แม้ว่าการให้คะแนนความหายากแก่โทเค็น NFT ในตลาดซื้อขาย อาจช่วยให้นักสะสมตัดสินใจว่าจะซื้อ NFT หรือไม่ แต่บางคนโต้แย้งว่าการจัดอันดับ NFT อาจทำอันตรายมากกว่าผลดี
Since @openrarity hit @opensea on September 21st there's been almost no above-floor @moonbirds sales. Turns out, putting a big, wrong, "Rank" number on NFTs on the largest marketplace materially impacts value. A 🧵(1/8) pic.twitter.com/XlNPMDstcd
— Spencer (@sgsand1) October 17, 2022
นักลงทุน NFT ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหลายประการเกี่ยวกับ OpenRarity ซึ่งเป็นโปรโตคอลการจัดอันดับความหายากแบบใหม่ที่ดำเนินการโดย OpenSea ซึ่งตามที่สมาชิกชุมชนระบุ การจัด “อันดับ” ในรายการ NFT โดยไม่เอ่ยถึง “ความหายาก” ที่ใดก็ตามอาจทำให้เข้าใจผิดได้
ยกตัวอย่างคอลเล็กชั่น Moonbirds NFT โดยสมาชิกในชุมชนแย้งว่า เนื่องจากคอลเล็กชันดังกล่าวเปิดใช้งานโปรโตคอลการจัดอันดับ OpenRarity มันจึงกลายเป็นการทำลายโครงสร้างความหายากที่ขับเคลื่อนโดยตลาดของมันเอง ทำให้ NFT ทุกรายการกลายเป็นราคา “floor” โดยนักสะสม NFT ยังเรียกร้องให้ Kevin Rose ซีอีโอของ Proof ผู้สร้าง Moonbird ให้ปิดฟังก์ชันการจัดอันดับ OpenRarity ลงเสียจะดีกว่า
(8/8) I used to be one of the biggest buyers of above floor birds. Every moonbird is now a floor moonbird because the project endorsed the destruction of its own market-driven rarity structure. Please turn off Open Rarity @kevinrose
— Spencer (@sgsand1) October 17, 2022
ล่าสุด OpenSea ก็ได้ทำการปรับปรุงระบบการจัดอันดับ โดยในขณะนี้ รายการ NFT จะแสดง “อันดับที่หายาก” แทนที่จะเป็นเพียงอันดับเฉย ๆ นอกจากนี้ยังได้เพิ่ม trait count ภายใน ranking และวิธีจัดเรียง items ด้วยคุณลักษณะเฉพาะ
We’re excited to share two methodology improvements that the @openrarity team has made to their ranking based on community feedback!
— OpenSea (@opensea) October 18, 2022
These changes have been built by the working group (of which @OpenSea is a member) and may change ranks for some collections. Lets dig in ⤵️ pic.twitter.com/5nxMfoJSZ0
OpenSea ประกาศว่าจะเปิดคุณลักษณะการจัดอันดับความหายากให้กับคอลเลกชันที่มีสิทธิ์ในทุกเครือข่าย โดยการเปลี่ยนแปลงจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.