Bitcoin คืออะไร
Bitcoin เป็นที่รู้จักในฐานะสกุลเงินดิจิทัลแบบการกระจายอำนาจ (Decentralized) โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว มีเครือข่ายเป็นแบบ Peer-to-Peer (P2P) หรือการซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วโลก โดยใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์ที่เชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตโดยตรง และไม่ผ่านตัวกลาง
จุดเริ่มต้นของ Bitcoin เกิดขึ้นใน ปี 2008 เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจากสินเชื่อซับไพรม์ (Subprime) หรือการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ยืมที่ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนเพียงพอ จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และคุกคามความมั่นคงของสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา สาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ส่งผลให้เกิดสินเชื่อ “ดอกเบี้ยลอยตัว” ที่เผยให้เห็นถึงความอ่อนแอในระบบทางการเงิน สหรัฐอเมริกาจึงได้ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากโดยที่ไม่มีหลักประกันเพื่อยื้อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจนเกิด “ภาวะเงินเฟ้อ” ภายในประเทศ แน่นอนการพิมพ์เงินออกมาจำนวนมากย่อมส่งผลให้มูลค่าของเงินถูกลงตามไปด้วย
และในปีเดียวกันก็ได้มีกลุ่มคนที่เรียกว่า Cypherpunk (ไซเฟอร์พังค์) รวมตัวกันบนโลกออนไลน์ โดยการใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto (ซาโตชิ นากาโมโต) ที่สนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์, คอมพิวเตอร์, การเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์, และการเมือง หยิบเอาแนวความคิดระบบสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตกลับมาทบทวนและใช้งานอีกครั้ง จนพัฒนาออกมาเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่เรารู้จักกันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบันนั่นก็คือ “Bitcoin”
แน่นอนว่าตัวบิทคอยน์มีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อการสร้าง Digital Currency ที่มีความน่าเชื่อถือ และไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับภาครัฐหรือหน่วยงานใด เพื่อตัดตัวกลางทางด้านการเงินออกทั้งหมด เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลหรือหน่วยงานใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “เงินตรา” ปัจจุบันเราก็ยังไม่รูเลยว่าเป็นใครคือ Satoshi Nakamoto (ซาโตชิ นากาโมโต) เนื่องจากว่าซาโตชิเองไม่เคยออกสื่อ หรือว่าเปิดเผยตัวตนในที่สาธารณะมาก่อนแต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในเปลี่ยนแปลง “โลกแห่งการเงินดิจิทัล”
เหรียญ Bitcoin ถูกสร้างจำกัดไว้ที่จำนวน 21 ล้าน BTC โดยการจำกัดจำนวนเหรียญนี้มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา “เงินเฟ้อ” ทางซาโตชิเป็นผู้ที่ออกกฎและนโยบายทางการเงินนี้เองเพราะในทุกๆ 4 ปี จะมีการ Halving ของบิตคอยน์ หรือการลดทอนผลตอบแทนจากการขุดลงไปให้เหลือแค่ครึ่งหนึ่ง และในยุคเริ่มต้นของ Bitcoin นั้นผลตอบแทนของการขุด Block Reward หรือรางวัลสำหรับ “การปิดบล็อกแรกสำเร็จ” ได้บิตคอยน์สูงถึง 50 BTC ต่อการขุด 1 บล็อก โดยการถอดรหัสปิดบล็อกแรกสำเร็จ และมีเหรียญชุดแรกออกมาเกิดขึ้นในปี 2009 หลังจากนั้นในปี 2012 ได้เกิดการ Halving ครั้งที่ 1 ทำให้ผลตอบแทนของการขุดลดลงไปครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 25 BTC ต่อการขุด 1 บล็อค ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ลดเหลือแค่ 12.5 BTC ต่อการขุด 1 บล็อค และในปี 2020 ได้เกิดการ Halving ครั้งที่ 3 ซึ่งทำให้ผลตอบแทนในปัจจุบันเหลือเพียง 6.25 BTC ต่อการขุด 1 บล็อค
ปัจจุบันบิตคอยน์มี Supply หมุนเวียนอยู่ในระบบอยู่ที่ 19,408,918 BTC (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิ.ย. 2566) การผลิต Bitcoin ขึ้นมาได้นั้นจะต้องอาศัยวิธีการ “ขุด” หรือที่เราเรียกกันว่าระบบ Proof-of-Work (PoW) มันเป็นชุดกฎคำสั่ง (Protocol) ที่ถูกตั้งไว้โดยกลุ่มนักพัฒนาเหรียญ ทั้งนี้ตัวบิตคอยน์จะถูกขุดออกมาครบทั้งหมด 21 ล้านเหรียญ ในปี ค.ศ.2140 (พ.ศ.2683) หรือนับไปอีก 120 ปีหลังจากนี้ แน่นอนว่ายิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่บิตคอยน์ก็จะยิ่งหายากขึ้นเรื่อย ๆ และนั่นทำกับว่า Bitcoin (BTC) จะเปรียบเสมือนเป็น “ทองคำแห่งโลกดิจิทัล” ในฐานะตัวเก็บมูลค่าหรือ Store of Value นั่นเอง
มูลค่าตลาด ณ ปัจจุบันของ อยู่ที่ $582,789,309,943 หรือประมาณ 20 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 1 ของเวป Coingecko และมี Supply หมุนเวียนอยู่ที่ 19,408,918 BTC จากทั้งหมด 21,000,000 BTC
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับกราฟฟิก และ Lady Crypto สำหรับเนื้อหาครับ