Power Ledger บริษัทสัญชาติออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือกับ Thai Digital Energy Development (TDED) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันแบบ P2P ในประเทศไทย
แพลตฟอร์มดังกล่าว จะเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดแบบ peer-to-peer (P2P) เพื่อเพิ่มการยอมรับพลังงานหมุนเวียน โดยประเทศไทยตั้งเป้าหมายที่จะผลิตกระแสไฟฟ้า 25% จากพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2037
ความร่วมมือจากภาครัฐ / เอกชนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสีเขียว
การนำเทคโนโลยี Blockchain ของ Power Ledger มาใช้นั้นได้แก่ การซื้อขายพลังงานแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขาย carbon credits และใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (REC)
ส่วน TDED เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐ / เอกชน ระหว่างบีซีพีจี กับบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และด้วยความร่วมมือกับ Power Ledger จะเป็นการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ในการจัดการโครงการพลังงานสะอาดของ BCPG ทั้งสี่โครงการ รวมถึงการจัดการพลังงานและคาร์บอนที่ 12MW Smart Campus ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Power Ledger ทำงานกับ BCPG มาตั้งแต่ปี 2018 หลังจากเปิดตัวการทดลองซื้อขายพลังงานแบบ P2P ในหนึ่งในย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ไทยดิจิทัลเอนเนอร์ยี่เดเวลอปเม้นท์ จำกัด (Thai Digital Energy Development/TDED) เปิดเผยว่า การลงนามเป็นพันธมิตรกับ Power Ledger ในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีบล็อคเชน ในประเทศไทย.ของบริษัท ไทยดิจิทัลเอนเนอร์ยี่เดเวลอปเม้นท์ ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการขยายธุรกิจด้านดิจิทัลของกลุ่มบริษัทบีซีพีจี ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งบีซีพีจีได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด
ทางด้าน Vinod Tiwari หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Power Ledger กล่าวว่า “ศักยภาพของการใช้พลังงานร่วมกัน และการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยบล็อกเชนถือเป็นการช่วยเปิดตลาด และเพื่อเร่งการติดตั้งการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา”
เขาเชื่อว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการลงทุนในพลังงานทดแทน พร้อมด้วยเทคโนโลยีของ บริษัทจะสามารถช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการใช้พลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2037:
“แพลตฟอร์มดังกล่าวทำหน้าที่เป็นระบบปฏิบัติการและผู้อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงของตลาดพลังงานจาก centralised ให้เป็นไฮบริด ซึ่งแนวทางการตลาดที่ไม่เหมือนใครนี้ จะทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจในการเร่งการกระจายแหล่งพลังงานและการใช้พลังงานทดแทนในชุมชนและช่วยในการบรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนของประเทศ
บริษัทยังมีความคิดที่จะใช้กรอบความร่วมมือของ TDED เพื่อเข้าถึงผู้เข้าร่วมตลาดพลังงานอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งอาจกำลังต้องการใช้เทคโนโลยีการซื้อขายพลังงานผ่านบล็อกเชน
แพลตฟอร์มการซื้อขาย “TraceX REC” ของ Power Ledger จะเปิดใช้งานในประเทศไทยในปีนี้เพื่อเป็นตลาดสำหรับผู้ผลิตและผู้ซื้อ carbon credits และ RECs นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ผู้คนและองค์กรที่ผลิตและใช้พลังงานในการแลกเปลี่ยนแบบ P2P และขายพลังงานส่วนเกินภายในพื้นที่ใกล้เคียง