นิยามใหม่ของ “Safe Haven”: ทำนายอนาคตปี 2020 โดยเรียนรู้จากอดีตในปี 2012

ความวิตกกังวลปกคลุมไปทั่วตลาด cryptocurrency หลังจากที่ราคาของ Bitcoin ร่วงต่ำกว่าระดับ 10,000 ดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่า halving จะใกล้เข้ามาจนเหลืออีกไม่ถึง 3 เดือนแล้วก็ตาม  ก่อนหน้านี้การเคลื่อนไหวของราคา Bitcoin ทำได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ก่อนที่จะเกิดการปรับฐานครั้งใหญ่ในเดือนมีนาคม ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในตลาดดั้งเดิมและตลาด crypto และในอนาคตอันใกล้ก็ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม  เมื่อมองย้อนเวลากลับไปนักลงทุนอาจพบว่าสภาวะตลาดในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายกับปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่มีการ halving ของ Bitcoin เช่นกัน และเกิดวิกฤตระดับโลกทั้งคู่ ดังนั้นจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะช่วยบอกอะไรเราเกี่ยวกับก่อนและหลัง Halving ได้หรือไม่ในแง่มุมมองในเชิงเศรษฐกิจมหภาค

แรงเทขายจากผลของไวรัส

กุมภาพันธ์เป็นเดือนที่ยากลำบากสำหรับตลาดสกุลเงินดิจิตอล  ด้วยความกลัวที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโรค coronavirus ทำให้ราคา BTC ลดลงจากระดับ 10,400 ดอลลาร์ในช่วงกลางเดือนลงมาถึง 8,500 ดอลลาร์ในตอนท้ายของเดือน ในช่วงที่สภาพแวดล้อมมีความเสี่ยง เทรดเดอร์มักหลีกเลี่ยงการดำเนินการกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเนื่องจากกลัวการสูญเสียเงินซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลกด้วยเช่นกัน Dow Jones ลดลงหนักที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม โดยลดลงถึง 2,013.76 จุด โดยก่อนหน้านี้ลดลงเยอะที่สุดอยู่ที่ 1,190 จุดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ แม้กระทั่งค้าโภคภัณฑ์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเ่ชกัน โดยนํ้ามันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ลดลงต่ำกว่า $50 ต่อบาร์เรล

ในทางตรงกันข้าม  ความต้องการ safe havens กลับเพิ่มขึ้นโดย 10-year Treasury yield ลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์กว่า 0.4% และลงไปต่ำถึง 0.8%

ตลาด cryptocurrency ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก จนบางคนถึงกับสงสัยว่าคุณสมบัติของ Bitcoin ว่าเป็น safe-haven หรือไม่? เพราะดูเหมือนว่าจะไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงได้เลย

เดินทางย้อนเวลา

halving ยังคงเป็นที่สนใจของเหล่าชุมชน crypto แม้จะมีความวุ่นวายในตลาดมากมายก็ตาม การเคลื่อนไหวของราคา BTC เมื่อเร็ว ๆ นี้และความผันผวนของสินทรัพย์อื่น ๆ อาจทำให้นักลงทุน crypto ในระยะยาวรู้สึกกังวล  และทำให้พวกเขาตั้งคำถามว่า halving ยังมีผลต่อปัจจัยในระยะยาวจริงหรือ

หากเราย้อนกลับไปดูปี 2012  ในช่วง halving ของ Bitcoin ครั้งแรก  โดยในปีนั้นมีการเกิดวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป (European debt crisis)

ทุกอย่างเริ่มต้นในปี 2009 เมื่อบางประเทศของสมาชิกสหภาพยุโรปไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ของภาครัฐ  และบางส่วนต้องไปกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อมาต่อลมหายใจ

แน่นอนว่าตลาดหลักทรัพย์และตลาด cryptocurrency ในปี 2012 ยังมีช่องว่างที่แตกต่างจากที่เราอยู่ในปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมที่ตลาดมีความเสี่ยง   มุมมองในด้านลบและความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้

ที่น่าสนใจคือ ราคาของ Bitcoin เพิ่มขึ้นประมาณ 160% ในปี 2012 เนื่องจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป โดยกำไรส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนถึง  halving ครั้งแรก และในปีถัดไปหลังจากผ่านการ halving ก็มีกำไรเช่นกัน  โดยหากเปรียบเทียบในปีเดียวกันนั้น S&P 500 เพิ่มขึ้น 14.5% และ Euro Stoxx 50 เพิ่มขึ้นประมาณ 11.2%

มันก็แค่เรื่องของสกุลเงิน

เรายังคงเน้นถึงเรื่องลักษณะทางธรรมชาติที่เป็น store-of-value ของ Bitcoin และยังคงเชื่อว่ามันเป็นสินทรัพย์สำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ด้วยจำนวน supply ที่จำกัด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ Bitcoin อาจช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเสื่อมค่าลงของสกุลเงิน fiat ได้เป็นอย่างดี

วิกฤตหนี้ในยุโรป  มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบการเงิน และการให้เครดิตที่ง่ายเกินไปในช่วงต้นปี 2000 ผลจากวิกฤตทำให้เกิดโครงการความช่วยเหลือทางการเงิน (Bailout Program) จาก EU และ IMF จำนวนมาก และอัตราดอกเบี้ยก็ลดลง ทำให้เกิดการเสื่อมค่าของเงินยูโร ในช่วงปลายปี 2011 เงินยูโรมีการซื้อขายเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่สูงกว่า $1.40 จนช่วงกลางปี 2012 ที่ลดลงมาเหลือประมาณ $1.20 ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นไปที่ $1.30

วิกฤตดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดการอ่อนค่าของสกุลเงินอย่างมีนัยสำคัญ และ Bitcoin ก็ตอบสนองต่อการเสื่อมราคาในปี 2012 แม้กระทั่งก่อนที่เหตุการณ์ Halving ครั้งแรกจะเกิดขึ้น 

ดังนั้นหากลองพิจารณาถึงความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ coronavirus ในปัจจุบันนั้นแตกต่างอย่างมากจากวิกฤตหนี้ สิ่งที่ตลาดกำลังเผชิญอยู่นั้นดูเหมือนกับสิ่งที่เราทำในปี 2012  เราเชื่อว่าตลาดควรให้ความสำคัญกับวิธีการกำหนดนโยบายต่อการระบาดของโรค และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น

ธนาคารกลางสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครึ่งหนึ่ง ถือเป็นมาตรการฉุกเฉินที่ออกมาเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของไวรัสเมื่อต้นเดือนนี้ และก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สองในเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์ ทำให้ U.S. dollar Index ปรับตัวลดลงจาก 99 ลงสู่ระดับ 97 

ตลาดคาดหวังว่า FED จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในระหว่างการประชุมนโยบายเดือนมีนาคม และในเวลาเดียวกันมตราการการผ่อนคลายจากธนาคารกลางต่าง ๆ ก็ตามมาอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้อาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ G-10 และนั่นอาจเป็นปัจจัยที่เป็นประโยชน์ต่อราคา Bitcoin ในระยะกลางถึงระยะยาว

ผลของ halving อาจต้องรอสักพัก

OKEx Quant ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของราคา Bitcoin หลังจาก Halving นั้นอาจจะใช้ต้องเวลาสักพัก และ market cycle น่าจะกินเวลาจนถึงปี 2022 แม้ว่าการเคลื่อนไหวของราคาล่าสุดอาจดูไม่เหมือนตลาดกระทิง แต่ OKEx Quant ก็เชื่อว่าตลาดในปัจจุบันยังคงอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการ hodling  และนักลงทุนระยะยาวอาจต้องใช้ความอดทนเพื่อรอดูผลในท้ายที่สุด

ข้อสรุป

ตลาด Bitcoin ยังมีขนาดเล็กมากในช่วงที่เกิดวิกฤตหนี้ในยุโรป  และในวันนี้ก็ยังค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ แม้ว่า Bitcoin และ cryptocurrencies อื่น ๆ อาจไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เนื่องจากนักเทรด  Bitcoin จะเลือกเทขายมันเพื่อชดเชยความสูญเสียในสินทรัพย์อื่น ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเกิดวิกฤติ และเหล่าผู้นำประเทศเริ่มออกมาตรการ Quantitative Easing อาจทำให้ Bitcoin กลายป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงต่อการลดลงของค่าเงิน

ที่มา : LINK

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป

FOLLOW ME

Blockchain Life 2024

Crypto Coffee

Cryptomind Research Talk

CryptOmakase

ข่าวต่อไป