ข้อมูลล่าสุดจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ชี้ให้เห็นว่าประเทศเคนยามีสัดส่วนของผู้อยู่อาศัยที่เป็นเจ้าของคริปโตเคอร์เรนซีสูงที่สุดกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบทวีปแอฟริกา เพื่อเป็นการตอบโต้ถึงการใช้คริปโตเคอร์เรนซีที่เพิ่มขึ้น UNCTAD กล่าวว่าแนะนำว่าควรมีการจัดเก็บภาษีที่กีดกันการซื้อขายคริปโตฯ
ยูเครนครองแชมป์อันดับ 1 ขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 12
จากข้อมูลล่าสุดของการสรุปนโยบาย การครอบครองสกุลเงินดิจิทัลของประเทศเคนยาคิดเป็นสัดส่วนต่อประชากรที่ 8.5% ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประเทศในแถบแอฟริกาและยังครองอันดับที่ 5 ของโลกอีกด้วย โดยอันดับหนึ่งเป็นของยูเครน (12.7%) รัสเซีย (11.9%) เวเนซุเอลา (10.3%) และสิงคโปร์ (9.4%) ตามลำดับ และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 12 ของโลก ด้วยจำนวนผู้ถือครองที่ 5.2%
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า แอฟริกาใต้เป็นประเทศอันดับสองในทวีปแอฟริกาและอันดับที่แปดของโลก โดย 7.1% ของประชากรที่เป็นเจ้าของหรือถือครองคริปโตฯ ปี 2021 และในประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนประมาณ 6.3% ของประชากรเป็นเจ้าของหรือถือสินทรัพย์คริปโตฯ จากการใช้ข้อมูลของ UNCTAD แสดงให้เห็นว่าจากประชากรของประเทศต่าง ๆ ที่มีประชากรร่วม 211 ล้านคน มีเพียง 13 ล้านคนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลในปี 2564
จาก 20 ประเทศที่ทำการสำรวจ พบว่าประเทศออสเตรเลียมีเปอร์เซ็นต์ของประชากรน้อยที่สุด (3.4%) ที่เป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลในช่วงเวลาเดียวกัน
ในขณะเดียวกัน ในรายงานยังมีการค้นพบอีกว่า UNCTAD ยอมรับว่าคริปโตเคอร์เรนซี ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางที่น่าสนใจในการส่งเงิน โดยหน่วยงานของสหประชาชาติกล่าวว่า มีการพบว่าบุคคลที่มีรายได้ปานกลางจากประเทศที่กำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ และการเป็นเจ้าของหรือถือครองคริปโตฯ โดยมองว่าเป็น วิธีการปกป้องเงินออมในครัวเรือน
ที่มา: Bitcoin.com
ภาพ LINK