[สรุป] โครงการอินทนนท์ และเหรียญ CBDC ของแบงก์ชาติคืออะไร คนไทยจะได้ใช้หรือไม่

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม ที่เพจ Facebook “Bit Investment” ได้มีการเชิญทีมพัฒนา CBDC ของเมืองไทย ที่มีชื่อว่า “โครงการ Inthanon (อินทนนท์)” มาพูดคุยกัน

โดยมีแขกรับเชิญจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มาร่วมพูดคุยกันใน Live ถึง 3 ท่านได้แก่ คุณอาจารีย์ ศุภพิโรจน์ Special Advisor (Digital Finance , คุณกษิดิศ ตันสงวน Project Manager, Project Inthanon และ คุณวิจักขณ์ เศรษฐบุตร Senior Developer Project Inthanon

จริง ๆ แล้ว CBDC หมายความว่าอะไร แตกต่างจาก Crypto ยังไง?
คุณกษิดิศ กล่าวว่า
“CBDC ก็คือสกุลเงินดิจิตอลที่ออกโดยธนาคารกลาง มีความแตกต่างจากเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปในเรื่องของเทคโนโลยีที่ใช้ โดยทางคุณ คุณอาจารีย์ ศุภพิโรจน์ กล่าวเสริมว่า CBDC มีความแตกต่างจาก Crypto คือการเป็น Legal tender ที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ Crypto ไม่มีสถานะแบบนั้น สรุปสั้น ๆ ก็คือว่า CBDC ก็คือเงินกระดาษแต่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์”

คุณกษิดิศ ตันสงวน Project Manager, Project Inthanon ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของ CBDC คืออะไร?
คุณกษิดิศ กล่าวว่า
“จุดประสงค์หลัก ๆ อย่างประเทศสวีเดนหรือจีนก็คือการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด โดย CBDC ช่วยลดความเสี่ยงที่กระจุกตัวอยู่ใน provider ภาคเอกชน เพื่อทำให้ผู้ใช้ยังอุ่นใจเหมือนการใช้เงินกระดาษ โดยคุณอาจารีย์กล่าวเสริมว่ายังรวมถึงความอุ่นใจของรัฐบาล เนื่องจากมันจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาคเอกชนมากเกินไป”

ในมุมมองของการตื่นตัวของเทคโนโลยีกับการนำเอา CBDC ไปใช้มีมากน้อยแค่ไหน แล้วประเทศไทยอยู่ในระดับไหน?
คุณวิจักขณ์ กล่าวว่า
“CBDC นั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ Wholesale CBDC ซึ่งเป็นเงินที่ธนาคารกลางจ่ายกับแบงค์ กับ Retail CDBC ซึ่งเป็นเงินที่ธนาคารกลางออกให้ประชาชน เช่น ดิจิตอลหยวน ส่วนไทยเราเองก็เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่เริ่มศึกษา CBDC ในชื่อโครงการ Inthanon รวมถึงมีประเทศอื่น ๆ สิงคโปร์ ยุโรป ญี่ปุ่น ซึงเริ่มในปี 2018”

คุณวิจักขณ์ เศรษฐบุตร Senior Developer Project Inthanon ธนาคารแห่งประเทศไทย

มีประเทศไหนที่ CBDC ไปถึงระดับ Retail แล้วบ้าง และประเทศไหนที่ยังอยู่ที่ Wholesale
คุณวิจักขณ์ กล่าวว่า
ประเทศแรก ๆ ที่เริ่มในระดับ Wholesale ก็จะมีแคนาดา สิงคโปร์ และไทย ส่วนระดับ Retail ก็คือสวีเดน ซึ่งมีระบบ e-money ของภาคเอกชนที่คนใช้กันแพร่หลาย ทำให้รัฐบาลต้องการที่จะออก CBDC ที่มีชื่อว่า E-krona และอีกประเทศก็คือกัมพูชาซึ่งมีโปรเจค CBDC ที่ชื่อว่า Bakong ซึ่งเป็นระบบ payment ผ่านมือถือ คล้ายกับระบบพร้อมเพย์ของบ้านเรา ตามมาด้วยประเทศยูเครนที่ออก Pilot ให้พนักงานในธนาคารกลางได้ทดลองใช้ CBDC รวมถึงฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ และสุดท้ายคือเกาหลีใต้ ที่มีการออก request for solution/tender ให้ภาคเอกชนเสนอระบบ CBDC มาเพื่อให้ธนาคารกลางทำการทดสอบ CBDC

อยากให้ช่วยเล่าถึงวัตถุประสงค์กับเป้าหมายของโปรเจค Inthanon ของไทยเรา?

โปรเจค Inthanon ของแบงก์ชาติ มี 3 เฟส ซึ่งปัจจุบันยังเป็น Wholesale CBDC ที่ใช้เฉพาะแค่ระหว่างธนาคารอย่างเดียว ยังไม่ไปถึงขั้น Retail CDBC ที่คนทั่วไปใช้ได้ โดยแต่ละเฟส แบงก์ชาติใช้เวลาพัฒนาประมาณ 3-4 เดือน ทั้งหมดที่ทำขึ้นมายังเป็น proof of concept อยู่ ยังไม่ได้ถึงขั้นใช้งานทั่วไปในระดับ Production

เฟส 1 – นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาช่วยระบบชำระเงิน Bahtnet เพื่อหาโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการโอนเงินระหว่างธนาคาร

เฟส 2 – แบงก์ชาติพยายามใช้บล็อกเชนเพื่อลดตัวกลาง โดยมีการทดลองแลกเปลี่ยนพันธบัตรกับเงินสดระหว่างธนาคารผ่านระบบ Smart Contract

เฟส 3 – เป็น Phase สุดท้ายที่แบงก์ชาติพยายามจะไปให้ถึง คือการ Cross Border หรือการโอนเงินข้ามประเทศด้วยบล็อกเชน เพื่อให้เราสามารถ Tracking การทำธุรกรรมได้

คนไทยทั่วไปจะมีโอกาสได้สัมผัส CBDC ไหม?
คุณกษิดิศ กล่าวว่า
มีโอกาสอยู่แล้ว เเต่เมื่อไรสำคัญมากกว่า โดยต้องดูจำเป็นองคาพยพภาพรวมของทั้งโลกก่อนว่าเราจะทำยังไงให้นวัตกรรมมันเดินไปได้ แต่เราต้องคอยปิดความเสี่ยงแต่ละมิติอย่างไร มันจะเดินช้าหน่อย แต่มันก็จะมั่นคงในระบบที่ทุกคนมั่นใจ ถ้าเราทำออกมาเร็วเกินไป ถ้ามีปัญหาก็จะเสียความเชื่อมั่น เราอยากเดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ”

ความหมายของ Retail CBDC กับ Stable coin ทั่วไปเช่น USDT คืออย่างไร?
คุณอาจารีย์ กล่าวว่า
“Stable coin ทั่วไปที่ออกโดยเอกชน ปัจจุบันยังไม่มีรัฐบาลไหนให้การรับรอง มีแต่การเคลมว่ามีเงิน back อยู่ ซึ่งต่างจาก CBDC ที่อย่างน้อยก็เป็น digital currency ที่ออกโดยรัฐบาลและมีความน่าเชื่อถือมากกว่า”

คุณอาจารีย์ ศุภพิโรจน์ Special Advisor (Digital Finance) ธนาคารแห่งประเทศไทย

เมืองไทยหากจะมีใครทำ Baht Stable มันจะมีได้หรือเปล่า จะติดปัญหาอะไรไหม?
คุณอาจารีย์ กล่าวว่า
“เมืองไทยก็มีหลายเจ้าที่คิดจะทำเรื่องนี้ จริงๆแบงก์ชาติไม่เคยปฏิเสธเรื่องนี้นะ แต่มันมีมุมในเรื่องความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เราถึงพยายามดูแนวทางที่ใช้กำกับ Stable coin ที่เป็นเงินบาท มันจะสามารถกำกับในรูปแบบไหนได้บ้าง ถ้ามันมีแนวทางที่ชัดเจนออกมา เราก็ต้องหารือกับหลายๆเจ้าอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเราได้หลักการออกมา ถึงจะเดินหน้าต่อกันได้แบบสบายใจทุกฝ่าย”

ใบอนุญาต e-wallet ของ True ถ้าเค้าจะทำ Stable coin เค้าจะทำได้ไหม?
คุณอาจารีย์ กล่าวว่า
“ต้องดูว่าเค้ายังทำอยู่ในขอบเขตของใบอนุญาตหรือเปล่า หากจะมีการนำบล็อกเชนมาใช้ ควรจะเข้ามาคุยกับแบงก์ชาติก่อน เพื่อดูรายละเอียดต่างๆเพื่อให้เข้าใจตรงกัน”

ในแง่ของนักพัฒนา ทางแบงก์ชาติจะเปิดให้นักพัฒนาได้เข้าไปพัฒนาต่อยอดได้ไหม?
คุณวิจักขณ์ กล่าวว่า
“ต้องย้ำว่าแบงก์ชาติไม่ได้ปิดเรื่องนวัตกรรม แต่เราต้องหาจุดสมดุลในการปิดความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้น จึงควรจะต้องมีการคุยกันเพื่อร่วมกันเดินไปข้างหน้า แบงก์ชาติไม่ได้น่ากลัวครับ เข้ามาคุยกันได้”

เราจะใช้เงินดิจิตอลหยวนที่มาจากจีนในประเทศไทยได้อิสระหรือไม่?
คุณกษิดิศ กล่าวว่า
“เนื่องจากเรามี พรบ ควบคุมการแลกแปลี่ยนเงิน ร้านค้าจึงไม่สามารถรับเงินสกุลตราต่างประเทศได้ตรงๆ ส่วนพวก alipay ที่เข้ามาในไทย มีการแลกเปลี่ยนเงินหยวนเป็นเงินบาทอยู่หลังบ้าน ร้านค้าจึงรับเป็นบาทได้โดยไม่ต้องสนใจเงินหยวนจากลูกค้าที่จ่ายเข้ามา”

การมี Retail CBDC จะลดบทบาทของธนาคารที่อยู่ใต้ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบันไหมครับ?
คุณวิจักขณ์ กล่าวว่า
“เป็นไปได้ว่าคนทั่วไปอาจจะเก็บเงิน CBDC ไว้กับตัวเองมากขึ้น จนส่งผลกระทบทำให้เงินในธนาคารทั่วไปมีจำนวนลดลงอย่างมาก แต่ในอีกมุมหนึ่งก็มีคนมองต่างว่าคนทั่วไปไม่ได้เก็บเงินออมของตัวเองไว้เองหรอก ถ้ามีเงินเก็บมากๆคนก็มักจะฝากไว้กับธนาคารเพื่อช่วยรักษาเงินของเรา ในแง่ของผลกระทบจึงต้องมองหลายๆมุม”

ในอนาคตมันควรจะไปถึงจุด Retail CBDC และสามารถรับดอกเบี้ย รับเงินทางนโยบายโดยตรงจากรัฐเลยอย่างเลี่ยงไม่ได้หรือเปล่าครับ ?
คุณกษิดิศ กล่าวว่า
“เรื่องดอกเบี้ยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แน่นอนว่าย่อมกระทบกับธนาคารพาณิชย์ แต่ถ้าเราออกแบบให้ดอกเบี้ยของเราต่ำกว่า ก็อาจมีความเป็นไปได้ แต่ตอนนี้แบงก์ชาติแค่พยายามจำลอง CBDC ขึ้นมาก่อน ยังอีกไกลกว่าจะไปถึงจุดนั้น”

ทีมจากธนาคารแห่งประเทศไทยทั้ง 3 ท่าน และพี่บิท (พิธีกรผู้สัมภาษณ์มุมขวาบน)

สรุป

ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นได้ทำการศึกษาเรื่องสกุลเงินดิจิทัล CBDC มาเป็นปีแล้ว และได้มีการทำ proof of concept ไปแล้วถึง 3 เฟส แม้ว่าขณะนี้จะยังอยู่ในระดับ Wholesale CBDC คือใช้กันในระดับธนาคารเท่านั้น โดยยังไม่ได้พัฒนาให้คนทั่วไปใช้งาน Retail CBDC ได้ในขณะนี้ ซึ่งตอนนี้ทางแบงก์ชาติก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะอยู่ในระหว่างศึกษาปัจจัยผลกระทบและความเสี่ยงต่างๆ แต่ถึงอย่างไรในอนาคตคนไทยทั่วไปจะมีโอกาสได้สัมผัสกับเหรียญ CBDC หรือ stable coin ที่ผูกกับไทยบาทแน่นอน อยู่ที่ว่าเมื่อไรเท่านั้นเอง ตอนนี้ก็มีเอกชนหลายเจ้าเข้ามาปรึกษาพูดคุยกับแบงก์ชาติ เพื่อที่จะออกเหรียญ Stable coin ของตัวเอง ทางแบงก์ชาติเองก็ไม่ได้ปิดกั้นแต่อย่างใด โดยพร้อมรับฟังร่วมหารือกับเอกชนทุกรายที่เข้ามา และมีการพูดคุยกันอยู่ตลอด

ทางผู้เขียนก็หวังว่าคนไทย จะได้สัมผัสกับ stable coin ที่มีมูลค่าผูกกับไทยบาทในเร็ววัน เพราะเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยปลดล็อคให้กับนักพัฒนาไทย สามารถสร้างแพลตฟอร์มแบบ decentralized application ได้อีกมากมาย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆในอุตสาหกรรมด้านบล็อกเชนของประเทศไทยต่อไป

สำหรับใครที่อยากดูแบบจัดเต็ม 2 ชั่วโมง สามารถดูได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างครับ

https://www.facebook.com/bitinvestmentth/videos/1115532795488718/?v=1115532795488718

หลังการสัมภาษณ์ผ่านรายการ Bit investment คุณวิจักขณ์ เศรษฐบุตร Senior Developer Project Inthanon ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ฝากข้อมูลเพิ่มเติมเป็นบทความให้กับ Bitcoin Addict เพื่อให้ผู้สนใจไปศึกษาต่อดังนี้

เมื่อวานนี้ (16 พ.ค. 2563) ผมได้มีโอกาสไปออก Live ที่ช่อง Bit Investment พูดถึง Central Bank Digital Currency (CBDC) ซึ่งผมได้เตรียม List ของ reference ของการทำ CBDC around the world ตามแนบ เนื่องจากการ live มีเวลาจำกัด และ อยากเผยแพร่ List นี้เพื่อให้ผู้สนใจไปศึกษาต่อ จึงขอ publish list นี้สำหรับให้ท่านที่สนใจไปศึกษาต่อ และ หากมีข้อเสนอแนะ/comments หรือ อยากคุยกันเรื่องนี้สามารถติดต่อผมได้ที่ vsethaput@gmail.com

คุณวิจักขณ์ เศรษฐบุตร Senior Developer Project Inthanon ธนาคารแห่งประเทศไทย

Note : CBDC Around the world – ข้อมูล CBDC รอบโลก

Wholesale CBDC – เหรียญ CBDC ที่ธนาคารกลางออกให้สถาบันการเงินใช้ ในการชำระธุรกรรมระหว่างกันในปริมาณมากๆ

  1. Canada: Jasper : https://www.payments.ca/industry-info/our-research/project-jasper
  2. Singapore: Ubin : https://www.mas.gov.sg/schemes-and-initiatives/Project-Ubin
  3. Stellar : https://www.boj.or.jp/en/announcements/release_2020/rel200212a.htm/
  4. South Africa: Khokha : https://consensys.net/blockchain-use-cases/finance/project-khokha/
  5. Thailand : Inthanon (โครงการอินทนนท์ของไทย) :

Retail CBDC – เหรียญ CBDC ที่ธนาคารกลางออกให้ประชาชนทั่วไป

  1. China: DECP: “หยวนดิจิตอล” (DCEP) ของจีนคืออะไร ทำไมจีนถึงให้ความสำคัญกับโครงการนี้มาก
    https://bitcoinaddict.org/2020/04/27/china-digital-yuan-dcep/
  2. The Riksbank’s e-krona pilot:
    https://www.riksbank.se/globalassets/media/rapporter/e-krona/2019/the-riksbanks-e-krona-pilot.pdf
  3. Cambodia: Project Bakong:
    https://bakong.nbc.org.kh/
  4. Ukraine:
    https://cointelegraph.com/news/ukraine-completes-pilot-scheme-for-e-hryvnia-national-digital-currency
  5. Request for proposal/solution:
  6. Study Group
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป