“Diem” ของ Facebook จะเป็นภัยคุกคามต่อระบบธนาคารแบบดั้งเดิมหรือไม่?

มีรายงานว่า Facebook จะสามารถเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลที่รอคอยมานานได้ในช่วงต้นเดือนมกราคมปี 2021 ในรูปแบบของ stablecoin ที่ผูกกับดอลลาร์สหรัฐ  ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลถูกกระตุ้นให้ต้องขยับตัวนับตั้งแต่ครั้งแรกที่ Facebook ประกาศเจตนารมณ์ในปี 2019 ซึ่งพวกเขามีสิทธิ์ที่จะกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Diem ที่เปลี่ยนโฉมใหม่ มีศักยภาพในการสร้างผลกระทบให้กับเครือข่ายขนาดใหญ่

แต่พวกเขายังมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลในรูปแบบของความเร็ว , ประสิทธิภาพ , และโอกาสในการเข้าถึงระบบการเงินอย่างเท่าเทียม  และสามารถทำหน้าที่เป็น store of value สำหรับประเทศที่ไม่มีสกุลเงินในประเทศที่มั่นคง คล้ายกับการใช้เงินดอลลาร์ที่มีอยู่ในประเทศตลาดเกิดใหม่จำนวนมาก ในปัจจุบัน Stablecoins ที่มีโครงสร้างดีพร้อมการควบคุมทางกฎหมาย กฎข้อบังคับ และการกำกับดูแลที่เหมาะสม มีบทบาทอันมีค่าต่อเศรษฐกิจโลกและสามารถนำประโยชน์ของเทคโนโลยี crypto มาสู่ผู้ใช้รุ่นใหม่ทั้งหมด

Diem หรือเดิมเรียกว่า Libra เป็น Stablecoin ถือเป็น high-profile stablecoin  โดยมีการพูดคุยกันตั้งแต่ครั้งแรกที่ Facebook ประกาศเจตนารมณ์ในปี 2019 อันที่จริง Diem ได้รับเครดิตอย่างกว้างขวางจากการเป็นตัวเร่งการทำงานของธนาคารกลางเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือ CBDC นอกจากนี้ยังพบกับความตื่นตัวอย่างมากจากชุมชนด้านกฎระเบียบของโลก ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวดสำหรับเหรียญ stablecoin

เหตุใดหน่วยงานกำกับดูแลและธนาคารกลางจึงให้ความสำคัญกับเหรียญ stablecoin และมันมีบทบาทสำหรับพวกเขาหรือไม่?

Stablecoins  โดยธรรมชาติแล้วพวกเขาได้รับการออกแบบให้เป็น “store of value” จึงสามารถใช้เป็นช่องทางการชำระเงินได้ และด้วย Diem ที่มีศักยภาพด้วยเครือข่ายขนาดใหญ่ของ Facebook ที่มีผู้ใช้งาน 2.7 พันล้านคนต่อเดือน หมายความว่า Diem มีศักยภาพที่จะกลายเป็น “สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน” ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกได้ทันที

ในส่วนของความเสี่ยง : การจัดเก็บกระเป๋าสตางค์ที่ปลอดภัย , การกำกับดูแลที่ดี , และการควบคุมการป้องกันการฟอกเงิน , การปกป้องข้อมูล , การปฏิบัติตามมาตรการภาษีและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ , ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ต้องได้รับการจัดการ แล้ว Stablecoins ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหรือเปล่า – อย่างน้อยก็ต้องทำให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากสินทรัพย์ใดก็ตามที่พวกเขาถูกตรึงไว้ และมีการควบคุมที่จำเป็นทั้งหมดในการจัดการเงินสำรอง

Stablecoins ที่กลายเป็นเรื่องราวความสำเร็จระดับโลกจะนำมาซึ่งความท้าทายมากยิ่งขึ้น มันอาจมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อระบบการเงินที่มีอยู่หากผู้บริโภคและผู้ออมเงินพยายามที่จะถือสกุลเงินเหล่านี้เมื่อเทียบกับสกุลเงินในประเทศของตนเอง  และอาจมีผลกระทบต่อนโยบายการเงินของประเทศและในที่สุดจะไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ  นี่คือสาเหตุที่หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกต้องเข้ามาให้ความสำคัญกับมัน

ในเดือนตุลาคม 2019 G-7  ได้ออกเอกสารเกี่ยวกับ stablecoins ที่เน้นถึงความเสี่ยงต่อ “นโยบายการเงิน” “เสถียรภาพทางการเงิน” “ระบบการเงินระหว่างประเทศ” และ “การแข่งขันที่เป็นธรรม”

ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดตัวข้อเสนอทางกฎหมายที่ครอบคลุมสำหรับการควบคุมสินทรัพย์ crypto ซึ่งแม้ว่ามันจะครอบคลุมเนื้อหา crypto ทั้งหมด แต่ก็มีข้อกำหนดที่เข้มงวดเป็นพิเศษสำหรับผู้ออก “โทเค็นที่อ้างอิงกับสินทรัพย์” (stablecoin) และอังกฤษก็มีแผนที่จะออกร่างข้อบังคับสำหรับเหรียญ stablecoin และ CBDC ในเร็ว ๆ นี้

ข้อบังคับเหล่านี้ ให้การยอมรับว่า Stablecoins มีศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการเงินที่มีอยู่โดยเสนอการชำระเงินที่รวดเร็วและถูกกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการโอนเงินข้ามพรมแดน นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงโอกาสในการเข้าถึงระบบการเงินอย่างเท่าเทียม และสามารถเสนอ store of value ให้กับผู้ออมเงินในประเทศที่ไม่มีสกุลเงินในประเทศที่มั่นคง ดังนั้น Stablecoins ที่มีโครงสร้างและควบคุมอย่างเหมาะสมจะมีศักยภาพในการนำ cryptocurrencies มาสู่ผู้ใช้รุ่นใหม่ทั้งหมด

ขณะนี้เวลากำลังนับถอยหลัง สำหรับหน่วยงานกำกับดูแลระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศที่ยังไม่มีกรอบการทำงานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหมาะสม  พวกเขากำลังเสี่ยงต่อการที่ภาคการเงินของประเทศของตนจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง  เพราะนั่นคือพลังของผลกระทบจากเครือข่ายของ Facebook

อ้างอิง : LINK

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป