yield โดยมี product อย่าง Leveraged Market Making ที่ทำได้ด้วยการวางสภาพคล่องผ่าน HLP Vault ที่จะดึงสภาพคล่องและนำรายได้เข้าสู่ Protocol ด้วยจากทั้งฝั่ง GMX’s GM Pool (v2) และ HMX เป็นการ leverage สภาพคล่อง 1 ก้อนแต่ได้รับ yield ถึง 2 ทาง

รวมถึงได้รับ $ARB ที่เป็น Incentives (STIP) บน GMX v2(GM Pool) ถึงแม้ HMX จะเก็บค่า Fees จากการเทรดต่ำทำให้สามารถสร้างรายได้น้อยกว่า platform อื่นแต่ HMX นั้นก็ได้ yield บางส่วนมาจาก GMX เป็นอีกช่องทางรายได้นึงด้วยเช่นกัน

ที่สำคัญยังวางแผน Tokenomics ที่รอบคอบเพื่อลด Sell pressure ในระยะสั้นผ่านการแจก $HMX (Governance Token) เป็นแบบ esHMX ให้กับ Staker ที่จะต้องทำการ Vest(ล็อค) เป็นเวลา 1 ปีถึงจะนำออกมาขายได้ และยังให้ความสำคัญต่อผู้ใช้และ Community รวมถึงการมุ่งมั่นพัฒนา platform อย่างต่อเนื่อง 

นอกจากการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็น DeFi Protocol ระดับแนวหน้าของโลกคริปโตแล้ว HMX ยังตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ของ platform perpetual DEX เพื่อก้าวข้ามความแตกต่างระหว่าง DEX และ CEX และนำพาผู้คนอีกมหาศาลเข้าสู่โลกการเงินที่ไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง
ช่องทางติดตามต่างๆของ HMX นั้นสามารถดูได้ที่นี่

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

wissarut

ข่าวต่อไป