แรงจูงใจ
Whitepaper นั้นมักถูกมองข้ามจากผู้ที่ไม่เข้าใจด้านเทคนิค และโครงการต่างๆมักละเลยที่จะทำให้มันง่ายขึ้นหรือทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในการอธิบายคำศัพท์ทางเทคนิคเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะมีความเข้าใจตรงกัน
Band Protocol จะเปิดตัวบทความสำหรับการขยายความ Whitepaper สำหรับผู้ถือโทเค็นและชุมชนในอีกสองเดือนข้างหน้า เพื่อจะได้ทำความเข้าใจถึงวิสัยทัศน์ของ Band Protocol ได้มากขึ้น โดยจะมีแบ่งเป็นทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่
1 – แรงจูงใจโปรโตคอล & ภาพรวม
2 – Band Native Token & Dataset Token
3 – การสร้างแรงจูงใจให้กับข้อมูลและข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น
4 – กรณีการใช้งานที่มีศักยภาพ & เป้าหมายทางเทคนิคในอนาคต
บทนำ
ปัจจุบัน Decentralized application ขึ้นอยู่กับ data provider ส่วนกลาง ซึ่งถือเป็น “Single Point of Failure” ด้านความปลอดภัยและในที่สุดมันก็ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเป็น decentralize
Band เป็นโปรโตคอลแบบเปิดที่อำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลที่ใช้ในระบบบล็อคเชน โดยมีโปรโตคอลทำหน้าที่สำหรับการจัดการข้อมูล ในบทความเบื้องต้นนี้จะกล่าวครอบคลุมถึงปัญหาความพร้อมใช้งานของข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการข้อมูลที่เชื่อถือได้ แรงจูงใจและความสำคัญ เบื้องหลัง Band Protocol ในฐานะที่เป็น decentralised framework ใหม่สำหรับการกำกับดูแลข้อมูล
Band Protocol ช่วยให้ dApps สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีคนกลาง และทำหน้าที่เป็น decentralized oracle ที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้บน smart contract ที่สามารถทำได้บน blockchains : Soravis Srinawakoon, CEO ของ Band กล่าว
ปัญหาความพร้อมใช้งานของข้อมูล
Band Protocol จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความพร้อมใช้งานของข้อมูล ซึ่งปัจจุบันโซลูชันของข้อมูลดังกล่าวนั้นยังมีจุดที่เป็น central points of failure ที่สำคัญอย่างยิ่งหรือปัญหา และทำให้ smart contract มีความซับซ้อนมากขึ้น
*Asynchronous ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญ *Asynchronous – รูปแบบของกระบวนการเขียนโปรแกรมที่อนุญาตให้มีการทำงานแยกต่างหากโดยไม่ขึ้นกับ primary flow โดยเมื่องานเสร็จสมบูรณ์จะแจ้งให้ flow หลักกลับมาดำเนินการต่อ (หรือหยุดหากงานล้มเหลว)
จนกว่า decentralized applications จะสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลจากโลกแห่งภายนอกเข้าสู่ *function calls อย่างง่ายๆ สิ่งนี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้
*Function call – การร้องขอที่ทำโดยโปรแกรมหรือสคริปต์ที่ดำเนินการตามฟังก์ชันที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (คุณสามารถนึกถึงการเรียกฟังก์ชั่นของเครื่องจักรโดยการป้อนข้อมูลดิบเช่นของ ‘แป้ง’ แล้วจะได้รับกลับมาเป็น ‘ขนมปัง’)
ความต้องการความน่าเชื่อถือและข้อมูลที่เชื่อถือได้
บล็อกเชนและ smart contracts ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากนอกเครือข่ายได้ decentralized application บน Ethereum ก็ไม่สามารถใช้ข้อมูลจาก EOS หรือโลกแห่งความจริง ดังนั้นในสภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องมีการอนุญาตของระบบ decentralize อาจทำให้เกิดความเสียหายและอาจมีการโจมตีแหล่งข้อมูลที่สำคัญ
ข้อมูลภายนอกที่จัดทำโดย Oracle / Central-Off-Chain oracle *จะควบคุมข้อมูลทั้งหมดที่เข้าสู่ smart contract โดยอนุญาตให้มีความสามารถเพียงอย่างเดียวในการพิจารณาการตอบสนองและพฤติกรรมของ smart contract นั้นๆ โดยพื้นฐานแล้ว oracle จะเป็นผู้ควบคุม smart contract – ถ้า oracle ถูกบุกรุก ทั้ง smart contracts และระบบที่ขึ้นอยู่กับมันก็จะเสียหายไปด้วย สิ่งนี้สร้างจุดอ่อนที่สำคัญในด้านความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของ blockchain
Smart Contract Component Layer Solution
Band สามารถปรับเข้ากับ component layer ได้ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับ decentralized protocols และ applications โดย applications ที่ใช้ Band Protocol จะใช้ข้อมูลผ่านทาง Band on-chain public smart contract data points ซึ่งตรงข้ามกับ oracles ที่อยู่ภายนอก blockchain
data feeds ของ Band เป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมโดยชุมชน เป็นกรอบสำหรับผู้ใช้และนักพัฒนาในการดูแลตนเองc]tจัดการแหล่งข้อมูลเพื่อความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ
Band ไม่ได้กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล แต่เสนอวิธีการสำหรับชุมชนในการตัดสินใจและลงคะแนนว่าจะใช้และดูแลจัดการข้อมูลอย่างไร มูลค่าของ dataset token จะเพิ่มขึ้นตามการใช้งานและความน่าเชื่อถือ โดยมีแรงจูงใจในการเข้าร่วม / ผู้มีส่วนร่วมในชุมชนอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการจัดการแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีความสอดคล้องกัน
ด้วยการสร้างกรอบมาตรฐานสำหรับการกำกับดูแลชุมชนของข้อมูล Band จึงได้สร้างวิธีการปรับขนาดทางสังคมสำหรับการนำไปใช้อย่างกว้างขวางและการรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้ซึ่ง dApps ทั้งหมดสามารถใช้ประโยชน์ได้
แตกต่างจากโซลูชันที่มีอยู่ซึ่งจำกัดเฉพาะเครือข่ายของตนเอง อินเทอร์เฟซข้อมูลของ Band สามารถใช้ได้กับทุกวัตถุประสงค์ นอกจากนี้แหล่งที่มาก็สามารถมาได้จากหลายแหล่ง ทั้ง centralized external feeds หรือ on-chain data aggregators โดยใช้ค่าเฉลี่ย , ค่ากลาง หรือส่วนใหญ่ (ที่ใช้บ่อยที่สุด)
Use-cases จะถูกกล่าวถึงในเชิงลึกมากขึ้นในบทความที่ # 4 แต่มีบาง use-cases ที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ :
- Asset Price Feed – Crypto-crypto, crypto-fiat, หลักทรัพย์แบบดั้งเดิม และราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับ decentralised financial services
- Real-World Event Feed – กีฬา , ข้อมูลที่ได้ของ IoT , การชำระเงินในโลกแห่งความเป็นจริง สำหรับตลาดของการทำนายผลและแอพพลิเคชั่นการพนันแบบ decentralise เพื่อกำจัดคนกลาง
- Identity Data – สถานะที่ได้รับการรับรอง , คะแนนเครดิต , วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน สำหรับ decentralise exchange และ marketplaces
- ข้อมูล – ตำแหน่ง GPS สำหรับ decentralise applications ที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากแผนที่
ภาพรวมของ Band Protocol
หน้าที่หลักของ Band คือการเชื่อมช่องว่างระหว่าง decentralized applications และ ข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริง ในขณะเดียวกันก็มั่นใจได้ว่าข้อมูลมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ผ่านแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ
Band Protocol ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกบน Ethereum แต่ตัวโปรโตคอลเองไม่ได้จำกัดอยู่ที่โครงสร้างพื้นฐานของ Ethereum มีการสนับสนุนแพลตฟอร์ม smart contract ชั้นนำทั้งหมดและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ ecentralized applications รุ่นใหม่ เนื่องจากโปรโตคอลได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
Data Solutions ที่มีอยู่
ขั้นตอนการใช้โซลูชัน oracle ที่มีอยู่:
- Contract บันทึกสถานะของการทำธุรกรรมปัจจุบันไปยังที่เก็บข้อมูลของ Contract
- Contract ส่งการร้องขอ data query และหยุดธุรกรรมปัจจุบัน
- Off-chain network รอการยืนยันธุรกรรมที่เพียงพอ
- Off-chain network เรียกใช้ธุรกรรมย้อนกลับด้วยผลการค้นหาที่ให้มา
- Contract จะตรวจสอบการทำธุรกรรม กู้คืนสถานะและดำเนินการต่อไป
เครือข่าย data provider ที่มีอยู่ต้องพบเจอกับปัญหาจากการปฏิสัมพันธ์แบบ asynchronous ระหว่าง smart contracts และ data layers วิธีนี้ทำให้การติดตั้ง Smart contract มีความซับซ้อน และยังทำให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากธุรกรรม blockchain สองรายการจำเป็นต้องได้รับการยืนยันและดำเนินการตามลำดับ
โซลูชันของ Band Protocol
Band จะแทนที่ด้วยอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายสำหรับ decentralized applications ที่จะรับข้อมูลที่แท้จริงโดยเป็นการเรียกฟังก์ชั่นอย่างง่ายไปยัง smart contract โดย Data providers เช่นเว็บเทรดและผู้รวบรวมข้อมูล (CoinGecko หรือ CoinMarketCap) มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้อนข้อมูลไปยังบล็อกเชน ช่วยให้ dApps พร้อมใช้งานใน 30–60 วินาทีในขณะที่ช่วยละขั้นตอนที่ 3 และ 4
การ Query Data บน Band นั้นทำได้ง่ายและเสียค่า Gas หรือค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย ด้วยวิธีนี้ทำให้แอปพลิเคชันมากมายสามารถใช้ dataset ตัวเดียวกันได้เนื่องจากมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานสำหรับหลายๆฝ่าย แต่โซลูชันที่มีอยู่เดิมต้องการแอปพลิเคชันแต่ละตัวเพื่อดำเนินการ query ข้อมูล
A Consortium of Data Governance Groups
Datasets ภายใน Band Protocol จะแบ่งออกเป็นกลุ่มข้อมูลแต่ละชุดซึ่งเป็นอิสระและมีโทเค็น ‘dataset ‘ ที่ไม่ซ้ำกัน โดยได้รับการรับรองโดย Band Native Token ผ่านทาง *bonding curve นอกจากนี้ แต่ละกลุ่มของ dataset ยังใช้โทเค็น ‘dataset’ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเพื่อการ stake และควบคุม dataset ผ่าน Token-Curated DataSources * (TCD)
* Bonding Curve – แนวคิดที่เสนอโดย Simon Rouviere เพื่อให้แน่ใจว่าราคาของ dataset โทเค็นจะเพิ่มขึ้นเสมอเมื่อ supply เพิ่มขึ้นและผู้ถือ dataset โทเค็น มีตัวเลือกที่จะ ‘ถอนออก’ โดยขายชุดโทเค็นของพวกเขากลับไปเป็น Band Native Tokens
*Token-Curated DataSources – วิธีการในการดูแลจัดการข้อมูลที่มีปริมาณสูงคล้ายกับเป็น delegated proof-of-stake consensus
สรุปโดยย่อ
- ปัจจุบัน Decentralized applications ขึ้นอยู่กับ data providers ที่เป็นแบบรวมศูนย์
- Band เป็นโปรโตคอลแบบเปิดที่อำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลที่ใช้ในระบบบล็อคเชน โดยมีโปรโตคอลทำหน้าที่จัดการข้อมูล
- โซลูชันความพร้อมใช้งานของข้อมูลที่มีอยู่ มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวจาก “Single Point of Failure” หรืออาจเกิดจากการ asynchronous ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า
- มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่จะยอมให้ oracles ควบคุม smart contracts ดังกล่าวรวมถึงระบบที่ขึ้นอยู่กับมัน
- แอปพลิเคชันที่ใช้ Band จะใช้ข้อมูลผ่านทาง on-chain public smart contract data points ของ Band
- data feeds ของ Band เป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมโดยชุมชนและสร้างแรงจูงใจในการดูแลตนเองและการจัดการ เพื่อlihk’ความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ
- Band มีอินเทอร์เฟซการ query ที่ใช้งานง่ายสำหรับ dApps เพื่อรับข้อมูลในโลกแห่งความจริงพร้อมกันเป็นการเรียกฟังก์ชั่นอย่างง่ายๆไปยัง smart contracts
- ชุดข้อมูลภายใน Band นั้นแบ่งออกเป็นกลุ่มข้อมูลที่ประกอบไปด้วยโทเค็น ‘Dataset’ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
- โทเค็น Dataset นั้นๆจะได้รับการรักษาความปลอดภัยโดย Band Native Token ผ่านทางกลไก bonding curve
ข้อสรุป
เราเข้าใจว่าบางครั้งเอกสาร whitepapers อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คุณสนใจ โปรดติดต่อเราทาง Telegram @kevinjlu หากคุณมีคำถามหรือคำแนะนำสำหรับการปรับปรุงบทความหรือซีรีส์นี้ เราหวังว่าคุณจะเพลิดเพลินไปกับบทความและติดตามความคืบหน้าของหัวข้อถัดไปที่เราจะพูดถึง Band Protocol’s native token , protocol economics, dataset token, bonding curve concept และ governance parameters!
ที่มา : LINK