เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร
ในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นกระแสอยู่มากเลยไม่ว่าจะข่าวสารหรือแม้แต่เงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ที่ราคาพุ่งสูงเมื่อต้นปี 2018 แล้วเทคโนโลยีคืออะไรหละทำไมดูเข้าใจยากกัน
ทำไมเทคโนโลยี Blockchain ถึงฟังดูเข้าใจยาก
ก่อนอื่นสิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นมา 10 กว่าปีโดยมันถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับ Bitcoin ซึ่งมันเป็นธรรมดาครับที่มันอาจจะเข้าใจยาก มันก็เหมือนกับวันที่เรามีอินเทอร์เนตวันแรกเมื่อนานมาแล้วมันก็เข้าใจยากเช่นกัน คุณลองคิดดูว่าถ้าคุณเคยส่งจดหมายปกติ อยู่ๆมาวันนึงเราใช้อีเมล์เราก็คงจะงงน่าดูซึ่งเทคโนโลยี Blockchain ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ marc andreessen Co-founder ของ Netspace เคยกล่าวกับเทคโนโลยี Blockchain ไว้ว่า
“เป็นครั้งแรกที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตสามารถส่งสินทรัพย์ดิจิทัลไปให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตได้ โดยการส่งแบบนี้มีความปลอดภัยและทุกคนจะรับรู้ร่วมกันว่ามันถูกส่งไปที่นั้น และไม่มีใครสามารเปลี่ยนแปลงมันได้”
ระบบรวมศูนย์ (Centralized) และ ระบบกระจายศูนย์ (Decentralized)
แล้วจริงๆเทคโนโลยี Blockchain คืออะไร จริงแล้วเทคโนโลยี Blockchain เป็นแค่การเก็บข้อมูลเป็น Data base เหมือนเวลาคุณเซฟงานไว้ในคอมนั้นแหละครับ แต่ว่าสิ่งที่ต่างออกไปนั้นคือการที่ข้อมูลนนั้นถูกเก็บไว้หลายๆที่หรือที่เรามันจะได้ยินบ่อยๆว่า Decentralized ส่วนการเก็บข้อมูลไว้ที่ๆเดียวเราจะเรียกมันว่า Centralized ซึ่งถ้าเราเข้าใจ Keyword สองคำนี้เราจะเข้าใจ Blockchain อย่างกระจ่างเเจ้ง
ระบบรวมศูนย์ (Centralized)
ตัวอย่างของการเก็บข้อมูลแบบ Centralized ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ ธนาคาร เมื่อเราเดินไปเปิดบัญชีและต้องการโอนเงิน เช่นถ้าผมต้องการโอนเงินให้เพื่อนผม ผมก็ต้องไปที่ธนาคาร ตู้เอทีเอมหรือ mobile banking โดยธนาคารจะเป็นคนมาตรวจสอบว่าผมมีเงินจริงไหมหลังจากนั้น ธนาคารจะนำเงินส่งไปให้เพื่อนผม ซึ่งรูปแบบนี้ ธนาคารเป็นตัวกลาง ธนาคารมีเงินของผมอยู่ในตอนที่ส่งให้กับเพื่อนผม มันไม่เหมือนกับการที่ผมเดินไปหาเพื่อนผมแล้วยื่นเงินสดให้ เพื่อนของผม ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำเงินของผมไปมอบให้กับเพื่อน และนี่เป็นตัวอย่างของระบบ Centralized
ซึ่งการมีระบบ Centralized นั้นก็มีข้อดีอย่างระบบธนาคารทุกวันนี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกถ้าเราจะโอนเงินไปไหนเช่นถ้าเพื่อนผมอยู่เชียงใหม่ ถ้าไม่มีตัวกลางนี้มาช่วยก็คงจะลำบากพอสมควร แต่ระบบรวมศูนย์นี้ก็มีข้อเสียเช่นกันเพราะบางครั้งศูนย์กลางมีอำนาจเกินไป เช่นถ้าระบบธนาคารพังเราก็จะถอนเงินไม่ได้ อย่างในกรณีที่ E banking ปิดปรับปรุง
ถ้าหากเป็นเวลาที่ธนาคารปิดแล้วคุณก็จะโอนเงินไม่ได้ ตลกไหมครับเงินเป็นของคุณแต่คุณทำอะไรไม่ได้ การที่คุณเอาเงินไปฝากธนาคารเนี่ยเงินไม่ใช่ของคุณ เวลาที่เราเอาเงินไปฝากธนาคารอยากให้ทุกคนคิดดูว่าเงินเป็นของเราจริงๆไหม คำตอบคือไม่นะครับเพราะจริงๆแล้วธนาคารสามารถนำเงินของเราไปปล่อยกู้บางคนอาจจะไม่รู้ แต่จริงๆมันมีตั้งแต่ตอนเราเซ็นเปิดบัญชีแล้ว
อย่างในกรณีที่เรารู้กันอย่างกรณีหวยสามสิบล้าน ลุงจรูญถูกล็อตตารี่ 30 ล้านพอมาวันรุ่งขึ้นปรากฎว่าวันรุ่งขึ้นลุงจรุญโดนยึดเงินพูดง่ายๆคือเงินของเราในทุกวันนี้มีตัวกลางที่มีอำนาจเหนือเงินของเราเต็มไปหมด
ข้อเสียอีกอย่างของระบบตัวกลางนั้นต้องใช้เงินมหาศาลในการจะสร้างระบบบตัวกลาง ธนาคารต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมายเพื่อป้องกันระบบและดูแลและนี่คือข้อเสียของระบบ Centralized
ระบบกระจายศูนย์ (Decentralized)
พอเราพูดถึง Decentralized ที่มากับ Blockchain โดยมันมีความหมายว่าการกระจายตัว ในระบบ Centralized คือการที่มีตัวกลางเช่นธนาคารในการควบคุม แต่พอเป็นระบบ Decentralized คือแนวคิดที่ว่าเราจะให้คนทุกคนในระบบมาดูแลร่วมกัน
สมมติว่าเรามีคน 10 คนถ้าเป็นระบบ Centralized จะมีคนๆหนึ่งที่คอยดูแลระบบนี้คอยจัดการโอนเงิน แต่พอเป็นระบบ Decentralized คือการที่เราบอกว่าเราจะไม่เอาตัวกลาง เดียวคน 10 คนนี้จะร่วมกันตรวจสอบระบบ คำถามคือคน 10 คนนี้จะตรวจสอบยังไงเมื่อไม่มีตัวกลางแล้ว
วิธีการที่ Blockchain นำเสนอครับ Blockchain เสนอว่าเราจะทำแบบนี้แล้วกัน เราจะให้ทุกคนเก็บข้อมูลของคนทุกคน ซึ่งตรงนี้ผมจะขอยกตัวอย่างมาจาก Bitcoin นะครับ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Blockchain ตัวแรกที่กำเนิดขึ้น โดยทีนี้ Bitcoin เขานำเสนอว่า เขาจะให้ทุกคนเก็บบัญชีของคนทุกคน สมมติว่าตอนนี้มีคน 10 คนใช่มั้ยครับ สมมติผมเป็นคนที่1 คนที่1 ก็ต้องเก็บบัญชีของคนที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่7 8 9 10 ไว้ คนที่2 ก็ต้องเก็บข้อมูลคนที่1 3 4 5 6 7 8 9 แบบนี้ไปเรื่อยๆ ครับจนครบ 10 คน
คือเราจะมีสำเนาการโอนข้อมูลธุรกรรมของคนทุกคนในบัญชีของเรา และทุกคนก็จะมีบัญชีของเราด้วย ซึ่งการระบบตรวจสอบ ซึ่งการที่ทำแบบนี้มันทำให้ตรวจสอบคนได้ สมมติว่าผมจะโอนเงินไปที่คนที่2 ผมยกตัวอย่างว่าเขาคือนายB ละกัน มันไม่ใช่แค่ว่าผมโอนไปให้นายB แล้วจบ ผมจะต้องบอกทุกคนด้วยว่าผมโอนข้อมูลไปให้นายB เพื่อที่ทุกคนจดบัญชีเหมือนกัน ทีนี้ด้วยระบบแบบนี้มันจะปลอมแปลงได้ยาก เพราะคุณลองคิดดูว่าสมมติว่าใน 10 คนนี้คิดจะแก้บัญชี หรือพูดง่ายๆ คือจะโกงระบบ สิ่งที่เขาต้องทำคือเขาต้องไปแก้บัญชีของเขา และก็แก้บัญชีของคนอื่นด้วย และถ้าเกิดจะให้ครอบคลุมต้องแก้บัญชีของคนเกินครึ่งถึงจะแก้ได้ ถึงจะโกงระบบสำเร็จ
ทีนี้มันก็เลยค่อนข้างยากครับ ถ้าเทียบกับระบบ Centralized เมื่อเทียบกับระบบ Centralized คือเหมือนกับเรายัดตัวกลาง โจมตีตัวกลางตัวเดียว ถ้าขโมยเงินได้ก็จบ แต่พอเป็นระบบรูปแบบบัญชีที่ทุกคนเก็บด้วยกัน ทุกๆ คนถ้าเกิดจะขโมยก็ต้องขโมยทุกๆ คน ถ้าเกิดให้แก้บัญชีก็ต้องแก้คนทุกคนครับ นี้เป็นคอนเซ็ปของเทคโนโลยี Blockchain
แต่จริงๆ คอนเซ็ปที่การเราเก็บข้อมูลบัญชีแยก จริงๆ มันมีมานานแล้ว มันมีมาก่อน Blockchain ครับ มันเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า distributed ledger หรือพูดง่ายๆ คือการเก็บสำเนาข้อมูลบัญชีแบบกระจาย ซึ่งมีมานานแล้วแหละ แต่ทีนี้สิ่งที่ Blockchain นำเสนอเพิ่มขึ้นมาใหม่ก็คือ อย่างนึงคือการรูปแบบการเก็บข้อมูลของ Blockchain
ปกติถ้าเกิดลองให้เราคิดไป สมมติว่าใน database อันนึงเราจะเก็บข้อมูลเป็นแถว ใช่มั้ยครับเป็นแถว ถ้าเกิดใครเคยเล่นโปรแกรม Excel มันจะเป็นแบบนั้นเลยเป็นแถวเป็นตารางเรียงลงมา ถ้าเกิดคนที่เรียนคอมพิวเตอร์ก็จะรู้หน่อยว่าระบบ database ที่ใช้เป็น sql เป็นยังไงนะครับ ทีนี้พอมาถึงเป็น Blockchain เขาบอกว่าเราจะเก็บข้อมูลเป็น Block และอ้างอิงกันด้วย chain เราถึงเรียกว่า Blockchain นะครับ
โดยแต่ละ Block เนี่ยจะมีข้อมูลธุรกรรมจำนวนนึงไว้นะครับ แล้วก็ chain จะเป็นสิ่งที่อ้างอิงข้อมูลธุรกรรมอีกกล่องนึง มันคล้ายๆ กับว่า สมมติว่าตอนนี้ ผมมีการโอนเงินในจังหวะนึง ในเวลานึงละ ถูกเก็บอยู่ใน Block ที่ 0 ซึ่งเป็น Block แรกครับ และเมื่อมีการโอนเงินไปอีกส่วนหนึ่งนึงนะครับ หรือเรียกได้ว่าเกิดอีกเวลานึง มันจะถูกเก็บอยู่ใน Block ที่1 นะครับ 0 กับ 1 ทีนี้ตอนที่มันลิงค์ไป Block ที่1 ใน Block ที่1 มันจะเก็บข้อมูลของ Block ที่ 0 ไว้
ก็คือคล้ายๆ ในกล่องที่ 1 จะมีข้อมูลตัวสุดท้ายที่เขียนไว้ว่าใน Block ที่0 มีข้อมูลแบบนี้ๆๆ นะ แล้ว Block ที่ 2 Block ที่3 Block ที่4 มันก็จะเก็บข้อมูลอ้างอิงของ Block ที่แล้วมาเรื่อยๆ ทีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าถ้าเกิดไปแก้ข้อมูลใน Block ที่1 อะไรก็ตามอะไรก็ได้นะครับ สมมติว่าผมแก้ว่าจากการโอนจากนาย A ไปนาย B จากเนี่ยผมให้ โอนเงินให้นาย B ล้านนึงเลย ผมแก้ไปจะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นคือในระบบ Blockchain สมมติผมแก้ Block ที่ 1 Block ที่ 2 มันจะมีการเก็บข้อมูลไว้ว่า จริงๆ แล้ว Block ที่ 1 มันเคยมีข้อมูลอะไรกันไว้ เก็บไว้นะครับ พอผมแก้ปุ๊บระบบจะตรวจสอบได้ทันทีว่าอ้าว Block ที่1 ไม่ตรงกับ Block ที่ 2 แล้วหนิ ข้อมูลอ้างอิงไม่ตรงกันแล้ว แล้วก็แก้ให้เป็นเหมือนเดิม และนี้เป็นเหตุผลนึงที่ทำให้เทคโนโลยี Blockchain ปลอดภัยมาก
โดยถ้าเกิดสมมติถ้าถามว่า Blockchain มันปลอดภัยถึงขั้นไหน ซึ่งผมก็ต้องกล่าวว่า มันก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบว่ามันจะปลอดภัยแค่ไหนนะครับ อย่าง Blockchain ที่เรียกว่าปลอดภัยที่สุดในโลกคือ Bitcoin นะครับ โดย Bitcoin ถูกรักษาความปลอดภัยด้วยคอมพิวเตอร์กว่าหมื่นตัว แล้วก็กำลังขุดปริมาณมหาศาลมากๆ เลยนะครับ เดี๋ยวเรื่องการขุดมันจะมีอินดีเทลเยอะหน่อยครับ
เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังใน ep ถัดๆ ไปนะครับ แต่ตอนนี้อยากให้เข้าใจก่อนว่า Blockchain รูปแบบที่เป็น Decentralized มันเป็นยังไง การเก็บ Blockchain ที่เป็น Block เป็น chain มันเป็นยังไง ทีนี้ตามที่ผมเล่าไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ด้วยการเก็บข้อมูลแบบกระจาย แล้วการที่ข้อมูลเก็บเป็น Block เป็น chain เนี่ย ข้อมูลมันจะปลอดภัยมากเลยใช่มั้ยครับ ปลอดภัยมากเลยเพราะมัน hack ยากมากนะครับ ยิ่ง Bitcoin เป็นไปไม่ได้ที่แทบจะ hack ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ เป็นไปได้ในทางทฤษฎีแต่ปฎิบัติเป็นไปได้ยากสำหรับ Bitcoin
Blockchain คือกับความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ทีนี้ในเมื่อ Blockchain กลายเป็นระบบที่มั่นคงปลอดภัยมากๆ มันเกิดอะไรขึ้นนะครับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ถ้าเกิดเราเก็บข้อมูลอะไรไปใน Blockchain มันกลายเป็นข้อมูลที่คุณสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนี้เป็นจริง เพราะว่าในเมื่อ Blockchain เป็นสิ่งที่ปลอดภัยมาก เพราะฉะนั้นข้อมูลนี้มันควรจะแบบไม่ควรถูก hack ปลอดภัยมากๆ ไม่ควรจะมีอะไรมาแตะต้องไม่เลยนะครับ และนี้เป็นสิ่งที่ Blockchain นำเสนอคือ Security มหาศาลที่จะทำให้ข้อมูลเป็นจริงนะครับ
ทีนี้หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าข้อมูลเป็นจริงข้อมูลไม่อาจถูก hack ได้ แล้วเป็นประโยชน์ยังไง ทำไมมันถึงน่าตื่นเต้นนะครับ ทีนี้ผมต้องขอเล่าเท้าความไปในยุคสมัยที่เกิดขึ้นก่อนนะครับ ในโลกอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานทุกวันนี้ มันมีปัญหานึงที่มีมาตลอดคือความน่าเชื่อถือของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของข้อมูลคืออะไรครับ อย่างเช่นสมมติว่าคล้ายๆ กับว่าสมมติว่าวันนี้ผมเปิดระบบขึ้นมาระบบนึง แล้วบอกให้คุณโอนเงินเข้ามา 10 ล้านให้ผม แล้วเดี๋ยวผมจะส่งเงินนี้ไปให้ฝั่งตรงข้าม โดยใช้ระบบมือถือนะครับ เดี๋ยวฝั่งตรงข้ามจะเห็นเลยว่าพอโอนเงินไปแล้วเลขจะขึ้น
คำถามคือคุณเชื่อตัวเลขในมือถือนั้นมั้ยของระบบผม ผมคิดว่าด้วยปริมาณเงินขนาดนั้นน่าจะไม่มีคนเชื่อนะครับ หรือถ้าเกิดยกตัวอย่างให้ง่ายกว่านี้ก็เช่นสมมติว่าผมเข้าไปในทวิตเตอร์ของดารานักแสดงคนนึง ผมไม่รู้จักเลยนะผมไม่เคยได้ยินมาก่อนนะครับแล้วผมเห็นตัวเลขไลค์ สมมติคนติดตามเขามหาศาลมากๆๆ แต่ผมไม่รู้จักเขาเลยผมก็จะมีข้อสงสัยว่าเขาดังจริงหรือเปล่าหรือว่าเขาปั๊มไลค์หรือว่าเขาใช้เงินโปรยรึเปล่านะครับ หรือยิ่งสมมติว่าเราไปในเว็ปไซต์อื่นๆ เช่นเราเข้าไปดูในเว็ปไซต์ขายของ แล้วเว็ปไซต์นี้บอกว่าของชิ้นนี้เป็น Best seller นะ มีคนซื้อไปแล้วกว่าหนึ่งล้านครั้ง คุณเชื่อหรือเปล่า
ผมคิดว่ามีหลายคนไม่เชื่อนะครับและนี้เป็นปัญหาสำคัญเลยว่าตั้งแต่เรามีอินเตอร์เนตมาตั้งแต่เรามีโลกดิจิทัลมาข้อมูลไม่ใช่สิ่งที่สามารถเชื่อถือได้ 100% เสมอไปครับ มันเคยมีการ์ตูนตลกๆ ล้อเลียนเรื่องนี้นะครับ โดยเป็นการ์ตูนของปีเตอร์ สไลเดอร์ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของ The new Yorker นะครับ ประมาณปี 2536 นะครับโดยในรูปเป็นรูปหมาสองตัวกำลังคุยกันนะครับ โดยหมาตัวนึงกำลังกดคอมพิวเตอร์เล่นอินเตอร์เนตแล้วก็แชทกับคนอื่นอยู่ ส่วนหมาอีกตัวนึงก็นั่งมองดูตัวนั้นแชทกับคนอื่น แล้วก็ถามว่าเห้ยแกเป็นหมานิหว่าแล้วแกมาแชทกับคนอื่นแบบนี้ คนอื่นเข้าไม่รู้หรอว่าแกเป็นหมา หมาตัวนั้นก็ตอบมาว่าในโลกอินเตอร์เนตไม่มีใครรู้หรอกว่าคุณเป็นหมา
สิ่งนี้มันชัดเจนมากนะ สมมติว่าอยู่ๆ คุณเล่น Tinder อะไรพวกนี้ เขาเอารูปมาโชว์พวกนั้น คุณรู้หรอว่าเข้าเอารูปของเจ้าของจริงๆ มา คุณรู้หรอว่าโปรไฟล์นั้นเป็นเรื่องจริงสิ่งที่เขาพิมพ์มาทุกอย่างเป็นเรื่องจริงแล้วมันเป็นปัญหามากเลย และมันเกิดอะไรขึ้นเพราะฉะนั้นลองคิดว่าเมื่อข้อมูลกลายเป็นเงิน ระบบตัวกลางที่มาดูแลเรื่องเงินเนี่ยจะต้องเป็นอะไรที่เข้มแข็งมากใช่มั้ย เป็นอะไรที่น่าเชื่อถือมาก อย่างธนาคาร เพราะว่ายิ่งเรื่องเงินเป็นสิ่งที่ห้ามผิดพลาดไปโดยเด็ดขาด ผิดพลาดไปแม้แต่ตัวเลขเดียวเป็นเรื่องใหญ่มากนะครับในเรื่องของการบัญชีนะครับ
ทีนี้เนี่ยมันก็เกิดคำถามขึ้นว่าสมมติถ้าเกิดเงินเป็นข้อมูลดิจิทัลเราจะเชื่อถือได้หรือเปล่านะครับ ถ้าเกิดใครยังไม่เห็นภาพเนี่ยผมจะยกตัวอย่างให้อีกอย่างนึงสมมติว่าคุณมี Line ใช่มั้ยครับ คุณใช่ Line application สมมติว่าคุณถ่ายรูปมารูปนึง แช๊ะ เป็นรูปเพื่อนคุณหรือเป็นรูปวิวอะไรก็ได้ แล้วคุณส่งให้เพื่อนของคุณคนนึงนะครับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือคุณจะมีรูปอยู่ในมือถือของคุณ เพื่อนของคุณก็จะมีรูปอยู่ในมือถือของเพื่อน ไอ้รูปนี้จะไปอยู่ใน Line server ด้วยครับ ลองคิดดูว่าถ้าสิ่งตรงนี้มันไม่ใช่รูป แต่มันเป็นเงินละ คำถามคือเงินที่อยู่ในมือถือของคุณที่อยู่ในมือถือเพื่อนของคุณ หรือที่อยู่ใน server ของ Line อันไหนเป็นของจริงนะครับ นี้เป็นปัญหาของข้อมูลดิจิทัลว่า พอเป็นข้อมูลดิจิทัลเราสามารถ copy and paste ได้ เราไม่สามารถเชื่อถือข้อมูลได้ 100% นะครับ
แต่ว่าในจุดนี้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาแก้ไขครับ เทคโนโลยี Blockchain นำเสนอ security ที่ดีมากเลย ยิ่งระบบ Bitcoin เคยมีคำกล่าวว่าระบบเพนตากอน มีsecurity ที่ดีเท่าระบบ Bitcoin ไม่ได้ด้วยซ้ำ ถ้าเป็นข้อมูลที่อยู่ใน Blockchain ก็แปลว่าข้อมูลนั้นเชื่อถือได้แล้วนะครับ อย่างตัวอย่าง Bitcoin เป็น application แรกบน Blockchain ที่เราสามารถโอนเงินกันได้ทั่วโลกเป็นระบบบัญชีที่เราไม่สามารถถูกทำร้ายได้ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนไม่สามารถ ไม่มีใครเข้าไปแตะต้องระบบของ bitcoin หรือไป hack ได้เลยนะครับ แต่ว่า
bitcoin ก็เป็นตัวอย่างเดียวของการใช้งานนะครับ ทีนี้เนี่ยคุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเมื่อตอนนี้ถ้าเกิดเราเอา Blockchain มาใช้เก็บข้อมูลข้อมูลที่ไม่เคยมีค่ามันจะมีค่าขึ้นมาครับ เช่นสมมติว่าอะไรที่ไม่เคยมีค่าสมมติว่า ถ้าเกิดสมมติว่าเราสามารถใช้ข้อมูล Blockchain มาเก็บที่ดินอย่างที่ญี่ปุ่นเก็บ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมันจะกลายเป็นฐานข้อมูลที่ดินที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ใช่มั้ยครับ ทีนี้พอเรามาใช้ระบบนี้แล้วเราอาจจะสามารถโอนที่ดินกันผ่าน Blockchain เหมือนที่เราโอนผ่าน bitcoin ก็ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวกลางอย่างกรมที่ดินมาจัดการ
เพราะว่า Blockchain เชื่อถือได้มากกว่ากรมที่ดินนะครับ Blockchain เชื่อถือได้มากกว่าโฉนดเอกสารหนึ่งใบนะครับเพราะว่าเอกสาร 1 ใบสามารถทำหายได้ มีการปลอมแปลงได้ แล้วบางทีมีใบเดียว อย่างที่เรารู้ๆ กันว่ามันก็มีการออกโฉนดซ้ำกันบ่อยๆ นะครับ หรือถ้าเกิดว่าสมมติว่าในกรณีอื่นๆ เนี่ย เรามันสามารถทำให้เหมือนกับว่า finalcial credit อะไรบ้างอย่างที่ไม่เคยมีค่ามีค่าขึ้นมาได้
อย่างเช่นสมมติว่าผมบอกว่าเพื่อนผมคนนี้เป็นคนที่ไม่เคยขับรถชนเลย ซึ่งจริงๆ การที่ผมบอกว่าเพื่อนคนนี้ไม่ขับรถชน มันเป็นการให้เครดิต แต่ว่าการให้เครดิตอย่างนี้เนี่ยมันไม่สามารถเอาไปทำอะไรได้ มันเป็นคล้ายๆ กับ finalcial ที่ไม่สามารถเอาไปยื่นได้บอกว่าเห้ยผมไม่เคยขับรถชนเลยผมขอค่าประกันถูกหน่อยได้มั้ยตรงนี้มันไม่สามารถทำได้ในโลกเก่า แต่ถ้าสมมติว่าอยู่ใน Blockchain เนี่ยเราสามารถทำได้แล้ว เราสามารถเก็บข้อมูลว่าผมยืนยันว่าคนนี้ไม่เคยขับรถชนจริงและยืนยันจริงๆ
ไม่ใช่การกล่าวอ้างแต่อย่างใด อาจจะมีคนอีกสิบยี่สิบคนรองรับให้คนคนนี้ และคนๆ นี้สามารถเอาการรับรองของคนหลายๆ คนไปยื่นขอเครดิตกับบริษัทประกันว่าเครดิตดี ผมขอค่าประกันถูกหน่อยและบริษัทประกันก็สามารถเชื่อถือข้อมูลตรงนั้นได้และบริษัทประกันก็จะให้เบี้ยที่ถูกลงประมาณนี้ครับ
แล้วก็อย่างที่เราเห็นชัดเลยว่าอย่างสมมติว่าอย่าง Blockchain มันตัดตัวกลางอย่างธนาคารค่อนข้างชัดเจน แม้วันนี้ทุกธนาคารก็มีบทบาทอยู่นะครับ แต่ว่าผมคิดว่าในอนาคตธนาคารน่าจะลดบทบาทลง เพราะว่าด้วยเทคโนโลยี Blockchain เราสามารถโอนเงินข้ามโลกกันอย่างไม่มีพรมแดนที่เราเรียกว่า Crossborder payment เราสามารถโอนเงินจากไทยไปอเมริกาได้โดยใช้ bitcoin หรือสกุลเงินดิจิทัลสกุลเงินอื่นๆ และการโอนเงินนี้เชื่อถือได้บน Blockchain ของ bitcoin นะครับ
ทีนี้มันดียังไง เพราะว่าในระบบเก่าๆ เนี่ย การที่ผมจากโอนเงินจากประเทศไทยไปอเมริกา มันใช้เวลาค่อนข้างเยอะนะครับและเสียค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็น แต่ว่าของ bitcoin ไม่เยอะมากนะครับ ถ้าเอาถูกหน่อย ถ้าเกิดเอาถูกๆ หน่อย คุณอาจจะเสียค่าธรรมเนียม 40 สตางค์แต่อาจจะต้องรอหลายชั่วโมงหน่อย ถ้าเอาเร็วก็อาจจะเสียประมาณสักร้อยสองร้อยแต่อาจจะรอประมาณ 30 ถึงชั่วโมงนึงก็นับว่าเร็วมากเทียบกับระบบการเงินแบบเก่า สิ่งที่ Blockchain ทำมัน enable ให้ข้อมูลที่ไม่เคยมีค่ามาก่อน ทำให้มันมีค่ามาได้ครับ เพราะฉะนั้นพอมันเกิดขึ้นความเป็นไปได้ของ Blockchain มันมหาศาลครับ ไม่ใช่ finalcial แต่เรื่องธุรกิจอื่นๆ ด้วยครับ มันก็เลยเป็นเทคโนโลยี Blockchain ขึ้นมาครับ
ที่มา : LINK