หัวข้อในบทความประกอบไปด้วย
1) ปัญหาการ Staking Ethereum 2.0 ที่เกิดขึ้นในตอนนี้
2) Lido คืออะไร?
3) วิเคราะห์ Tokenomics ของ “LDO” ไฮไลท์ตัวสำคัญของ Lido และความเสี่ยงของมัน
4) วิธีการ Optimize Yield ด้วย “stETH”
สำหรับใครที่รู้จักหลักการทำงานของ Lido แล้ว สามารถไปอ่านได้ในหัวข้อ 3 และ 4 ที่มีการวิเคราะห์ Tokenomics ของ LDO และวิธีการ Optimize Yield ด้วย stETH ได้เลย
1) ปัญหาการ Staking Ethereum 2.0 ที่เกิดขึ้นในตอนนี้
ในช่วงปีที่ผ่านมา ทาง Ethereum ก็ได้เปิดให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะทำการ Stake ETH ของเราใน Beacon Chain ซึ่งมันเป็นเชนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเครือข่าย Ethereum ให้กลายเป็น Ethereum 2.0 ในอนาคต โดยในช่วงเดือนมิถุนายนปีนี้ Beacon Chain (Proof of Stake) และ Ethereum Mainnet (Proof of Work) จะถูกควบรวมเข้าด้วยกันในขั้นตอนที่เรียกว่า “The Merge” เพื่อเปลี่ยนให้เครือข่าย Ethereum มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมถูกลง มีการรองรับจำนวนธุรกรรมที่มากขึ้น
ซึ่งในตอนนี้ก็มี Centralized Exchange มากมายไม่ว่าจะเป็น Coinbase หรือ Binance ก็ได้มีการเปิดให้ลูกค้าสามารถที่จะ Stake ETH ของพวกเขาพื่อรับ Rewards เพิ่มเติมได้ แต่ข้อเสียคือ ETH จะถูกล็อคเอาไว้จนกว่าขั้นตอน The Merge จะเสร็จสิ้น สิ่งนี้จึงเป็นค่าเสียโอกาสสำหรับคนที่ต้องการ Stake ETH ไว้กับเว็บเทรดจะต้องเจอ และถ้าขั้นตอน The Merge นั้นเสร็จสิ้นล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ ETH ของพวกเขาก็จะไม่สามารถถูกถอนออกมาได้
ซึ่งเครือข่าย Beacon Chain นั้นไม่เหมือนกัน Infrastructure ตัวอื่นๆที่มีระบบ Proof of Stake อย่าง Fantom, Tezos ที่สามารถให้ผู้ใช้งานเป็นคนเลือก Stake กับทาง Validator Node โดยตรงได้ และสามารถเลือกจำนวนที่จะ Stake ไว้ได้โดยมีจำนวนขั้นต่ำที่ไม่สูงมาก แต่หากเราต้องการจะ Stake ETH โดยที่ไม่ผ่าน Centralized Exchange เราจะต้องมีจำนวน ETH ขั้นต่ำ 32 ETH (หรือประมาณ 2 ล้านบาท) ในการที่จะเปิด Validator Node ด้วยตัวเอง ซึ่งสำหรับคนอย่างเราๆที่มีงบประมาณจำกัดก็ไม่คุ้มค่าที่จะเสียเงินไปกับตรงนี้ แถมการ Stake กับทาง Validator Node นั้น ในตอนที่เราต้องการถอนเงินออก อาจจะต้องรอเวลานานถึง 21-28 วันกว่าเงินจะเข้ากระเป๋าอีกด้วย
Lido จึงเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดมาเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมดตรงนี้นั่นเอง
2) Lido คืออะไร?
Lido คือแพลตฟอร์ม Liquid Staking ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถ Staking ETH ของพวกเขา โดยที่จะไม่มีการล็อคเงินเหล่านั้น และไม่จำเป็นต้องมีจำนวนขั้นต่ำในการฝาก ซึ่ง Lido ไม่ได้รองรับแค่เชน Ethereum อย่างเดียวนะ ยังรองรับการ Staking จากฝั่ง Solana, Kusama และ Polygon อีกด้วย โดยในตอนที่เขียนบทความ Lido นั้นมีจำนวนเงินฝากในแพลตฟอร์ม (TVL) เป็นอันดับ 4 จากทั้งหมด หรือประมาณ 8,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยหลังจากที่เราฝาก ETH เข้าไปใน Lido แล้ว เราจะได้รับ stETH ซึ่งเป็น Yield-Bearing Token ในอัตราส่วน 1:1 ที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกวันตาม Yield Rewards ที่ได้รับ หักกับค่า Slashing หาก Validator Node ที่ Lido นำไปฝากให้นั้นมีประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่ดีนั่นเอง
3) วิเคราะห์ Tokenomics ของ “LDO” ไฮไลท์ตัวสำคัญของ Lido และความเสี่ยงของมัน
LDO เป็น Governance Token ของ Lido ที่ไม่ได้มีการแจกเป็น Incentive เหมือนกับแพลตฟอร์ม DEX ทั่วๆไปในตอนเริ่มต้น โดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา ทาง Lido ได้มีการแจก Airdrop เหรียญ LDO ให้กับผู้ใช้งานรุ่นแรกๆ, ผู้ที่ฝากคู่ LP stETH : ETH ใน Uniswap และผู้ที่ฝาก yvstETH ใน Vaults ของ Yearn Finance เป็นจำนวน 4,000,000 LDO เพื่อเป็นสิทธิ์ในการโหวตทิศทางของแพลตฟอร์มในอนาคต
ทาง Lido จะมีการเก็บค่าธรรมเนียม 10% จาก Rewards ที่เราได้รับจากการ Stake ซึ่ง 5% จะถูกแบ่งไปให้ Validator Node ที่ทาง Lido นำไป Stake และอีก 5% จะถูกแบ่งไปเก็บใน DAO Treasury หรือถ้าตีความเป็นนัยๆคือ 5% จากรายได้ทั้งหมดที่แพลตฟอร์มได้รับ จะถูกสะท้อนไปยังมูลค่าของ LDO เลยโดยตรง
ทุกวันนี้ Lido มีรายได้จากการ Stake สะสมหนึ่งปีย้อนหลังอยู่ที่ 204 ล้านดอลลาร์ (อ้างอิงจากเว็บไซต์ TokenTerminal) และหากลองไปดูกราฟกันก็จะเห็นว่า รายได้ของแพลตฟอร์มนั้นมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเลย บ่งบอกถึงความต้องการในการ Stake ETH รวมถึงเหรียญอื่นๆที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งในตอนที่เขียนบทความ มี Etherum ที่ฝากไว้ใน Lido มากถึง 9,800 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2,904,137 ETH เลยทีเดียว
ซึ่งในอนาคตหลังจากที่ Ethereum ได้เปลี่ยนเป็น Proof of Stake แล้ว นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า Rewards ที่จะได้รับจากการ Staking จากเดิมที่ส่วนหนึ่งต้องแบ่งไปให้ Miners และคนที่ Staking จะได้ไปเพียงประมาณ 4 – 5% เท่านั้น มันจะถูกเด้งกลายเป็น 10 – 15% เนื่องจากคนที่ Stake จะได้รับ Rewards ไปเลยทั้งหมดไม่ได้ถูกแบ่งให้ Miner แล้ว ทำให้ยิ่งรายได้จากแพลตฟอร์ม Lido เพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งสะท้อนไปยังราคาของ LDO มากขึ้นเท่านั้น
เรามาดูสัดส่วนการ Allocation ของ LDO กันก่อนดีกว่า LDO มี Total Supply อยู่ที่ 1,000,000,000 LDO และมีการแจกจ่ายตามสัดส่วนดังนี้ 36.32% ให้กับ DAO Treasury, 22.18% ให้กับ Investor, 20% ให้กับผู้พัฒนา Lido ในช่วงแรก, 15% ให้กับเจ้าของและพนักงาน และ 6% ให้กับ Validator Node ที่ Lido นำไป Stake ด้วย ซึ่งในตอนนี้ DEX ที่มีการแจกจ่าย LDO ให้กับคนที่นำเงินมาฝากเพิ่มสภาพคล่องมีเพียง Curve Finance ที่เดียวเท่านั้น (พูล stETH/ETH) หมายความว่า Sell Pressure ของ LDO นั้นมีต่ำมากๆถ้าเทียบกับ Governance Token ของ DApps ตัวอื่นๆที่มีการแจกจ่ายให้กับทุกพูลในแพลตฟอร์มนั้นๆ
และในส่วนของ DAO Treasury นั้นมีไว้สำหรับ Incentive Liquidity Mining Program อื่นๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงเป็นหลักประกันสำหรับค่า Slashing จากที่อธิบายไว้ด้านบนเราจะเห็นว่า Lido มีการเก็บ 5% ของรายได้ที่ Stakers จะได้รับเข้าไปยัง DAO Treasury นั้น มันเหมือนเป็นการ Buy Back LDO กลับเข้าไปยังกระเป๋าของแพลตฟอร์มโดยตรง รวมไปถึงรายได้ของแพลตฟอร์มที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวันนี้ ยิ่งทำให้ปริมาณ LDO ในตลาดเหลือน้อยลงมากขึ้นไปอีก ส่งผลให้ราคา LDO มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมาขึ้นในอนาคต
แต่อีกหนึ่งความเสี่ยงที่ควรระวังคือ สัดส่วนการ Allocation ของ Investor และ Team นั้นถือว่ามากเกินไป ซึ่งสัดส่วน LDO ของ Investor และ Team นั้นจะถูกล็อคหนึ่งปี และจะมีการปลดแบบ Linear ไปเรื่อยๆอีกหนึ่งปีโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมปีที่แล้ว
ซึ่งถ้าตีความว่าทาง Investor และ Team จะมีการเทขายบางส่วนหลังจากโดนปลดล็อคโทเค็นแล้ว สัดส่วนที่มีโอกาสเทขายนั้นมีสูงถึงเกือบ 60% เลยทีเดียว (22.18% ให้กับ Investor, 20% ให้กับผู้พัฒนา Lido ในช่วงแรก, 15% ให้กับเจ้าของและพนักงาน) แต่ในความเป็นจริงก็มีโอกาสน้อยมากๆที่ทีมจะมีการเทขายอย่างหนัก อาจจะมีแค่การ Take Profit ออกมาไม่มากนั่นเอง
4) Optimize Yield ด้วย “stETH”
อย่างที่บอกเอาไว้ด้านบนว่า stETH ที่เราได้รับหลังจากฝาก ETH ไว้กับ Lido แล้ว เราสามารถนำ stETH ไปเล่นกระบวนท่าเพื่อเพิ่มผลตอบแทนเป็นสองต่อได้ โดยตัวอย่างข้างล่างนี้จะใช้ได้เฉพาะ Ecosystem ของ Ethereum เท่านั้นนะ
stETH : ETH ใน Curve Finance, Balancer ได้ APY เฉลี่ยเพิ่มประมาณ 5.5 – 6%
stETH นำไปเป็นหลักประกันใน Aave V2
wstETH นำไปวางใน Vaults ของ MakerDAO เพื่อกู้ DAI (ต้องนำ stETH ไปแลกเป็น wstETH ก่อน)
หรือสำหรับฝั่ง Solana ก็นำ stSOL ไปฝากคู่ LP stSOL/SOL ใน Raydium ก็ได้เช่นกัน ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น แถมยังสามารถควบคุมความเสี่ยงจากการถูก Liquidation กรณีนำเงินไปฝากในแพลตฟอร์ม Lending ได้อีกด้วย
มูลค่าตลาดปัจจุบันของ Lido อยู่ที่ $358,147,641 หรือประมาณ 12,177,019,794 บาท อยู่อันดับที่ 107 (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap) มี Circulating Supply อยู่ที่ 312,951,153 LDO จากทั้งหมด 1,000,000,000 LDO มีราคาสูงสุด 24 ชั่วโมงย้อนหลังอยู่ที่ $1.22 และมีราคาต่ำสุด 24 ชั่วโมงย้อนหลังอยู่ที่ $1.14 สามารถเทรด LDO ได้ตามเว็บเทรดชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น Binance, Gate.io, Gemini, Bybit นั่นเอง
ขอบคุณเพจ BitToon สำหรับกราฟิก และเพจ Jolden Crypto สำหรับเนื้อหาด้วยนะครับ