จุดเริ่มต้นของ Velo
คุณชัชวาลย์ เจียรวนนท์ หรือ คุณชัช ทายาทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) สมาชิกตระกูลมหาเศรษฐีเบอร์ต้นของไทย และเจ้าของนิตยสารฟอร์จูน เป็นนักธุรกิจที่เคยประกอบธุรกิจและบริหารองค์กรต่างๆมาแล้วนับไม่ถ้วนในหลากหลายสาขา ทั้งด้านโทรคมนาคม พลังงาน รวมไปถึงสาขาทางด้านการเงิน
คุณชัชเล็งเห็นวิวัฒนาการและการพัฒนาของเทคโนโลยีธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งจากธนาคารหรือภาคเอกชนที่พัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ดีกว่า ถูกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองและเป็นที่น่าสนใจในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นเทคโนโลยี Blockchain
ในปี 2559 คุณชัชวาลย์ ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาของบริษัท Kejora Ventures ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นโอกาส
ที่ได้พบกับ คุณตฤบดี อรุณานนท์ชัย หรือคุณบีม ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษา
โดยคุณตฤบดีมีประสบการณ์ทางการทำงานร่วมกับสถาบันทางการเงินชั้นนำ และมีความสนใจในธุรกิจและเทคโนโลยีทางด้านการเงินเป็นพิเศษ ซึ่งทั้งสองมีความแนวคิดที่ตรงกัน และมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงโลกทางการเงินจึงตัดสินใจก่อตั้ง Velo ขึ้น
ก่อตั้ง Velo
ในช่วงต้นปี 2018 คุณชัชวาลย์ ได้ก่อตั้งบริษัท Velo และร่วมบริหารกับ คุณตฤบดี โดยมีแนวคิดที่จะหาโซลูชั่นทางการเงินด้วยเทคโนโลยี Blockchain คุณตฤบดี จึงได้ติดต่อทาบทามคุณสุวิชชา สุดใจ มาเป็นผู้ผลักดันธุรกิจของ Velo ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารหัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจของธนาคารกรุงไทยและยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการผลิตภัณฑ์สำหรับ Digital Ventures ของธนาคารไทยพาณิชย์
รวมถึงทาบทามคุณอดิรุจ นิธิเลิศวิวัฒน์ มาดำรงตำแหน่ง CTO ซึ่งคุณอดิรุจนั้นเป็น Founder ของบริษัท 100x Studio ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา Software บน Blockchain โดยคุณอดิรุจได้เกียรติรับเชิญเป็นวิทยากรในงาน Techonology/ Blockchain Event ชื่อดังหลากหลายงานของประเทศไทย โดยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการ Blockchain Community
คุณตฤบดีและคุณสุวิชชาได้จับมือร่วมกับ Jed McCaleb อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Ripple ที่นำเสนอโซลูชั่นทางด้านระบบการเงินด้วย Distributed Ledger รวมทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง Stallar Foundation องค์กรที่นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้งานในธุรกิจการเงิน ซึ่งภายหลังทาง Jed McCaleb ก็ได้เข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้นและที่ปรึกษาแก่ Velo
Blockchain และ Cryptocurrency กุญแจที่สามารถปลดล็อคปัญหาการเงิน
ในระบบการเงินแบบเดิมนั้นการที่ “เงิน” จะถูกโอนถ่ายทำธุรกรรมหรือนำไปทำสัญญาต่างๆนั้นจำเป็นที่จะต้องมีต้นทุนทางเอกสารที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนทำให้ต้นทุนทางเวลานั้นสูง แต่ในทางกลับกับด้วย Cryptocurrency ที่เป็นข้อมูลดิจิทัลนั้นสามารถเขียนคำสั่งและสร้างรูปแบบการทำงานได้อย่างไม่จำกัด มีความรวดเร็วและต้นทุนต่ำ ดังนั้นไม่เพียงแต่ที่จะสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เท่านั้น แต่ถือว่าสามารถต่อยอดและส่งเสริมวงการทางการเงินได้อีกด้วย
แต่ทว่าการนำ Cryptocurrency มาปรับใช้ในธุรกิจนั้นมีอุปสรรคอยู่สองสามจุด “จุดแรกคือ ถึงแม้ว่าจะมีการเติบโตของมูลค่าที่น่าสนใจ แต่ต้องยอมรับว่ามูลค่าที่ไม่แน่นอนหรือความผันผวนสูง ทำให้ยากแก่ธุรกิจการเงินดั้งเดิมที่จะยอมรับและนำ Cryptocurrency มาใช้ ประการที่สองคือสภาพคล่องของ Cryptocurrency นั้นมีจำกัดและมีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมที่มีมูลค่ามหาศาลได้” ถือเป็นโจทย์หลักที่นำไปสู่แนวคิดของ Velo
Velo Protocol ระบบการชำระเงินไร้ตัวกลาง
ในจุดเริ่มต้นทางทีมงาน Velo มีแนวคิดที่จะนำ Stable Digital Credit หรือเครดิตในรูปแบบของ Cryptocurrency ที่มีมูลค่าคงที่มาใช้กับแก้ปัญหาให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจ ซึ่งตัวเครดิตนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจได้มากมายเช่น ระบบ Credit Scoring การโอนเงินข้ามประเทศ การทำ Digital lending system และอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากนี้ Velo Protocol ได้ถูกนำไปใช้ในการเป็นระบบชำระเงินแบบไร้ตัวกลางให้กับบริษัท Lightnet ซึ่งมุ่งเน้นการประกอบธุรกิจในการโอนเงินระหว่างประเทศ ทำให้สามารถโอนเงินได้สะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ ทำให้ผู้บริโภคนั้นได้รับผลประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง ในขณะเดียวกัน Lightnet นั้นมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำระดับโลกในบริการทางการเงินยุคใหม่ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยมุ่งเน้นการเปิดตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และทั่วโลก โดยทางบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะให้บริการการชำระเงินที่จะปฏิวัติการเงินแบบดั้งเดิม และนำเสนอบริการแบบครบวงจรที่ราบรื่นสำหรับผู้บริโภคในการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการทางการเงิน
ช่องทางการติดตามข่าวสาร Velo
Website: www.velo.org
Twitter: twitter.com/veloprotocol
Telegram official channel: https://t.me/veloprotocol
Telegram announcement channel: https://t.me/veloann
Medium Blog: https://medium.com/veloprotocol
ที่มา : LINK