ARB(Arbitrum) จาก Arbitrum จะเปิดให้ซื้อขายที่บิทาซซ่า ณ วันที่ 24 มีนาคม 2566! (ARB/THB)
ARB คือยูทิลิตี้โทเคนของระบบนิเวศ Arbitrum ที่สำคัญต่อการบริหารระบบการใช้งานและรักษาความปลอดภัย โทเคน ARB ใช้วางสเตก ใช้บริหาร และ ใช้ชำระค่าธรรมเนียม วาลิเดเตอร์ของระบบจะวางสเตกโทเคน ARB ไว้และทำหน้าที่ดำเนินการและตรวจสอบธุรกรรมใน Arbitrum Rollup อีกทั้งด้วยการวางสเตก วาลิเดเตอร์จะได้รับผลตอบแทนเพื่อการตรวจสอบและป้องกันความปลอดภัยของเครือข่าย
Arbitrum คือโปรโตคอลเลเยอร์ 2 บนเครือข่าย Ethereum ทำหน้าที่ขยายเครือข่าย เพิ่มความเร็ว และประสิทธิภาพในการทำงานของ dApps ที่สร้างบน Ethereum เมื่อจำนวนผู้ใช้งานและธุรกรรมบน Ethereum เพิ่มขึ้น เครือข่ายจึงต้องรองรับปริมาณการใช้งานที่สูง การทำธุรกรรมช้าลง และค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น Arbitrum จึงแก้ไขโดย Optimistic Rollups ที่ให้คำนวณสัญญาอัจฉริยะ นอกเครือข่ายได้แต่ยังรักษาความปลอดภัยของ Ethereum mainnet ไว้ วิธีใหม่นี้จะช่วยลดค่าธรรมเนียมธุรกรรมและลดปริมาณงาน และทำให้ประสบการณ์การใช้งานดีขึ้น
นวัตกรรมหลักของ Arbitrum นั้นใช้กลไกระบบฉันทามติที่เป็นเอกลักษณ์ โดยใช้ประโยชน์วาลิเดเตอร์นอกเชนในการดำเนินการและยืนยันธุรกรรม แทนที่จะดำเนินการธุรกรรมทั้งหมดบน mainnet ที่อาจจะทำให้ช้าและแพง วาลิเดเตอร์ของ Arbitrum ตรวจสอบธุรกรรมจากนอกเชนทำให้ลดภาระการคำนวณบน mainnet และเมื่อธุรกรรมที่ถูกคำนวณจากภายนอกเครือข่ายการสื่อสารเสร็จสิ้น รหัสการพิสูจน์จะแสดงผลรวมทั้งหมดของกลุ่มรายการธุรกรรมที่ถูกส่งไปยัง Ethereum mainnet เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารายการธุรกรรมมีความปลอดภัยและไม่ถูกเปลี่ยนแปลง
Arbitrum ระบบนิเวศบล็อกเชนที่เติบโตขึ้น ด้วยการมอบความสามารถในการขยายตัวที่มากขึ้นและเป็นแพลตฟอร์มที่มีต้นทุนที่คุ้มค่ากับประสิทธิภาพที่ได้รับสำหรับ dApps ดังนั้น Arbitrum จึงสามารถดึงดูดผู้ใช้งานและนักพัฒนาใหม่ๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในโลกแห่งการกระจายศูนย์ให้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น
Ethereum ยังคงพัฒนาและขยายขีดความสามารถของตัวเองต่อไป รวมไปถึงบทบาทโซลูชัน เลเยอร์ 2 อย่าง Arbitrum กำลังจะกลายมาเป็นกำลังหลักในการรักษาความน่าเชื่อถือของเครือข่ายและกระตุ้นความสำเร็จในระยะยาวได้
*อ้างอิงข้อมูลจาก: https://arbitrum.io/
คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ที่มา: Link