เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร สำหรับผู้เริ่มต้น

เคยได้ยินไหมครับว่า Blockchain เป็นเรื่องเข้าใจยาก วันนี้แอดมินเลยจะมาขอลองเล่าเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน ในแบบฉบับง่าย ๆ แบบที่ทุกคนเข้าใจได้ หวังว่าทุกคนจะเข้าใจกัน

การจดบันทึกทุกอย่างลงบนสมุด

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่มีผู้คนอยู่แค่เพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น แต่ก็นับว่าหมู่บ้านนี้ก็เป็น หมู่บ้านที่สงบเรียบร้อยดี ในวันหนึ่งเกิดสงครามได้เกิดสงครามขึ้น ทำให้หมู่บ้านนี้เกิดความกังวลหากเกิดสงคราม

สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนี้จึงได้ทำการจดบันทึกรายชื่อของประชากรของคนในหมู่บ้านทันที เพราะอาจมีไส้ศึกปะปนเข้ามาในหมู่บ้านและส่งข้อมูลให้แก่ประเทศฝั่งตรงข้ามได้ โดยสมุดบันทึกเล่มนี้ถูกถือไว้โดยผู้ใหญ่บ้าน

อย่างไรก็ตามแม้หมู่บ้านนี้จะเล็กแต่ก็อยู่ในจุดชัยภูมิที่ดีเพราะเป็นหมู่บ้านที่มีเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองต่างๆ จึงพยายามที่จะส่งไส้ศึกเข้ามา แรกๆไส้ศึกเหล่านั้นถูกจับได้ทั้งสิ้นเพราะ ผู้ใหญ่บ้านสามารถตรวจสอบสมุดบันทึกได้ว่าใครเป็นประชากรของหมู่บ้านบ้าง

แต่ไม่นานเมื่อข้าศึกรู้ว่าผู้ใหญ่บ้านใช้สมุดบันทึกนี้ในการตรวจสอบ ข้าศึกจึงมุ่งเป้าไปที่สมุดบันทึกเล่มนี้แทน โดยข้าศึกได้พยายามแอบเข้าไปในบ้านของผู้ใหญ่บ้านยามวิกาล และแก้ไขสมุดบันทึกนั้น แรกๆผู้ใหญ่บ้านก็ไม่รู้ว่าสมุดบันทึกนั้นโดนแก้ไข แต่พอสองสามวันถัดมาผู้ใหญ่บ้านเห็นร่องรอยการแก้ไข จึงรีบทำให้กลายเป็นเหมือนเดิม

ต่อมาข้าศึกจึงได้พยายามวางแผนในการติดสินบนผู้ใหญ่บ้านแรกๆผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ยอมรับ แต่ผู้ใหญ่บ้านก็ได้รับข้อเสนอมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่ง สุดท้ายผู้ใหญ่บ้านก็ยอมแก้สมุดบันทึกนั้น จึงทำให้มีไส้ศึกปะปนเข้ามาในหมู่บ้านและคอยส่งข่าวให้กับฝั่งตรงข้ามจนกระทั่งประเทศฝั่งตรงข้ามชนะสงครามและเผาทำลายหมู่บ้านแห่งนี้ในภายหลัง

สมุดบันทึกกับผู้ใหญ่บ้าน

จากที่เล่ามาเราจะเห็นว่าหากผู้ใหญ่บ้านไม่ยอมรับสินบนประเทศก็อาจจะไม่แพ้สงคราม แต่ในความเป็นจริงแล้ววิธีอื่นที่สามารถทำได้ก็ยังมีอีกมากมายไม่ว่าจะ ลักพาตัว จับตัวประกัน หรือแม้แต่ฆ่าผู้ใหญ่บ้านทิ้งก็สามารถทำได้ 

รูปแบบสมุดบันทึกกับผู้ใหญ่บ้านที่เกิดขึ้นในในภาษาทางการเราจะเรียกว่า ”ระบบตัวกลางล้มเหลว” (Single point of failure) ซึ่งในความเป็นจริงตลอดยุคประวัติศาสตร์ของเรานั้นเราใช้ระบบตัวกลางนี้มาตลอดไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึกประชากรไปจนถึง การจดบัญชีเงินในธนาคาร

ระบบตัวกลางเช่นนี้ไมได้มีแต่ข้อเสียเสมอไปเพราะอย่างไรมันก็ใช้ได้ระดับหนึ่งและยังมีการเสริมความปลอดภัยมากมาย แต่สุดท้ายแล้วระบบนี้ก็ไม่สามารถแก้ไขเรื่องการล้มเหลวของตัวกลางได้ ตลอดประวัติศาสตร์ของเรามีปัญหานี้เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน เราอาจจะเห็นข่าวที่มีพนักงานธนาคารเป็นคนยักยอกเงินของลูกค้า นี่ก็เป็นปัญหารูปแบบหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบที่ต้องพึ่งตัวกลางนั่นเอง

Blockchain กับการนำเสนอทางออกของ Satoshi Nakamoto

ในปี 2008 ปัญหาตัวกลางนี้ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้งอย่างร้ายแรง แต่คราวนี้มันไม่ใช่แค่สมุดบันทึกข้อมูลประชากร แต่มันคือตัวเลขในตลาดที่ดินของสหรัฐอเมริกา มีการเปลี่ยนตัวเลขของผลตอบแทนในตลาดซื้อขายที่ดินเป็นกระบวนการครั้งใหญ่ เมื่อเรื่องแดงความเสียหายต่อเศรษฐกิจจึงมหาศาลผู้คนตกงานและมีผลกระทบเป็นทอดๆไปทั่วโลกไม่ต่างจากผลของสงคราม

นั้นทำให้มีโปรแกรมเมอร์ปริศนาคนหนึ่งได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า Bitcoin ซึ่งเป็นรูปแบบของเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่สามารถแก้ปัญหาตัวกลางล้มเหลวที่มีมาตลอดประวัติศาสตร์ได้ โดยเทคโนโลยีที่ทำงานอยู่เบื้องหลังนี้มีชื่อว่า Blockchain

Blockchain คืออะไร?

โดยพื้นฐานเทคโนโลยี Blockchain คือรูปแบบของการเก็บข้อมูลบน database รูปแบบหนึ่งโดยมีคุณสมบัติหลัก 2 อย่างดังนี้

1. การกระจายข้อมูลไปเก็บหลายๆที่ 

ถ้าเราย้อนกลับไปในตัวอย่างหมู่บ้านในตอนต้นในเมื่อการที่ผู้ใหญ่บ้านถือสมุดบันทึกคนเดียวนั้นเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรง สิ่งที่หมู่บ้านควรทำคือ “ให้มีคนเก็บสำเนาของสมุดบันทึกมากกว่า 1 คน” ซึ่งในจุดนี้อาจจะเป็นตัวแทนที่ถูกเลือกมาหลายๆคนหรือทั้งหมู่บ้านเลยก็ได้ 

ในเมื่อมีผู้คนหลายคนเป็นผู้เก็บสมุดบันทึกประชากรในหมู่บ้าน เมื่อมีการที่จะแก้ไขรายชื่อคนในหมู่บ้าน ทุกคนที่เก็บสมุดบันทึกก็ต้องมารวมตัวกันเพื่อตกลงในการแก้สมุดบันทึก โอกาสที่หัวหน้าหมู่บ้านคนเดียวจะแก้ไขสมุดบันทึกโดยไม่มีคนอื่นล่วงรู้ได้จึงไม่มีอีกต่อไป

หากกรณีที่ประเทศฝั่งตรงข้ามต้องการจะติดสินบนผู้ที่ถือสมุดบันทึก การติดสินบนแค่หัวหน้าหมู่บ้านเพียงคนเดียวจึงไม่เพียงพอ เขาต้องให้สินบนแก่คนทุกคนที่ถือสมุดบัญชี และยิ่งถ้าจำนวนคนที่ถือสมุดบัญชีมีมาก สินบนนั้นก็ต้องมากขึ้นตามและอาจจะมีคนที่ไม่ยอมรับสินบนด้วยซ้ำ ทำให้โอกาสที่จะปลอมแปลงสมุดบันทึกนี้น้อยลงจนแทบเป็นไปไม่ได้เหรือาจต้องใช้ทุนที่มหาศาลมากๆ

2. การเก็บข้อมูลแบบห่วงโซ่

อีกสิ่งที่หนึ่งที่ Blockchain ทำคือการสร้างการเก็บข้อมูลแบบห่วงโซ่หรือมีการอ้างอิงกัน ในสมุดบันทึกแบบดั้งเดิมข้อมูลจะถูกเขียนลงทีละบรรทัดๆ แต่สิ่งที่ Blockchain ทำคือหลังจากที่ ข้อมูลถูกเขียนลงในบรรทัดนั้น เราจะเขียนข้อมูลของบรรทัดก่อนหน้าลงไปในบรรทัดนั้นๆด้วย

หากมีคนพยายามจะปลอมแปลงสมุดบันทึกนั้น จะพบว่าการปลอมแปลงข้อมูลที่ถูกเขียนไปแล้วเป็นสิ่งที่ยากลำบากเอามากๆ เพราะถ้าหากเขาต้องการจะแก้ข้อมูลที่เกิดขึ้นล่าสุดอาจจะพอเป็นไปได้ แต่การแก้ข้อมูลที่ถูกเขียนไปเป็นเวลานานแล้วนั้น การแก้ข้อมูลจะต้องแก้ตั้งแต่ข้อมูลบรรทัดล่าสุดไปจนถึงบรรทัดที่เราต้องการแก้ ส่งผลให้ต้นทุนในการแก้ข้อมูลนั้นสูงมากๆ เว้นแต่ว่าทุกคนที่เก็บสมุดบันทึกนั้นจะแก้ข้อมูลพร้อมกัน

Note: จริงๆในขั้นตอนนี้จะมีการเข้ารหัสเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากมันอาจจะทำความเข้าใจยากเลยขอไม่กล่าวถึงเพียงแค่ให้เข้าในแนวคิดของการเก็บแบบห่วงโซ่เท่านั้น

ประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain

สิ่งที่ Blockchain มอบให้นั้นคือระบบฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงมากและสามารถกำจัดปัญหาตัวกลางที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ด้วย ทำให้เทคโนโลยี Blockchain มีประโยชน์มากในระบบใดก็ตามที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลที่สูงมาก ทำให้เราสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนี้มีความน่าเชื่อถือสูง Blockchain จึงมีประโยชน์มากในระบบที่ต้องการ การตรวจสอบปริมาณมากเช่น

  • การโอนเงินนำนวนมากๆ หรือการโอนเงินข้ามโลก
  • การโอนที่ดิน
  • การตรวจสอบคุณภาพสินค้า

Blockchain สามารถทำให้ขั้นตอนเหล่านี้นั้นกระชับขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำลงในแง่การจัดการและในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลนั้นเป็นสิ่งมีมูลค่าการนำข้อมูลไปไว้บน Blockchain ที่ทำให้สามารถถ่ายโอนได้อย่างสะดวกและปลอดภัยนั้นทำให้ข้อมูลทั้งหลายที่ไม่เคยมีมูลค่ามีค่าขึ้น เช่นแนวคิดของ Cryptocurrency ที่เป็นสกุลเงินเสมือนอย่าง Bitcoin หรือแม้แต่การแปลงสินทรัพย์ทุกอย่างบนโลกให้กลายเป็นสินทรัพย์ในแนวคิดของ Digital asset  เป็นต้น

ข้อเสียของเทคโนโลยี Blockchain

แม้เทคโนโลยี Blockchain จะเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ แต่มันก็มีข้อเสียถ้าเราดูตัวอย่างจากตอนต้นการที่สมุดบันทึกนั้นถูกเก็บที่คนหลายๆคนนั้นก็มีข้อเสียตรงที่เราต้องมีสมุดบันทึกหลายเล่ม นั้นเท่ากับว่าต้นทุนมันแพงกว่าสมุดบันทึกเล่มเดียวแน่นอน

นอกจากนี้การจะเขียนข้อมูลในแต่ละครั้งจะต้องได้รับการยินยอมจากคนอื่นๆอีกด้วย นั้นเท่ากับว่าการเขียนข้อมูลนั้นไม่สามารถทำได้รวดเร็ว เพราะต้องมีการให้หลายคนยินยอม เท่ากับว่าแม้ Blockchain จะมอบความปลอดภัยของข้อมูลก็ตามแต่ ต้นทุนการบริหารจัดการนั้นค่อนข้างแพงกว่าระบบตัวกลางแบบเดิมและยังช้ากว่าด้วย แต่หากความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าความเร็ว หรือต้นทุนในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลในระบบตัวกลางนั้นสูงมาก การเลือกใช้บล็อกเชนอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป

FOLLOW ME

Blockchain Life 2024

Crypto Coffee

Cryptomind Research Talk

CryptOmakase

ข่าวต่อไป