ในช่วงเดือนมิถุนายนปี 2017 มีคนมากมายแห่ไปซื้อการ์ดจอเพื่อมาประกอบหรือสร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘Mining Rig’ (เครื่องขุดเงินดิจิทัลที่มีการ์ดจอมากกว่า 1 ตัว) เพื่อขุดเงินดิจิทัล ส่งผลให้เกิดภาวะการ์ดจอขาดตลาด และทำให้ราคาการ์ดจอพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก สิ่งที่คนทั่วไปเห็น คือ ภาพของคอมพิวเตอร์ที่มีการ์ดจอหลายอันประกอบเข้าด้วยกันและเปิดใช้งานอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของ Mining Rig หรือ ‘เครื่องขุด’ นี้ จะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินดิจิทัล กลายเป็นวลีเด็ดที่ว่า “เสียบปลั๊กรับตังค์” สิ่งนี้ขัดแย้งกับความคิดเดิม ๆ และทำให้ผู้ที่เคยชินกับสกุลเงินที่จับต้องได้เกิดความสงสัยว่า สิ่งนี้มันจะสร้างเงินออกมาได้อย่างไร และเกิดการตั้งคำถามตามมาอีกว่าการขุด Bitcoin คืออะไร หลักการและเบื้องหลังของมันเป็นอย่างไร เหตุใดคนมากมายถึงกล้าลงทุนกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำนวนมากเพื่อทำสิ่งนี้ รวมถึงระบบ Bitcoin ได้อะไรจากการที่คนมาแย่งกันขุด
การขุดคืออะไร
ทำไมการขุดถึงสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำออกมาได้ เพียงแค่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาวางเท่านั้นหรือ? เราขออธิบายก่อนว่าจริงๆแล้วมันไม่ใช่แค่การนำคอมพิวเตอร์มาวางเฉยๆ การขุดแท้จริงแล้วมันคือการแข่งขันในการแย่งชิงสิทธิ์ในการยืนยันการทำธุรกรรมให้แก่ระบบที่เป็น Decentralized อย่าง Bitcoin โดยผู้ที่เป็นผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็น Bitcoin ที่เกิดขึ้นใหม่จำนวนหนึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมไป
พอฟังตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่าแล้วมันแข่งกันยังไง ทำไมต้องแข่ง แล้วทำไมแข่งชนะถึงได้รางวัล ซึ่งเราจะต้องขอย้อนกลับไปถึงระบบการทำงานของ Blockchain เสียก่อน ระบบ Blockchain ของ Bitcoin นั้นทำงานอยู่คอมพิวเตอร์ที่เป็น Node จำนวนเกือบ 10,000 ตัว โดย Node เหล่านี้คือคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลบัญชี Blockchain ของ Bitcoin ที่ใช้ในการอ้างอิง
เมื่อมีการทำธุรกรรมการโอน Bitcoin เกิดขึ้นเช่นเมื่อนาย A โอนเงินให้นาย B 50 Bitcoin สิ่งที่เกิดขึ้นคือจะเกิดธุรกรรมที่บอกว่ามีโอนเงินจากนาย A ไปยังนาย B แต่ว่าธุรกรรมนี้จะเปรียบเสมือนใบโอนที่ยังไม่ถูกยืนยันแก่ระบบ
หลังจากนั้นใบโอนนี้จะถูกกระจายไปยังทั่วทุก Node ของ Bitcoin ที่เก็บสำเนาบัญชีไว้ซึ่งมันก็ไม่ได้มีใบโอนเพียงใบเดียวมันจะมีใบโอนจำนวนมากมายที่เกิดขึ้นแต่แน่นอนว่ามันก็เหมือนกับการที่ทุกคนได้ใบโอนที่ยังไม่ยืนยันเฉย ๆ ธุรกรรมนั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ ในระบบหรือแปลว่านาย B นั้นจะยังไม่ได้เงินนั่นเองแล้วเมื่อไหร่นาย B จะได้เงินหละทีนี้ปัญหามันก็เกิดขึ้นตรงนี้แล้วเพราะระบบของ Bitcoin ทำงานด้วย Node กว่า 10,000 ตัวที่ทำงานอย่างอิสระ มันไม่เหมือนระบบธนาคารที่ธนาคารจะเป็นศูนย์กลางของความน่าเชื่อถือที่จะคอยดูแลว่าธุรกรรมไหนถูกต้องหรือเปล่า ถ้าเราให้สิทธิ Node ไหนของ Bitcoin ในการเป็นผู้ตัดสินว่าธุรกรรมนั้นจะถูกต้องหรือเปล่ามัน เราจะมั่นใจได้ยังไงว่า Node ของ Bitcoin นั้นๆเชื่อถือได้
สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้ออกแบบระบบ Bitcoin เลยใช้ระบบที่ชื่อว่า Proof of work โดยได้กำหนดโจทย์ขึ้นมาชุดหนึ่งทางคณิตศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งผู้ที่แก้ไขโจทย์นี้เป็นคนแรกจะได้สิทธิในการตรวจสอบธุรกรรม โดยการแก้ไขโจทย์นี้สามารถทำได้โดยการสุ่มเลขที่ต้องใช้อัลกอริมไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้คำตอบ โดยโจทย์นี้จะมีความยากง่ายที่จะถูกกำหนดโดยระบบว่ามีคนหาคำตอบได้เร็วแค่ไหน เปรียบเสมือนเรากำลังเล่นเกมทอยลูกเต๋ากันอยู่ เช่นกฏมีอยู่ว่าขอแค่คุณทอยให้ได้เลขอะไรก็ได้ที่ต่ำกว่า 7 คุณก็จะชนะ ถ้ามีคนทอยได้เลขต่ำกว่า 7 เร็วไปโจทย์จะยากขึ้นคราวนี้จะเปลี่ยนเป็นให้ทอยเลขให้ได้ต่ำกว่า 5 ถ้ามีคนได้คำตอบเร็วไปเลขอาจจะเปลี่ยนเป็น 3,2 หรือ 1 เพื่อให้เกมนี้ชนะยากขึ้นและหากเกมไหนมีมีคนทอยได้ช้า เกมถัดไปก็จะง่ายขึ้นเกมอาจจะเปลี่ยนเป็นให้ทอยต่ำกว่า 9,10 หรือ 11 และอีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้คือนักขุดนั้นเป็นพวกทุนนิยม หรือก็คือพวกเขาจะเลือกยืนยันธุรกรรมให้กับคนที่ใส่ค่าธรรมเนียมมากๆก่อน ทำให้ยิ่งเราใส่ค่าธรรมเนียมเยอะ ธุรกรรมเราก็จะถูกยืนยันเร็วขึ้น
ทีนี้ในบรรดา Node ทั้ง 10,000 ตัวของ Bitcoin นั้นจะมี Node บางส่วนที่จะทำหน้าที่ซึ่งทำตัวเป็นนักขุดหรือผู้แก้โจทย์เพราะพวกเขาอยากได้รับรางวัลซึ่งคือ Bitcoin และค่าธรรมเนียมจำนวนหนึ่งไป
การแก้ไขโจทย์ของนักขุดคือการใช้อุปปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดเพื่อให้สุ่มตัวเลขให้เร็วเพื่อที่จะได้เป็นผู้ชนะในสมัยแรกเริ่มที่ Bitcoin กำเนิดขึ้นมานั้นการขุดใช้เพียง CPU ที่เป็นอุปกรณ์ตัวเล็กๆเท่านั้นกำลังก็ไม่สูงแต่เมื่อ Bitcoin มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้นักขุดทั้งหลายหาอุปกรณืที่ดีขึ้นเพื่อมาขุด Bitcoin จาก CPU จนกลายเป็น GPU และกลายเป็นเครื่อง ASIC ในที่สุดซึ่งเมื่อการขุดเป็นที่นิยมมากขึ้นตามราคาของ Bitcoin สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อุปกรณ์ที่เคยขุด Bitcoin ได้อย่าง CPU และ GPU นั้นไม่สามารถขุด Bitcoin ได้อีกต่อไป เหตุเพราะเครื่อง ASIC เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษที่สร้างมาเพื่อการขุด Bitcoin เท่านั้นปัจจุบันเครื่อง ASIC อย่าง Antminet S9 มีกำลังการขุดเทียบกับ GPU แต่มีกำลังในการขุดมากกว่ากันถึงแสนเท่ามันเปรียบเสมือนว่า วันหนึ่งคุณใช้เสียมขุดดินอยู่แล้วจู่ๆเพื่อนบ้านของคุณเอารถแทร็กเตอร์มาขุดแข่งกับคุณ การใช้ GPU ขุดนั้นปัจจุบันใช้ในการขุดเงินดิจิทัลสกุลอื่นเช่น Ethereum
ประเด็นมันมีอยู่ว่าปัจจุบันการขุด Bitcoin เป็นสิ่งที่นิยมไปทั่วโลกและมีนักขุดปริมาณมหาศาล และหากบุคคลทั่วไปอยากจะเป็นนักขุดก็จะมีโอกาสน้อยมากที่จะไปสู้กับคนอื่นๆ รวมถึงโอกาสที่จะได้รางวัลจาก Bitcoin คงจะริบหรี่มากเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดการรรวมตัวของกลุ่มนักขุดจนเกิดมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า Pool ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รวมตัวในการขุด Bitcoin คล้ายๆการเล่นกีฬาสี หัวหน้าทีมจะรวมกำลังขุดจากคนทุกคนไปแย่งชิง Bitcoin และเมื่อหัวหน้าทีมแย่งชิงมาได้ก็จะแบ่งให้ลูกทีมตามสัดส่วน
เมื่อมีนักขุดที่แก้ไขโจทย์ธุรกรรมได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเวลาหนึ่งจะถูกส่งไปให้กับ Node อื่นๆว่าธุรกรรมใดบ้างที่ถูกยืนยัน Node อื่นๆก็จะมีธุรกรรมที่ถูกยืนยันแล้วเกิดขึ้นเปรียบเสมือนสมุดบัญชีธนาคารเวลาเราไป Update Book Bank จะมีรายการโอนที่เกิดขึ้นและนาย B ก็จะได้รับเงินจากนาย A แต่
การโอนของนาย A นั้นคือธุรกรรมที่ถูกยืนยันเพียง 1 ครั้งเท่านั้นหรือ 1 Confirmation ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้รับว่าคิดว่าการโอนที่มีแค่ 1 Confirmation นี้เชื่อถือได้แค่ไหน เพราะจริงๆแล้วการที่มีแค่ 1 Confirmation นี้ก็ค่อนข้างเสีjยงเพราะมีกรณีที่มีคนขุดเจอคำตอบพร้อมกันสองคนและมันมีโอกาสที่ธุรกรรมที่มีแค่ 1 Confirmation จะถูกเขียนทับทำให้ระบบทั่วไปมักจะเชื่อถือธุรกรรมที่มี Confirm ตั้งแต่ 3-6
และ Bitcoin ที่หัวหน้าทีมขุดได้จะถูกแบ่งให้กับลูกทีมโดยรางวัลที่ได้นั้นก็คือ Bitcoin ที่เกิดขึ้นใหม่และค่าธรรมเนียมที่คนยินดีจ่าย โดย Bitcoin ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็น Bitcoin ใหม่ที่ไม่เคยหมุนเวียนในระบบเช่นหากตอนนี้ระบบมี Bitcoin อยู่ 100 BTC ตอนนี้รางวัลของการขุดนั้นอยู่ที่ 12.5 BTC เมื่อขุดสำเร็จก็จะมี Bitcoin จำนวน 112.5 BTC เปรียบเสมือนกับการผลิตเงินหรือพิมพ์ธนบัตร
อย่างที่เราได้กล่าวไปในตอนแรกว่าโจทย์ที่นักขุดแก้ไขนั้นจะมีความยากอยู่ซื่งมันเรียกว่าค่า Difficulty โดยค่านี้จะเป็นตัวควบคุมให้ทุกๆโจทย์ถูกแก้ไขภายในเวลา 10 นาทีเพื่อให้ Bitcoin ถูกผลิตออกมาทุก 10 นาทีเพื่อให้ Supply ของ Bitcoin นั้นไม่เฟ้อหากโจทย์ถูกไขเร็วกว่า 10 นาทีเมื่อเวลาผ่านไปซักพักค่านี้จะถูกปรับให้ยากขึ้น กลับกันหากโจทย์ถูกแก้ไขช้ากว่า 10 นาทีเมื่อเวลาผ่านไปค่านี้ก็จะถูกปรับให้ง่ายขึ้น
หนึ่งสิ่งที่สำคัญและควรรับทราบอย่างยิ่งคือ Supply ของ Bitcoin นั้นมีจำกัดและ Bitcoin ที่เกิดขึ้นใหม่จากการขุดนั้นจะมีการลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 4 ปี โดยในปี 2009 ทุก 10 นาทีจะมี Bitcoin เกิดขึ้น 50 BTC และเมื่อผ่านไปทุกๆ 4 ปี Bitcoin จะเกิดน้อยลงครึ่งหนึ่งเป็น 25 , 12.5 ,6.25 จากการคำนวน Bitcoin ทั้งหมดจะถูกขุดขึ้นมาทั้งหมดในปี 2140 และเมื่อ Bitcoin ทั้ง 21 ล้านถูกขุดออกมาทั้งหมดแล้วการขุดก็ยังสามารถดำเนินต่อไปเพราะว่านักขุดยังได้ค่าธรรมเนียมที่ผู้โอนยินดีจ่ายให้นั่นเอง
นอกจากส่วนที่เราได้อธิบายมาแล้วในขั้นต้น บางคนอาจจะยังสงสัยว่าแล้วสุดท้ายเราจะมานั่งแก้ไขโจทย์พวกนี้ไปทำไม คำตอบก็คือเพราะมันเป็นการรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบ ในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปนั้นมักจะถูกโจมตีจากการถูก DDOS อยู่บ่อยๆซึ่งจะทำให้ระบบเสียหาย ระบบ Bitcoin จึงกำหนดว่าถ้าคุณจะเป็นคนที่ยืนยันธุรกรรมได้คุณจะต้องเสียต้นทุนจำนวนหนึ่งนั้นก็คือค่าไฟที่ใช้ในการขุดเป็นต้นทุน และนั้นทำให้ระบบของ Bitcoin ไม่ถูกก่อกวน และบางคนก็อาจจะคิดว่าแล้วถ้าคนที่ขุดชนะจะโกง หล่ะเป็นไปได้ไหม? คำตอบคือได้ครับ หากแต่นักขุดคนนั้นต้องขุดชนะติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไปเนื่องจากรระบบของ Bitcoin ส่วนใหญ่นั้นจะรับธุรกรรมที่ 3-6 Confirmation ซึ่งทำให้หากคุณคิดจะโกงระบบคุณต้องมีกำลังขุดที่มหาศาลมากจนเป็นไปได้ในทางทฤษฎีแต่ยากในทางปฏิบัติ และสุดท้ายมันคือกฎๆหนึ่งที่ทำให้ระบบที่ไม่มีตัวกลางของ Bitcoin ที่ทำงานอยู่บนคอมพิวเตอร์กว่า 10,000 เครื่องยอมรับในสิ่งๆหนึ่งนั้นก็ใครจะเป็นคนยืนยันธุรกรรมซึ่งในทางเทคนิคเราเรียกคำนี้ว่า Consensus (คอน-เซ็น-ซัส)
เราหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้ีับรับทราบข้อมูลที่ช่วยทำให้เข้าใจกันง่ายขึ้นนะครับว่าจริงๆการขุด Bitcoin คืออะไรกันแน่จริงๆแล้ว การขุดยังมีรายละเอียดเชิง Detail ซึ่งยังมีเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของระบบกับความเสี่ยงที่จะเกิด 51% Attack และ Proof of Work ก็ยังเป็นการขุดรูปแบบเดียวเท่านั้นในเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆยังมีระบบ Consensus ประเภทอื่นๆ เช่น Proof Of Stake, Delegated Proof of Stake, Proof of Importance รวมถึงว่าหากเราจะเริ่มต้นการขุดจะมีขั้นตอนและวิธีการยังไงเราจะมาเล่าให้ฟังในตอนหน้ากันครับ สวัสดีครับ
ที่มา : LINK