วิธีทำกำไรในช่วงตลาดขาลง ด้วยการซื้อขาย Futures บนเว็บเทรด Binance

การซื้อขายแบบ Future บน Binance คืออะไร ?

ตลาด Futures คริปโตเป็นตลาดสำหรับซื้อขาย “สัญญาล่วงหน้า” ที่ Binance สร้างขึ้นมาเพื่ออ้างอิงกับราคาเหรียญคริปโตเหรียญนั้นๆ โดยผู้ใช้งานจะสามารถออกแบบกลยุทธ์ได้มากกว่าการซื้อขายแบบ Spot (การซื้อแล้วถือแบบปกติ)

โดยสัญญาของการซื้อขายแบบ Future จะมี 2 แบบได้แก่

  1. สัญญา Long / Buy

สัญญาประเภท Long จะคล้ายๆกับการที่เราถือเหรียญแบบ Spot เลยคือ ยิ่งราคาเหรียญที่เราทำสัญญาเพิ่มขึ้น สัญญา Long ของก็จะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากราคาเหรียญที่เราทำสัญญาลดลง มูลค่าของสัญญาของเราจะลดลง ซึ่งสัญญาประเภทนี้เหมาะสำหรับ การทำกำไรในตลาดขาขึ้น

  1. สัญญา Sell / Short

สัญญาประเภท Short จะตรงกันข้ามกับสัญญาประเภท Long เลยคือ ยิ่งราคาเหรียญที่เราทำสัญญาเพิ่มขึ้น สัญญา Short ของก็จะมีมูลค่าเพิ่มลดลง ในทางตรงกันข้าม หากราคาเหรียญที่เราทำสัญญาลดลง มูลค่าของสัญญาของเราจะเพิ่มขึ้น ซึ่งสัญญาประเภทนี้เหมาะสำหรับ การทำกำไรในตลาดขาลง  หรือ การทำเพื่อ Hedge พอร์ทการลงทุนของเรา

นอกจากการทำกำไรได้ทั้งตลาดขาลงและขาขึ้นแล้ว การเทรด Future ยังสามารถทำให้เราเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนได้ แต่ก็จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า การ “Leverage”

การ Leverage ของ Future บน Binance

การ Leverage คือการที่เราวางหลักประกันเป็นเงินของเราไว้บางส่วน เพื่อนำไปใช้เปิดสัญญาในการซื้อขายสินทรัพย์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น เรามีเงินเพียง 100 บาท เราก็สามารถเปิดสัญญา Future ของ Bitcoin ที่มีมูลค่า 1000 บาทได้ (10 เท่าของเงินที่เรานำไปเป็นหลักประกันในการทำสัญญา)

ตัวอย่างเช่น เรามีเงิน 100 บาท แต่เราต้องการเปิดสัญญา Future แบบ Short ของ BTC ที่มูลค่า 1000 บาท หมายความว่า ในกรณีนี้เราทำการ Leverage ที่ 10 เท่า ซึ่งสมมุติต่อมา BTC มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10% สัญญา Long ของเราก็จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 1100 บาท เท่ากับว่าเราได้กำไร 100 บาท (100% ของเงินที่เราใช้เปิดสัญญา) ในทางกลับกัน หาก BTC เกิดราคาร่วงลง 10% มูลค่าของสัญญาที่เราเปิดไว้จะเหลือ 900 บาท เท่ากับว่าเราขาดทุนไป 100 บาท หรือ 100% ของเงินที่เรานำไปเปิดสัญญา ในกรณีนี้เราจะเรียกว่า สัญญาของเราถูก Liquidated หรือถูกบังคับปิดสัญญาแบบขาดทุน (เงินทั้งหมดที่เรานำไปเปิดสัญญา Future จะหายไป)

ซึ่งใน Binance Futures เราสามารถปรับค่า Leverage ของสัญญาได้ตั้งแต่ 1x ไปจนถึง 125X นั่นหมายความว่าเราสามารถใช้เงิน $10 ซื้อขายสัญญา Futures จำนวนสูงสุดได้ถึง $10 x 125 = $1,250 เลยทีเดียว แต่โดยปกติจะไม่ค่อยมีใครซื้อขายสัญญาที่ค่า Leverage สูงขนาดนี้ เพราะถ้าราคาเหรียญวิ่งสวนทางกับสัญญาที่เราซื้อขายมา มีโอกาสสูงมากที่สัญญาของเราจะถูกระบบทำการ liquidate ได้ง่ายกว่าค่า Leverage ที่ต่ำกว่า โดยปกตินักเทรดส่วนมากจะเซ็ตค่า Leverage นี้อยู่ประมาณ 4x – 20x (โปรดจำไว้ ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็สูงตาม)

วิธีการเปิดบัญชีเพื่อใช้งาน Binance Futures

หลังจากที่เราทำการสมัครและ KYC ยืนยันตัวตนบน Binance.com เรียบร้อยแล้วเราจะสามารถเริ่มเทรดบน Binance Future ได้โดย

ไปที่เมนู Derivative แล้วเลือกหัวข้อ USD(S)-M Futures

หลังจากกดเข้าไปแล้ว บนหน้าต่างเราจะเห็นกราฟที่ไว้สำหรับเทรดสัญญา Future

การฝากเงินเข้าบัญชี Binance Future

ก่อนที่เราจะสามารถเทรด Future ได้ เราต้องมีเงินสำหรับการเทรดก่อน ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการ Tranfers เหรียญที่เราต้องการนำมาเทรด ที่นิยมคือ USDT หรือ BUSD จาก Spot Wallet ที่เรามีได้

โดยคุณสามารถโอนเงินไปมาได้ระหว่างกระเป๋าเงินของคุณใน Binance และกระเป๋าเงิน Futures (กระเป๋าเงินที่คุณใช้ใน Binance Futures) โดยหากต้องการโอนเงินไปยังกระเป๋าเงิน Futures ให้คุณคลิกที่ Transfer ที่อยู่ตรงมุมล่างขวาของหน้า Binance Futures จากนั้นกำหนดจำนวนเงินที่คุณต้องการโอนและคลิกที่ Confirm transfer  คุณจะเห็นยอดเงินที่เพิ่มขึ้นในกระเป๋าเงิน Futures ของคุณ 

แนะนำการใช้งานหน้าอินเทอร์เฟซของ Binance Futures

เมื่อเราเข้ามายังหน้าต่างหน้าแรกของ Binance Future แล้วเราจะเห็นองค์ประกอบต่างๆได้แก่

หมายเลข 1

ชื่อสัญญาที่เราจะทำการเทรด ตัวอย่างในรูปคือ BTCUSDT Perpetual หมายความว่า ตอนนี้เรากำลลังจะเทรดสัญญา Future ของคู่เหรียญ BTCUSDT อยู่ ส่วน Perpetual นั้นหมายความว่าสัญญานี้จะไม่มีวันหมดอายุ หรือ คือเราสามารถเทรดไปได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องกังวลเรื่องสัญญาหมดอายุนั้นเอง

หมายเลข 2

Funding Rate เป็นตัวเลขที่เราควรให้ความสนใจ หากตัวเลขนี้เป็นบวกคนที่เปิด Position Long อยู่ต้องจ่ายเงินให้กับคนที่เปิด Position Short ตามตัวเลขที่แสดงอยู่ ซึ่งจะจ่ายทุกๆ 8 ชั่วโมงหรือวันละ 3 รอบนั่นเอง

หมายเลข 3

นี่คือ chart ของคุณ ที่มุมด้านขวาบนของพื้นที่นี้คุณสามารถสลับไปมาระหว่างแบบ Original กับ chart ของ TradingView หรือดู depth ของ order book แบบเรียลไทม์

หมายเลข 4

เป็นที่ที่เราให้เลือกว่าจะเปิด Position แบบ Isolated หรือ Cross ซึ่งถ้าเป็นมือใหม่จะแนะนำให้เปิดแบบ Isolated มากกว่าเพื่อป้องกันการพอร์ทแตก ส่วนตัวเลขขวามือจะแสดงถึงจำนวนเท่าที่เรา leverage นั่นเอง

หมายเลข 5

ที่นี่คุณสามารถป้อนราคาของสัญญาที่เราต้องการเปิดได้ และปรับขนาด Position size ของเรา

หมายเลข 6

ที่นี่คุณสามารถป้อนคำสั่งซื้อของคุณ และสลับไปมาระหว่างประเภทคำสั่งซื้อที่แตกต่างกัน ระหว่างการเปิด Position Short หรือ Long

หลังจากที่คุณทำการเปิด Position เรียบร้อยแล้ว Position ของคุณจะไปแสดงในด้านล่างของหน้านี้

หมายเลข 7

ในข้างล่างจะแสดงถึงสถานะ Position ของคุณ ได้แก่ ราคาที่เราทำการซื้อสัญญา , ราคาของสัญญาในตลาดปัจจุบัน , Margin Ratio , และ PNL (ผลกำไรหรือขาดทุนในแต่ละ Position)

หมายเลข 8

หน้าปัดแสดงความเสี่ยงของ Position ที่เราเปิด

การตั้งราคา Trigger ประเภท Mark Price และ Last Price สำหรับ Stop order ต่างๆ

เพื่อหลีกเลี่ยง liquidation (การบังคับปิดสัญญาซื้อขาย) ที่ไม่จำเป็นในช่วงที่ราคามีความผันผวนสูง Binance Futures จะมีตัวเลือกให้เราตั้งค่า Last Price และ Mark Price

Last Price ก็คือราคาสุดท้ายที่มีการซื้อขาย contract กล่าวอีกนัยหนึ่ง last trade ใน trading history จะเป็นตัวกำหนดราคาสุดท้าย โดยใช้การคำนวณ PnL (Profit and Loss)

Mark Price ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการควบคุมราคาของเจ้าในตลาดใดตลาดหนึ่ง คำนวณโดยใช้การรวมกันของ funding data และ basket of price data จากหลายๆกระดานซื้อขายคริปโต ซึ่งราคาที่คุณจะถูก liquidation (บังคับปิดสัญญา) และ unrealized PnL จะคำนวณตามราคา Mark Price นี้

(โปรดทราบว่าราคา Mark Price และ Last Price อาจแตกต่างกัน  เมื่อคุณตั้งค่า stop order เป็นทริกเกอร์ ณ ราคาใด คุณจะสามารถเลือกราคาที่คุณต้องการใช้เป็นทริกเกอร์ได้ระหว่าง Last Price หรือ Mark Price ซึ่งในที่นี้หากเราอยากป้องกันการทุบหรือปั่นราคาของเจ้าในตลาด ให้เลือก Mark Price เพื่อใช้ในการตั้งค่า Stop order ได้)

ประเภทของ Order ในการตั้งซื้อ-ขายสัญญา

Limit : limit order คือคำสั่งซื้อที่คุณวางไว้ใน order book ที่มี limit price ที่คุณกำหนด เมื่อคุณวาง limit order การซื้อขายจะดำเนินการก็ต่อเมื่อ market price มีราคาถึง limit price ของคุณ (หรือดีกว่า) ดังนั้นคุณอาจใช้ limit orders เพื่อซื้อในราคาที่ต่ำกว่าหรือขายในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน

Market : market order เป็นคำสั่งซื้อหรือขายในราคาปัจจุบันที่ดีที่สุด จะดำเนินการตาม limit orders ที่วางไว้ก่อนหน้านี้ใน order book เมื่อคุณใช้ market order คุณจะเสียค่าธรรมเนียมในฐานะ market taker

Stop-Limit : วิธีที่ง่ายที่สุดในการเข้าใจ คือ Stop order ประเภท Limit โดยแบ่งออกเป็น stop price และ limit price ซึ่ง stop price เป็นราคาที่ทำให้เกิด limit order และ limit price คือราคาของ limit order ที่ถูกเรียก ซึ่งหมายความว่าเมื่อถึงราคา stop price ของคุณแล้ว limit order ของคุณจะถูกวางลงใน order book ทันที

* คุณสามารถใช้ Trigger ราคาของ Stop order เป็น Mark Price และ Last Price ได้

แม้ว่า stop และ limit prices จะมีความเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงมันจะปลอดภัยกว่าหากคุณตั้ง stop price (trigger price) สูงกว่า limit price เล็กน้อยสำหรับ sell orders หรือต่ำกว่า limit price เล็กน้อยสำหรับ buy orders โดยสิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสที่ limit order ของคุณจะถูก fill หลังจากถึง stop price

Stop-Market: เช่นเดียวกับคำสั่ง stop-limit คำสั่ง stop-market ใช้ stop price เป็นทริกเกอร์ อย่างไรก็ตามเมื่อถึง stop price มันจะส่งผลให้เกิดคำสั่งซื้อของ market order ทันที

* คุณสามารถใช้ Trigger ราคาของ Stop order เป็น Mark Price และ Last Price ได้

Binance Futures calculator

คุณสามารถค้นหา calculator ได้โดยจะอยู่ข้างๆ ปุ่ม Transfer ในส่วนมุมขวาล่าง โดยมันจะช่วยให้คุณสามารถคำนวณค่าก่อนที่จะ long หรือ short position คุณสามารถปรับเลื่อน leverage ในแต่ละแท็บเพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการคำนวณสัญญาของคุณ

Calculator จะมีทั้งหมด 3 แท็บได้แก่

PNL – ใช้เพื่อคำนวณ Initial Margin ,  Profit and Loss (PnL) , และ Return on Equity (ROE) ของคุณขึ้นอยู่กับการเข้าและออกราคาและ position size

Target Price – ใช้เพื่อคำนวณราคาที่คุณจะออกจาก  position ของคุณเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการ

Liquidation Price – ใช้แท็บนี้เพื่อคำนวณราคา  liquidation โดยประมาณของคุณตามยอดเงินในกระเป๋าของคุณ , ราคา entry price และ position size

สรุปข้อดี-ข้อเสีย

  • สามารถทำกำไรได้ไม่ว่าตลาดจะอยู่ในช่วงขาขึ้น หรือ ขาลง (ราคาเหรียญลงให้ซื้อสัญญา Short เพื่อทำกำไร , ราคาเหรียญขึ้นให้ซื้อสัญญา Long เพื่อทำกำไร)
  • ใช้ทุนน้อยทำกำไรมากได้จากค่า leverage (ยิ่งจำนวน X เยอะความเสี่ยงยิ่งมาก)
  • ใช้ hedge ความเสี่ยงของราคาเหรียญที่ถือได้ เช่นถ้าเรามั่นใจว่าราคาเหรียญจะลงแน่นอน สามารถซื้อสัญญา Futures ประเภท Short ไว้ได้ เพื่อถ่วงดุลมูลค่าเหรียญที่ถืออยู่
  • มีโอกาสถูก liquidated (บังคับปิดสัญญาแบบขาดทุน) เมื่อราคาเหรียญวิ่งสวนทางกับสัญญาที่เราซื้อ เช่น เมื่อเราซื้อสัญญาประเภท Short แล้วราคาเหรียญพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง

คำเตือน

แนะนำให้ใช้ Leverage ไม่เกิน 10x เพราะตลาดคริปโตผันผวนเป็นอย่างมาก และหมั่นเช็คสุขภาพของ Position ที่เราเปิดอยู่เสมอๆเพื่อหลีกเลี่ยงการ Liquidate

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป