สตาร์บัคส์ กำลังกลายเป็นบริษัททางการเงินรายใหญ่ รายงานจาก The Korea Times

ร้านสตาร์บัคส์ (Starbucks) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ภัยคุกคามต่อคู่แข่งในอุตสาหกรรมกาแฟอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากตอนนี้กลุ่มธนาคารเกาหลีกำลังกังวลว่า ด้วยความนิยมและความสะดวกในการใช้แอพสำหรับการชำระเงินแทนเงินสด กำลังจะทำให้ สตาร์บัคส์ กลายเป็นผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ของโลก ตามรายงานของ The Korea Times

กลุ่มธนาคารเกาหลี กล่าวว่า ร้านสตาร์บัคส์เป็นภัยคุกคามต่อตลาดการเงิน เนื่องจากลูกค้านำเงินสดจำนวนมาก มาเติมลงในบัตรเติมเงินของสตาร์บัคส์ ซึ่งทางด้าน Yoon Jong-kyoo ประธานกลุ่มการเงิน KB กล่าวว่า

“แอพชำระเงินบนมือถือที่ได้รับความนิยมใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือแอพ Starbucks ไม่ใช่ Google หรือ Apple Pay” 

จากข้อมูลของ MarketWatch ลูกค้าสตาร์บัคส์ในสหรัฐฯ ได้ใช้จ่ายเงินไปกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในบัตรของขวัญและแอพมือถือ ณ ไตรมาสแรกของปี 2016 ซึ่งถือว่ามากกว่าธนาคารรายใหญ่ในอเมริกาเสียอีก  แม้ว่าจำนวนเงินสดที่อยู่ในหน่วยของสกุลเงินเกาหลีนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็คาดการณ์ว่ามีกว่า 70 พันล้านวอนหรือ 602 ล้านเหรียญสหรัฐ

หากย้อนไปดูรายงานประจำปี 2018 ของสตาร์บัคส์ แสดงให้เห็นว่ามีเงินจำนวนกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่อยู่ในบัตรเติมเงินของผู้บริโภคที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ

“เงินสดจำนวนนี้จะทำให้สตาร์บัคส์ก้าวเข้าสู่ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ระดับโลก โดยอาจขยายบริการไปสู่การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ , สินเชื่อและตลาดประกันภัย” Kim Jung-tai ประธานกลุ่มธุรกิจการเงิน กล่าว

“เทคโนโลยี ช่วยให้บริษัทกาแฟอย่าง สตาร์บัคส์ กลายมาเป็นคู่แข่งของเรา มันไม่เป็นเรื่องดีเลยที่สตาร์บัคส์กลายเป็นธนาคารที่ไม่มีการควบคุม ไม่ใช่บริษัทกาแฟเพียงอย่างเดียวอีกแล้ว”

นักวิเคระห์ยังอ้างถึงการลงทุนของบริษัทกาแฟในส่วนของ crypto นั่นก็คือแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิตอลของ Bakkt ที่คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้บริโภคในการชำระเงินด้วย Bitcoin กับร้านสตาร์บัคส์เป็นที่แรก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020

นายธนาคารชาวเกาหลี ยังกลัวว่าสตาร์บัคส์อาจกระตุ้นให้เกิดตลาดการเงินทางเลือกจากระบบเดิม และเรียกร้องให้มีการออกกฎระเบียบเพิ่มขึ้นสำหรับบริษัทเหล่านี้ ทางด้าน Kim Sang-bong จากมหาวิทยาลัย Hansung บอกกับทาง The Korea Times ว่า

“จำเป็นจะต้องมีกฎระเบียบสำหรับผู้ให้บริการระบบเติมเงิน เพื่อรักษาอัตราส่วนความเพียงพอของทุน (Capital Adequacy Ratio) ให้อยู่ในระดับปกติ”

เจ้าหน้าที่ธนาคารยังชี้ให้เห็นว่า สตาร์บัคส์ทำตัวเหมือนบริษัทฟินเทคหรือธนาคารที่ไร้การควบคุมมากกว่าบริษัทกาแฟ “ การลบคำว่า ‘coffee’ ออกจากป้ายโฆษณา ก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้ว”

ที่มา : LINK

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Radius

ผู้เชี่ยวชาญการเขียนข่าว บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin , คริปโตเคอเรนซี่ และ Blockchain ทั้งในไทยและต่างประเทศ อัพเดทราคา มุมมองการลงทุน ใหม่ล่าสุดทุกวัน
ข่าวต่อไป

FOLLOW ME

Blockchain Life 2024

Crypto Coffee

Cryptomind Research Talk

CryptOmakase

ข่าวต่อไป